Table of Contents Table of Contents
Previous Page  179 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 179 / 284 Next Page
Page Background

3. เซลล์เยื่อบุด้านในข้างแก้ม

จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรมตอนที่ 1 2 และ 3 ซึ่งมีแนว

คำ�ตอบดังนี้

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

ถ้าต้องการให้ภาพที่อยู่มุมบนด้านซ้ายของจอภาพมาอยู่ตรงกลางจอภาพ จะปรับเลื่อนส่วน

ใดของกล้อง และปรับเลื่อนอย่างไร

เลื่อนสไลด์ขึ้นข้างบนและเลื่อนไปทางซ้าย หรือเลื่อนสไลด์ไปทางซ้ายก่อนแล้วจึงเลื่อนขึ้น

ข้างบน

ไซโทพลาซึมของเซลล์เยื่อหอมหลังจากหยดสารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2%

เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ไซโทพลาซึมมีการหดตัวทำ�ให้เห็นเยื่อหุ้มเซลล์แยกห่างจากผนังเซลล์ เนื่องจากเซลล์

สูญเสียน้ำ�ออกสู่สารละลายโซเดียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2% ซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่า

สารละลายภายในเซลล์จึงทำ�ให้ไซโทพลาซึมหดตัวหรือเซลล์เหี่ยวในกรณีของเซลล์สัตว์

เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า พลาสโมไลซิส (plasmolysis)

ไม่หยดสารละลายไอโอดีน

เห็นขอบเขตของเซลล์และนิวเคลียสไม่ชัด หาก

ต้องการมองเห็นชัดขึ้น ทำ�ได้โดยปรับให้ช่องของ

ไดอะแฟรมแคบเพื่อให้แสงเข้าน้อยลง

เห็นขอบเขตของเซลล์และนิวเคลียสชัดกว่าไม่หยด

สารละลายไอโอดีน โดยไม่ต้องปรับช่องของไดอะแฟรม

หยดสารละลายไอโอดีน

กำ�ลังขยายของเลนส์ใกล้ตา

10×

กำ�ลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

40×

กำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ 400 เท่า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์

ชีววิทยา เล่ม 1

167