Table of Contents Table of Contents
Previous Page  164 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 164 / 254 Next Page
Page Background

กระแสเลือด ในขณะเดียวกันโมโนไซต์จะแทรกตัวไปตามเนื้อเยื่อบริเวณนั้น และเปลี่ยนแปลงไปเป็น

แมโครฟาจ ทำ�หน้าที่ดักจับและทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมซึ่งกลไกเหล่านี้น่าจะเกี่ยวข้องกับการอักเสบที่

เกิดขึ้นบริเวณบาดแผล

จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการอักเสบของร่างกายมนุษย์ โดยอาจใช้คำ�ถาม ดังนี้

การอักเสบมีความสำ�คัญกับร่างกายหรือไม่ อย่างไร

กลไกการอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร

จากการสืบค้นข้อมูลนักเรียนควรสรุปได้ว่า การอักเสบเป็นอีกกลไกหนึ่งของกลไกการต่อต้าน

หรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อบริเวณบาดแผลทำ�ให้เชื้อโรค

เข้าสู่เนื้อเยื่อ การอักเสบมีความสำ�คัญกับร่างกายโดยเป็นกลไกที่ช่วยทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมหรือทำ�ให้

สิ่งแปลกปลอมหมดความสามารถเข้าทำ�ลายเนื้อเยื่อ และยังซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เกิดความเสียหาย โดย

ขั้นตอนการอักเสบจะเกี่ยวข้องกับฟาโกไซต์ เช่น นิวโทรฟิล และโมโนโซต์ที่จะทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม

และเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายโดยฟาโกไซโทซิส ดังรูป 16.2 จนสุดท้ายสิ่งแปลกปลอมที่ถูกทำ�ลายจาก

การอักเสบและฟาโกไซต์ที่ตายแล้วจะรวมกันเป็นหนองและถูกกำ�จัดออกไป ซึ่งในระหว่างการอักเสบ

จะมีอาการ บวม แดง เจ็บ และอุณหภูมิบริเวณที่อักเสบสูงขึ้น หลังจากนั้นจะเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

บริเวณนั้นให้กลับคืนสู่สภาพเดิมและทำ�หน้าที่ได้ดังเดิม

อีโอซิโนฟิล (eosinophil) มีประมาณร้อยละ1-4ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

นิวเคลียสส่วนใหญ่มี 2 พู ประกอบด้วยแกรนูลพิเศษที่มีขนาดใหญ่

รูปรี หน้าที่หลักของอีโอซิโนฟิล คือ การต่อต้านและทำ�ลายปรสิต

ขนาดใหญ่

เบโซฟิล (basophil) มีจำ�นวนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

นิวเคลียสมี 2 พู แต่เห็นไม่ชัดเจน แกรนูลมีขนาดใหญ่กว่าที่พบใน

อีโอซิโนฟิลแต่มีจำ�นวนน้อยกว่า มีรูปร่างกลมหรือรี เบโซฟิลสามารถ

ตอบสนองต่อแอนติเจนโดยการสร้างและหลั่งฮิสทามีน ทำ�ให้เกิด

อาการแพ้ได้เช่นเดียวกับเซลล์แมสต์

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน

ชีววิทยา เล่ม 4

152