Table of Contents Table of Contents
Previous Page  168 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 168 / 254 Next Page
Page Background

โดยทั่วไปแอนติบอดีไม่สามารถทำ�ลายแอนติเจนได้โดยตรงแต่การจับกันของแอนติบอดีกับ

แอนติเจนจะทำ�ให้เกิดกลไกการตอบสนองเพื่อทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมได้หลายแบบ เช่น

1. การเกิดปฏิกิริยาสะเทิน (neutralization) เป็นกลไกที่แอนติบอดีจับกับแอนติเจน แล้วไป

ขัดขวางแอนติเจนทำ�ให้แอนติเจนหมดประสิทธิภาพในการทำ�งาน เช่น การทำ�ให้พิษงู

หมดสภาพความเป็นพิษหรือการล้อมรอบไวรัสทำ�ให้ไม่สามารถติดเชื้อได้ต่อไป

2. การรวมเป็นกลุ่มก้อน (agglutination) เป็นกลไกที่แอนติบอดีจับกับแอนติเจน ทำ�ให้

แอนติเจนรวมอยู่เป็นกลุ่มก้อน ทำ�ให้ง่ายต่อการกำ�จัดโดยฟาโกไซต์

3. การตกตะกอน (precipitation) เป็นกลไกที่แอนติบอดีสามารถเชื่อมต่อกับแอนติเจนที่เป็น

สารละลาย ทำ�ให้มีขนาดใหญ่จนเกิดการตกตะกอน ทำ�ให้ง่ายต่อการกำ�จัดโดยฟาโกไซต์

4. การทำ�งานของคอมพลีเมนต์ (complement activation) เป็นกลไกที่เกิดขึ้นเมื่อแอนติบอดี

จับกับแอนติเจนแล้วไปกระตุ้นการทำ�งานของคอมพลีเมนต์ซึ่งเป็นกลุ่มของโปรตีนที่พบใน

เลือด โดยคอมพลีเมนต์ไปจับบนแอนติเจนหรือเจาะผิวเซลล์แปลกปลอมทำ�ให้เซลล์แตก

เป็นการทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบหนึ่ง

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

คางทูม อีสุกอีใส มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้ผ่านทางระบบหายใจ

จากการไอหรือจาม การหายใจรดกัน หรือการสัมผัสสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ เช่น

น้ำ�ลาย น้ำ�มูก แต่ผู้ที่เคยป่วยและรักษาจนหายดีแล้ว หากได้รับเชื้อไวรัสชนิดเดิมจะไม่เป็น

โรคหรือมีอาการไม่รุนแรง เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

เพราะในการติดเชื้อไวรัสครั้งแรกร่างกายมีการสร้างเซลล์ความจำ�จำ�นวนมากไว้ ซึ่งมีความ

จำ�เพาะต่อเชื้อไวรัส เมื่อได้รับเชื้อไวรัสชนิดเดิมอีกครั้งเซลล์ความจำ�เหล่านี้จะไปกระตุ้น

เซลล์บี เซลล์ทีชนิด CD4 และ CD8 เพื่อทำ�ลายเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทำ�ให้

ไม่เกิดโรคดังกล่าวอีก หรือถ้าเกิดโรคก็มีอาการไม่รุนแรง

ตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน

ชีววิทยา เล่ม 4

156