แสดงความคิดเห็นของตนเองได้อย่างมีคุณค่า การแสดงออกแบบนี้จะเป็นพื้นฐานให้
นักเรียนแต่ละคนได้ใช้ความคิดของตนเองและรวบรวมความคิดของคนอื่นในกลุ่ม แล้วนำ�
กลับมาคิดใหม่ เพื่อหาข้อสรุปที่เป็นใปในแนวทางเดียวกันหรือเห็นพ้องกัน วิธีการนี้จะ
เป็นการฝึกให้นักเรียน
รู้คิด
(metacognition) จาก
การคิดแล้วคิดอีก
(thinking about
thinking) นั่นเอง
5. ขั้นอภิปรายในชั้นเรียน
ขั้นนี้ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำ�เสนอข้อคิดเห็นของกลุ่มตนเอง และเปิดโอกาสให้มี
การอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ในขั้นตอนนี้จะช่วยให้นักเรียนที่ยังมีความ
คิดเห็นต่างกันได้มีการเติมเต็มข้อมูลที่เป็นความคิดเห็นจากกลุ่มอื่นๆ ซึ่งกันและกันเพื่อนำ�
มาทบทวนความคิดใหม่ สำ�หรับใช้ประกอบในการตัดสินใจได้อีก
6. ขั้นสรุป
ในขั้นนี้เป็นการหาข้อสรุป หรืออย่างน้อยทำ�ให้นักเรียนได้เรียนรู้ เข้าใจในสิ่งที่ควรต้องมี
การปรับปรุง มีแนวคิดที่ชัดเจนขึ้น และนักเรียนได้เรียนรู้ที่จะคิด และเกิดการรู้คิด ที่สำ�คัญ
คือ ครูจะต้องไม่ลืมว่า ไม่มีคำ�ตอบใดที่ถูกหรือผิด ใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการใช้เหตุ
และผลในการตัดสินใจ และแต่ละความคิดเห็นล้วนมีประโยชน์ซึ่งจะนำ�ไปสู่การสำ�รวจตรวจ
สอบเพิ่มเติมต่อไปได้อีก
7. ขั้นนำ�ไปใช้
ขั้นนี้เป็นทางเลือกให้แก่ครู ที่จะขยายผลหรือทำ�กิจกรรมสู่นักเรียนเป็นรายบุคคลที่สนใจ
ได้อีกเช่น ครูอาจให้นักเรียนเขียนบทความ จัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ หรือร่วมรณรงค์
ในเหตุการณ์ที่เป็นประเด็นทางสังคมที่ควรให้ชุมชนได้รับรู้และมีส่วนร่วม เป็นต้น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
37