16.1.2 กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย
สิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ โดยอาจใช้คำ�ถามต่อไปนี้
ถ้าเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ นอกจากเกิดการอักเสบแล้วร่างกาย
ยังมีกลไกการตอบสนองอย่างไรได้อีก
จากการอภิปรายร่วมกัน นักเรียนอาจสรุปได้ว่า ร่างกายต้องมีกลไกอื่นๆ เช่น เมื่อได้รับเชื้อ
ไวรัสหรือแบคทีเรียจากการไอ จาม การขยี้ตา หรือจากการรับประทาน ร่างกายจะมีการกำ�จัดสิ่งแปลก
ปลอมเหล่านี้โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์อื่นๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน ครูควรให้ความรู้เพิ่มเติมว่า
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์นอกจากมีกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่
จำ�เพาะ (ฟาโกไซต์ การอักเสบ) แล้วยังมีกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะซึ่ง
เกี่ยวข้องกับการทำ�งานของเซลล์นำ�เสนอแอนติเจนและลิมโฟไซต์ จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล
เพิ่มเติมเกี่ยวกับคำ�ว่า แอนติเจน เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่หัวข้อ 16.1.2 โดยใช้คำ�ถามดังนี้
แอนติเจนกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะได้อย่างไร
ครูให้ความรู้กับนักเรียนว่าการทำ�งานของกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบ
จำ�เพาะไม่ได้เป็นอิสระจากการทำ�งานของกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ
เนื่องจากฟาโกไซต์ เช่น แมโครฟาจ ที่มีบทบาทสำ�คัญในกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม
แบบไม่จำ�เพาะมีส่วนสำ�คัญในการกระตุ้นกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ
โดยมีบทบาทในการเป็นเซลล์นำ�เสนอแอนติเจน ซึ่งเซลล์ชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้ลิมโฟไซต์ชนิดต่าง ๆ
เกิดการแบ่งเซลล์เปลี่ยนแปลงไปทำ�หน้าที่ต่าง ๆ ต่อไป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความหมายของคำ�ว่า แอนติเจน ว่าคือโมเลกุลของสาร
หรือสิ่งแปลกปลอม รวมทั้งชิ้นส่วนของเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม และสารพิษที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว
จะไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะขึ้น จากนั้นให้
ความรู้เกี่ยวกับเซลล์นำ�เสนอแอนติเจนว่าเป็นเซลล์ที่ทำ�หน้าที่ในการจับและย่อยแอนติเจนให้มีขนาด
เล็กลงแล้วนำ�เสนอชิ้นส่วนของแอนติเจนให้กับลิมโฟไซต์ ทำ�ให้เกิดการกำ�จัดสิ่งแปลกปลอมได้อย่าง
มีประสิทธิภาพโดยครูอาจใช้รูป 16.3 ประกอบ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีววิทยา เล่ม 4
153