Table of Contents Table of Contents
Previous Page  161 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 161 / 254 Next Page
Page Background

16.1.1 กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูอาจใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนและคำ�ถามเพิ่มเติมต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัย

เกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย เช่น

นอกจากจุลินทรีย์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางปากแล้ว นักเรียนคิดว่าจุลินทรีย์สามารถ

เข้าสู่ร่างกายทางใดได้อีกบ้าง

การสัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำ�มูก น้ำ�ลาย หรือการไอ การจาม การหายใจรดกันใน

สถานที่แออัด จะทำ�ให้จุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้หรือไม่ อย่างไร

นักเรียนคิดว่าร่างกายจะมีกลไกที่ทำ�ให้เกิดการตอบสนองโดยการต่อต้านหรือทำ�ลาย

สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้อย่างไร

คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีหลากหลาย นักเรียนควรสรุปได้ว่าจุลินทรีย์อาจเข้าทางช่องเปิด

อื่นนอกจากปาก เช่น หู ตา จมูก ช่องคลอด หรืออาจเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังเมื่อเกิดบาดแผล

การสัมผัสสารคัดหลั่งก็สามารถทำ�ให้จุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน แต่ร่างกายมีกลไกบางอย่างที่

ทำ�ให้จุลินทรีย์ที่อาจเป็นอันตรายเหล่านั้นไม่สามารถสร้างความเสียหายกับร่างกายได้ จากนั้นครูให้

นักเรียนทำ�กิจกรรม 16.1 เพื่อให้นักเรียน สืบค้นข้อมูล สรุป และนำ�เสนอเกี่ยวกับกลไกของร่างกายที่

ต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย ผ่านทางผิวหนัง หรือช่องเปิดต่าง ๆ

จุดประสงค์

สืบค้นข้อมูล อธิบายและนำ�เสนอกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่

เนื้อเยื่อของร่างกาย

เวลาที่ใช้

(โดยประมาณ)

30 นาที

แนวการจัดกิจกรรม

ครูอาจให้นักเรียนจับคู่หรือแบ่งกลุ่ม สืบค้นข้อมูล และสรุปกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย

สิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย แล้วให้นำ�เสนอผลงานการสืบค้นในรูปแบบของ

แผนภาพหรือ infographic

กิจกรรม 16.1 กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน

ชีววิทยา เล่ม 4

149