จากนั้นให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 3.1 การศึกษาสิ่งมีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง เพื่อให้เข้าใจ
วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ศึกษาสิ่งมีชีวิตให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดมากขึ้น
จุดประสงค์
1. เปรียบเทียบภาพตัวอักษรภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบและแบบสเตอริโอ
2. เตรียมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเพื่อศึกษาโครงสร้างภายนอกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบ
สเตอริโอ
3. เตรียมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตเพื่อศึกษาโครงสร้างภายในโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
4. วาดภาพและบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกตและชี้ส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างเซลล์ที่สามารถ
มองเห็นได้
5. ศึกษาปรากฏการณ์การไหลเวียนของไซโทพลาซึมในใบสาหร่ายหางกระรอก
6. เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ ขนาดและโครงสร้างภายในของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
7. คำ�นวณกำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์และหาขนาดโดยประมาณของสิ่งมีชีวิตที่ศึกษา
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ)
240 นาที
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
2. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ
3. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
4. จานเพาะเชื้อ
5. เข็มเขี่ย
6. หลอดหยด
7. ใบมีดโกน
1 กล้อง
1 กล้อง
15 ชุด
3 จาน
3 อัน
4 อัน
3 ใบ
กิจกรรม 3.1 การศึกษาสิ่งมีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
161