Table of Contents Table of Contents
Previous Page  119 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 119 / 194 Next Page
Page Background

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายหลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในกรณีของมัลติเพิลแอลลีล และยีนที่อยู่บน

โครโมโซมเพศ ซึ่งเป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

4.1 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน

ความเข้าใจที่ถูกต้อง

ถ้ามีบุตรคนแรกเป็นโรคทางพันธุกรรม โอกาสที่

ในอนาคตจะมีบุตรคนที่สองเป็นโรคดังกล่าวจะ

ลดลง

ถ้ามีบุตรคนแรกเป็นโรคทางพันธุกรรม โอกาสที่

ในอนาคตจะมีบุตรคนที่สองเป็นโรคดังกล่าวจะ

มีค่าเท่าเดิม

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูใช้กรณีศึกษาของคู่สามีภรรยาที่เป็นพาหะของโรคทาลัสซีเมียซึ่งมาปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโอกาส

ที่จะมีบุตรที่เป็นโรคทาลัสซีเมีย โดยกล่าวถึงความสำ�คัญของโรคทาลัสซีเมียในประเทศไทยและ

อาจใช้ข้อมูลสถิติของผู้เป็นพาหะประกอบ จากนั้นใช้กรณีโรคทาลัสซีเมียเป็นตัวอย่างในการทบทวน

เกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมว่าสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งได้โดยผ่านยีนที่ถ่ายทอด

ไปกับเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งลูกจะได้รับแอลลีลหรือรูปแบบของยีนจากทั้งพ่อและแม่ รวมทั้งทบทวนคำ�ศัพท์

ที่เกี่ยวข้อง เช่น ยีน แอลลีล จีโนไทป์ ฟีโนไทป์ ฮอมอไซกัส เฮเทอโรไซกัส (รูป 4.1 ในหนังสือเรียน)

จากนั้นครูทบทวนความรู้เรื่องรูปแบบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม โดยใช้กรณีศึกษาของ

เมนเดล เช่น สีของดอกถั่วลันเตา ประกอบการสอน โดยแสดงถึงลักษณะของลูกที่ได้และข้อสรุปของ

เมนเดล (รูป 4.2 ในหนังสือเรียน) อาจให้นักเรียนฝึกเขียนแผนภาพประกอบการพิจารณาโอกาสที่

ลูกจะมีลักษณะต่าง ๆ

ครูให้นักเรียนนำ�ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษาของโรคทาลัสซีเมียข้างต้น โดยร่วมกัน

อภิปรายถึงโอกาสของสามีภรรยาที่เป็นพาหะของโรคทาลัสซีเมียจะมีลูกที่เป็นโรคทาลัสซีเมีย (รูป 4.3

ในหนังสือเรียน) และอาจให้นักเรียนสรุปโดยแสดงบทบาทสมมติการปรึกษาแพทย์ของคู่สามีภรรยา

หรือเขียนสรุปคำ�อธิบายของแพทย์ต่อคู่สามีภรรยา

บทที่ 4 | พันธุกรรมและวิวัฒนาการ

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

105

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี