จากกิจกรรม 16.1 นักเรียนควรสรุปได้ว่าร่างกายมีกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม
แบบไม่จำ�เพาะที่ป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นเข้าสู่เนื้อเยื่อ โดยผิวหนังจะขับเหงื่อที่ต่อต้าน
หรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม หรือเยื่อบุบริเวณต่าง ๆ หลั่งเมือกคอยดักจับหรือมีการหลั่งของเหลว
ที่มีสารบางอย่างซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมบางชนิดได้ เช่น
เอนไซม์ไลโซไซม์ที่พบในน้ำ�ตา หรือน้ำ�ลาย
เสมหะ คือ สารคัดหลั่งที่สร้างจากเซลล์บริเวณทางเดินหายใจ โดยปกติร่างกายผลิตเสมหะเพื่อ
ป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อทางเดินหายใจแห้งเพราะเสมหะประกอบด้วยน้ำ�เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้
เสมหะยังช่วยจับสิ่งแปลกปลอมไว้ไม่ให้แพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อ ร่างกายกำ�จัดเสมหะโดยใช้
ซิเลียที่อยู่บริเวณท่อลมโบกพัดออกไปด้วยการไอหรือจาม
เสมหะอาจมีสีและความเหนียวเปลี่ยนไปเมื่อทางเดินหายใจได้รับการระคายเคืองจากสาเหตุ
ต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่ การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ การอักเสบ ทั้งนี้เสมหะอาจเกิดร่วมกับ
อาการอื่นๆ ได้อีก เช่น ไอ เจ็บคอ
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
ครูอาจใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนหรือคำ�ถามเพิ่มเติมทบทวนเกี่ยวกับระบบหมุนเวียนเลือด เพื่อ
เชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องการอักเสบ เช่น
หากเกิดบาดแผลที่ผิวหนัง และเยื่อบุต่าง ๆ หรือสารคัดหลั่งและเอนไซม์ต่าง ๆ ไม่มี
ประสิทธิภาพเพียงพอที่จะต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย
ได้ ร่างกายจะมีกลไกอื่น ๆ ในการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปสู่เนื้อเยื่อ
ต่าง ๆ อีกหรือไม่ อย่างไร
นักเรียนทุกคนต้องเคยเกิดบาดแผลขึ้นในร่างกาย และส่วนใหญ่จะเกิดการอักเสบบริเวณ
บาดแผล นักเรียนคิดว่าการอักเสบเกี่ยวข้องกับระบบหมุนเวียนเลือดหรือไม่
นักเรียนควรสรุปร่วมกันจากการตอบคำ�ถามได้ว่า ร่างกายยังมีกลไกอื่นๆ ที่ช่วยในการต่อต้าน
หรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เนื้อเยื่อ โดยมีเซลล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบหมุนเวียนเลือด ดังรูป 16.1
เช่น นิวโทรฟิล แมโครฟาจ โมโนไซต์ เป็นต้น ซึ่งจะเข้าดักจับและทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีววิทยา เล่ม 4
151