ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันรับมาและภูมิคุ้มกันก่อเอง จากแหล่ง
การเรียนรู้ต่าง ๆ หรืออาจพานักเรียนไปยังสถานที่แสดงการผลิตเซรุ่ม เช่น สถานเสาวภา
สภากาชาดไทย เพื่อให้นักเรียนศึกษาขั้นตอนการผลิตเซรุ่ม ความสำ�คัญของเซรุ่ม สาเหตุที่ต้องผลิต
เซรุ่ม หรือศึกษาวีดิทัศน์จาก QR code เรื่องการผลิตวัคซีนหรือเซรุ่มซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้ในหนังสือ
เรียน จากนั้นให้นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษา และเปรียบเทียบความเหมือนหรือความ
แตกต่างระหว่างภูมิคุ้มกันรับมาและภูมิคุ้มกันก่อเอง จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความ
เข้าใจ
ตัวอย่าง
ตารางแสดงการเปรียบเทียบระหว่างภูมิคุ้มกันรับมาและภูมิคุ้มกันก่อเอง
ประเด็น
ภูมิคุ้มกันรับมา
ภูมิคุ้มกันก่อเอง
1. กลไกการต่อต้านหรือ
ทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม
แบบจำ�เพาะ
แบบจำ�เพาะ
2. การเกิดภูมิคุ้มกัน
- ได้รับจากแม่ผ่านทางรกและ
น้ำ�นม
- การได้รับเซรุ่ม
- การได้รับเชื้อโรค
- การได้รับวัคซีน
3. ความเร็วในการต่อต้าน
หรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม
เข้าทำ�ลายเชื้อโรคได้ทันที
โดยไม่ต้องมีการกระตุ้นก่อน
ต้องมีช่วงเวลาในการกระตุ้นให้ร่างกาย
สร้างแอนติบอดีต่อโรคนั้นก่อนจึงจะมี
ภูมิคุ้มกัน
4. ระยะเวลาที่อยู่ในร่างกาย อยู่ได้ในระยะสั้น
อยู่ได้ค่อนข้างนาน บางชนิด 10 ปี
เช่น ภูมิคุ้มกันที่กระตุ้นผ่านการฉีด
วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
5. จุดประสงค์ในการใช้ ป้องกันและรักษาโรค
ป้องกันโรค
6. ตัวอย่าง
- น้ำ�นมแม่
- เซรุ่มแก้พิษงู
- เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นผ่านการฉีดวัคซีน เช่น
- วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก
- วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
- วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 16 | ระบบภูมิคุ้มกัน
ชีววิทยา เล่ม 4
163