ครูและนักเรียนร่วมกันสรุประบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ เพื่อเปรียบเทียบกลไกการ
ต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะและแบบจำ�เพาะว่ามีหน้าที่ กระบวนการ ในการ
ต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร ดังตัวอย่าง
ตัวอย่าง
เปรียบเทียบกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะและ
แบบจำ�เพาะ
ประเด็น
กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย
สิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ
กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย
สิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ
1. เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่
เกี่ยวข้องในการทำ�งาน
- ฟาโกไซต์ เช่น แมโครฟาจ
นิวโทรฟิล โมโนไซต์
- เยื่อบุผิวหรือต่อมต่าง ๆ
หลั่งสารคัดหลั่ง
- ลิมโฟไซต์ ได้แก่ เซลล์บี
และเซลล์ที
- เซลล์นำ�เสนอแอนติเจน
เช่น แมโครฟาจ
2. กระบวนการต่อต้านหรือ
ทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม
- ฟาโกไซโทซิสโดยฟาโกไซต์
- ทำ�ลายโดยสารคัดหลั่งต่าง ๆ
- เซลล์บีพัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมา
สร้างแอนติบอดีเพื่อจับกับ
แอนติเจนให้รวมกันและถูกทำ�ลาย
ได้ง่าย
- เซลล์ทีชนิด CD4 กระตุ้น
การทำ�งานของเซลล์บีและเซลล์ที
ชนิด CD8 ทำ�ลายเซลล์แปลก
ปลอมหรือเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส
3. ความสามารถในการ
จดจำ�สิ่งแปลกปลอม
ไม่มีการจดจำ�
เพราะไม่มีเซลล์ความจำ�
มีการจดจำ�
เพราะมีเซลล์ความจำ�
4. ความจำ�เพาะต่อ
สิ่งแปลกปลอม
ไม่มี
มี
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและร่วมกันอธิบายเกี่ยวกับอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการ
สร้างหรือการตอบสนองของลิมโฟไซต์ในร่างกายมนุษย์ เช่น ไขกระดูก ที่เป็นได้ทั้งแหล่งสร้างและ
พัฒนาลิมโฟไซต์หรือม้ามที่เป็นแหล่งดักจับและทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม ครูอาจเชื่อมโยงถึงความสำ�คัญ
ของการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเสมอซึ่งจะ
ส่งผลถึงการทำ�งานของอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่สร้างลิมโฟไซต์ให้ทำ�หน้าที่ได้อย่างปกติ หรือครูอาจให้
นักเรียนทำ�กิจกรรมเสนอแนะ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีววิทยา เล่ม 4
159