Table of Contents Table of Contents
Previous Page  46 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 46 / 284 Next Page
Page Background

ชีววิทยา เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้คิดค้นสิ่งต่างๆ ขึ้นมาก็เพื่อสนองตอบต่อปัจจัยต่างๆ ในการดำ�รง

ชีวิตของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม

สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ฯลฯ เป็นต้น ความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เหล่านี้จะทำ�ให้เกิดเป็น

นวัตกรรมของโลกสมัยใหม่ที่ช่วยให้ประชากรโลกนับล้านล้านคนได้รับผลประโยชน์ ในขณะ

เดียวกันก็จะนำ�ความเสี่ยงที่อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ควบคู่มาด้วย จึงไม่แปลกเลยว่าเกือบ

จะทุกครั้งที่มีการเผยแพร่นวัตกรรมหรือความก้าวหน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้น ครูผู้สอนมักจะได้ยิน

คำ�ถามจากประเด็นต่าง ๆ นานา มาให้ฉุกคิดกันอยู่เสมอว่าจะเหมาะสมต่อการนำ�มาใช้หรือไม่

มีผลดีและผลเสียต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นการมีชีวจริยธรรมจะช่วยให้

คนในสังคมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีการวิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างรอบคอบในประเด็น

คำ�ถามต่างๆ ที่รัฐ องค์กร หรือชุมชนต้องเผชิญร่วมกัน ซึ่งประเด็นคำ�ถามทางชีวจริยธรรมเหล่า

นี้เองที่ครูผู้สอนสามารถนำ�มาใช้สอนในชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีทักษะของ

การคิดเชิง

วิเคราะห์

(analytical thinking)

การคิดวิพากษ์วิจารณ์

(critical thinking)

และการคิดแบบ

มีเหตุผล

(reasonable thinking) ซึ่งสามารถนำ�ไปใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้

ในการสอนชีวจริยธรรมในชั้นเรียนครูผู้สอนบางท่านอาจจะคิดว่ายาก หรือมองภาพไม่ออก

ว่าจะสอนสอดแทรกไปในเนื้อหาได้อย่างไร อันที่จริงแล้วสามารถสอนสอดแทรกไปได้ใน

ทุกเนื้อหา ทั้งในช่วงของการนำ�เข้าสู่บทเรียน ในระหว่างสอน หรือในขณะที่นักเรียนปฏิบัติการ

หรือการให้นักเรียนสรุปเนื้อหาบทเรียน เป็นต้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกประเด็นทางชีวจริยธรรม

ที่จะเข้าไปสอดแทรก หากเป็นประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันก็จะสามารถกระตุ้น

ความสนใจของนักเรียนได้ดี ทั้งนี้หัวข้อ

หรือเนื้อหาที่สามารถใช้ชีวจริยธรรมใน

การจัดการเรียนการสอนได้ เช่น

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ระบบนิเวศความหลากหลายทางชีวภาพ

พันธุศาสตร์ หน้าที่และการทำ�งานของ

ระบบต่าง ๆ ของมนุษย์และสัตว์ และ

การใช้สัตว์เพื่อการทดลอง ฯลฯ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

34