Table of Contents Table of Contents
Previous Page  170 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 170 / 284 Next Page
Page Background

3.1 กล้องจุลทรรศน์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ระบุส่วนประกอบ และบอกหน้าที่ของส่วนประกอบกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

2. บอกวิธีการใช้ และการดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์ใช้แสงที่ถูกต้อง

3. บอกวิธีการ และเตรียมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเพื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

4. สังเกต วัดขนาดโดยประมาณและวาดภาพตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏภายใต้กล้องจุลทรรศน์

ใช้แสงเชิงประกอบ

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้สาหร่ายหางกระรอกหรือสไปโรไจราจากภาพนำ�บท โดยให้นักเรียน

สังเกตลักษณะภายนอกและร่วมกันอธิบายลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จากนั้นอาจใช้

คำ�ถามถามนักเรียนว่า

ถ้าต้องการเห็นนิวเคลียสหรือคลอโรพลาสต์ของเซลล์สาหร่ายหางกระรอกจะต้องใช้อุปกรณ์

ชนิดใด

กล้องจุลทรรศน์

ครูใช้คำ�ถามสำ�คัญในหนังสือเรียนเพื่อนำ�เข้าสู่เนื้อหาถามนักเรียนว่า

การใช้กล้องจุลทรรศน์ศึกษาสิ่งมีชีวิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรทำ�อย่างไร

คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลายซึ่งนักเรียนจะได้คำ�ตอบหลังจากเรียนเรื่อง กล้องจุลทรรศน์ และ

ผ่านการทำ�กิจกรรม 3.1

ครูอาจให้นักเรียนศึกษาประวัติเริ่มต้นการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์จากรูป 3.1 ในหนังสือเรียน

และอภิปรายร่วมกันถึงความแตกต่างของส่วนประกอบของกล้องแต่ละแบบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

158