Table of Contents Table of Contents
Previous Page  109 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 109 / 194 Next Page
Page Background

ระยะการเจริญ ตัวอย่างการใช้สารสังเคราะห์ที่เลียนแบบฮอร์โมนพืช

ระยะเมล็ด

- ใช้จิบเบอเรลลิน หรือใช้เอทิฟอนในปริมาณที่เหมาะสมแช่

เมล็ดเพื่อช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดให้เร็วขึ้น และมีสัดส่วน

ของเมล็ดที่งอกมากขึ้น

ระยะที่เจริญเป็นต้น - ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายออกซิน เช่น IBA NAA ช่วย

ในการเร่งการเกิดรากของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ�

- ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายไซโทไคนิน เช่น BA ในการเร่ง

การเจริญเติบโตของตาหลังจากการขยายพันธุ์กุหลาบด้วยการ

ติดตา ทำ�ให้ตาเจริญเป็นกิ่งได้เร็วขึ้น

- ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายจิบเบอเรลลิน ในการกระตุ้น

การเจริญเติบโตทางด้านความสูงของอ้อย

- หยอดถ่านแก๊สลงที่บริเวณยอดสับปะรดซึ่งมีน้ำ�ค้างในช่วง

เช้ามืด เพื่อกระตุ้นให้ออกดอกพร้อมกัน และเก็บเกี่ยวผลผลิต

ปริมาณมากได้พร้อมกัน

- ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายจิบเบอเรลลินฉีดพ่นบริเวณ

ยอดในระยะต้นกล้าจะชักนำ�การเกิดดอกเพศผู้ของต้นแตงกวา

- ใช้เอทิฟอนกับแตงกวาพันธ์ที่ให้ทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย

ในต้น จะช่วยกระตุ้นให้เกิดดอกเพศเมียเร็วขึ้น ทำ�ให้ติดผลได้

มากยิ่งขึ้น

4. การใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช มีผลดีและผลเสียอย่างไร

- ผลดี คือ สามารถนำ�ไปควบคุมการเจริญเติบโตของส่วนต่างๆ ของพืช เช่น เร่งราก

เร่งยอด เร่งการสุกของผลไม้ เป็นต้น และสามารถควบคุมผลผลิตได้ตามต้องการ

- ผลเสีย คือ สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืชเหล่านี้มีต้นทุนในการผลิต

หากนำ�มาใช้ในการเกษตรต้องมีการวางแผนและคำ�นวณความคุ้มค่าต่อการลงทุน

มิฉะนั้นอาจทำ�ให้ไม่คุ้มทุน

5. ยกตัวอย่างการใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืชแต่ละชนิดในแต่ละระยะ

การเจริญเติบโตของพืช (สามารถยกตัวอย่างการใช้กับพืชได้หลายชนิดในแต่ละระยะ

การเจริญเติบโตตั้งแต่เริ่มงอกจากเมล็ดจนกระทั่งให้ดอกและติดผล)

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | การดำ�รงชีวิตของพืช

95

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ