ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะจาก
แหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เช่น เว็บไซต์ แพทย์ หรือบุคลากรทางด้านสาธารณสุขอื่นๆ โดยอาจกำ�หนด
หัวข้อให้สืบค้นดังนี้
1. กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมโดยเซลล์ที
2. กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมโดยเซลล์บี
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการสืบค้นเพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักการทำ�งานของเซลล์ที
และเซลล์บี โดยอธิบายถึงบริเวณตัวรับแอนติเจนบนผิวเซลล์ของเซลล์ที (TCR) และตัวรับแอนติเจน
บนผิวเซลล์ของเซลล์บี (BCR) ที่มีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ทำ�ให้มีบริเวณจับแอนติเจนแตกต่างกันไป
ด้วย โดย TCR มีบริเวณจับแอนติเจน 1 ตำ�แหน่งดังรูป 16.5 ขณะที่ BCR มีบริเวณจับแอนติเจน 2
ตำ�แหน่ง ดังรูป 16.7
นอกจากนี้ TCR ยังไม่สามารถจับกับแอนติเจนได้โดยตรง แต่จะจับกับชิ้นส่วนแอนติเจนที่ถูก
นำ�เสนอโดยเซลล์นำ�เสนอแอนติเจนเท่านั้น
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย
สิ่งแปลกแปลอมแบบจำ�เพาะโดยใช้รูป 16.9 ในหนังสือเรียน ซึ่งสรุปได้ดังนี้
เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ
คือ ลิมโฟไซต์ ซึ่งแบ่งได้เป็น เซลล์ทีและเซลล์บี
บริเวณผิวเซลล์ทีมีตัวรับแอนติเจน เรียกว่า TCR เพื่อจับกับชิ้นส่วนแอนติเจนที่ถูกนำ�เสนอ
โดยเซลล์นำ�เสนอแอนติเจน ส่วนเซลล์บีมีตัวรับแอนติเจน ที่เรียกว่า BCR ที่สามารถจับ
จำ�เพาะกับแอนติเจนได้อย่างจำ�เพาะเช่นเดียวกัน
เมื่อแอนติเจนถูกย่อยด้วยแมโครฟาจซึ่งทำ�หน้าที่เป็นเซลล์นำ�เสนอแอนติเจน เซลล์ที
ชนิด CD4 จะตอบสนองต่อชิ้นส่วนแอนติเจนบนผิวของแมโครฟาจและส่งสัญญาณไปยัง
เซลล์อื่นๆ ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยการหลั่งไซโทไคน์
ไซโทไคน์ที่ปล่อยจากเซลล์ทีชนิด CD4 จะกระตุ้นการทำ�งานของเซลล์อื่น ๆ ในระบบ
ภูมิคุ้มกัน ดังนี้
- กระตุ้นเซลล์ทีชนิด CD8 ให้แบ่งเซลล์แล้วไปทำ�ลายเซลล์แปลกปลอมหรือเซลล์ที่ติด
เชื้อไวรัส และบางส่วนเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ความจำ�
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีววิทยา เล่ม 4
154