สรุปได้ดังตาราง
กำ�ลังขยาย
เส้นผ่าน
ศูนย์กลาง
ของจอภาพ
(มิลลิเมตร)
ขนาดโดยประมาณของเซลล์
สาหร่ายหางกระรอกที่เห็นภายใต้
กล้องจุลทรรศน์ (มิลลิเมตร)
เลนส์
ใกล้ตา
เลนส์
ใกล้วัตถุ
กล้อง
จุลทรรศน์
10×
4×
40 เท่า
5
0.075
10×
10× 100 เท่า
2
0.067
จะเห็นว่าเซลล์ของสาหร่ายหางกระรอกที่หาได้มีขนาดโดยประมาณ 0.067 – 0.075
มิลลิเมตร โดยที่กำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ 40 เท่าและ 100 เท่า มีค่าที่แตกต่างกัน
เนื่องจากในการหาขนาดของวัตถุโดยใช้ไม้บรรทัดเป็นเพียงการประมาณค่าอย่างคราว ๆ และ
ในความเป็นจริงแล้วเซลล์แต่ละเซลล์ของสาหร่ายหางกระรอกไม่ได้มีขนาดเท่ากันทั้งหมด ค่าที่
ได้จึงเป็นขนาดโดยประมาณที่เป็นเพียงค่าเฉลี่ย
ตัวอย่างที่ 2
การหาขนาดโดยประมาณของพารามีเซียมโดยเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลางของ
จอภาพ ในกรณีของพารามีเซียม ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อกระตุ้นความคิดของผู้เรียน ดังนี้
หากหาขนาดโดยประมาณของพารามีเซียมที่ทุกกำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์
จะได้ค่าเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด
การหาขนาดโดยประมาณของพารามีเซียมควรใช้กำ�ลังขยายกล้องจุลทรรศน์เท่าใด
จากการอภิปรายนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่าการหาขนาดของพารามีเซียมที่กำ�ลังขยาย
ต่าง ๆ อาจจะได้ค่าไม่เท่ากัน แต่มีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องมาจากพารามีเซียมซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์
เดียวที่มีขนาดเล็ก หากใช้กำ�ลังขยายต่ำ�จะทำ�ให้คาดคะเนขนาดโดยเทียบสัดส่วนกับเส้นผ่าน
ศูนย์กลางของจอภาพได้ยากกว่าที่กำ�ลังขยายสูง และทำ�ให้มีความคลาดเคลื่อนมากกว่า ดังนั้น
การหาขนาดของพารามีเซียมจึงควรใช้กำ�ลังขยายสูง เช่น ที่กำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์
400 เท่า ซึ่งสามารถคาดคะเนขนาดของพารามีเซียมโดยเทียบสัดส่วนกับเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของจอภาพได้ชัดเจนกว่า
ภาพพารามีเซียมที่กำ�ลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ 400 เท่า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | เซลล์และการทำ�งานของเซลล์
ชีววิทยา เล่ม 1
170