สาระสำ�คัญ
กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการขยายภาพทำ�ให้สามารถมองเห็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ
ได้ กล้องจุลทรรศน์มีทั้งแบบที่ใช้แสงและแบบอิเล็กตรอน การศึกษาเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
อิเล็กตรอนจะเห็นรายละเอียดของโครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษามากกว่ากล้องจุลทรรศน์ใช้แสง
เซลล์เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์ประกอบด้วยส่วนที่
ห่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึมและนิวเคลียส เซลล์ทั่วๆ ไปมีขนาดและรูปร่างต่างกัน ส่วนมากมีขนาดเล็ก
มากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ช่วยในการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของ
โครงสร้างของเซลล์ที่ทำ�หน้าที่แตกต่างกัน
เซลล์มีการลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ โดยมีการควบคุมทั้งชนิดและปริมาณสารที่ผ่าน
เข้าออก เยื่อหุ้มเซลล์ทำ�หน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่านในการลำ�เลียงสารดังกล่าว โดยสมบัติของสารและ
สมบัติของโครงสร้างต่าง ๆ ของเยื่อหุ้มเซลล์มีความสัมพันธ์กับวิธีการลำ�เลียงสาร เช่น การแพร่แบบ
ธรรมดา ออสโมซิส การแพร่แบบฟาซิลิเทต แอกทีฟทรานสปอร์ต เอกโซไซโทซิส เอนโดไซโทซิส
เซลล์ต้องการพลังงานเพื่อนำ�ไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งพลังงานที่เซลล์ต้องการนำ�ไปใช้นี้
อยู่ในรูปของสารพลังงานสูงที่ได้จากการสลายอาหารผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีการแบ่งนิวเคลียสเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะคือ การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส
ซึ่งเป็นวิธีการแบ่งที่ทำ�ให้จำ�นวนโครโมโซมภายในนิวเคลียสเท่าเดิมมักเป็นการแบ่งของเซลล์ร่างกาย
และการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิสซึ่งเป็นการแบ่งที่ลดจำ�นวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่งเพื่อสร้างเซลล์
สืบพันธุ์ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสก่อให้เกิดวัฏจักรเซลล์
เวลาที่ใช้
บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 30 ชั่วโมง
3.1 กล้องจุลทรรศน์
6.0 ชั่วโมง
3.2 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
4.0 ชั่วโมง
3.3 การลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
6.0 ชั่วโมง
3.4 การหายใจระดับเซลล์
6.0 ชั่วโมง
3.5 การแบ่งเซลล์
8.0 ชั่วโมง
รวม
30.0 ชั่วโมง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
156