บุญแทน การอุ้มบุญแบบนี้หญิงผู้รับอุ้มบุญจะไม่มีสารพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
ทารกในครรภ์เลย เนื่องจากลักษณะทางพันธุกรรมของเด็กจะถูกกำ�หนดตั้งแต่ตอน
ที่มีการปฏิสนธิและเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนแล้ว การอุ้มบุญในกรณีนี้ทารกที่เกิดมา
จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนคู่สมรส ซึ่งไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง แต่กรณีที่คุณแม่
อุ้มบุญมีโรคติดต่อบางอย่างซึ่งเป็นโรคประจำ�ตัว เช่น โรคติดเชื้อไวรัส HIV ไวรัส
ตับอักเสบ เป็นต้น ทารกก็จะมีโอกาสติดเชื้อจากคุณแม่อุ้มบุญได้ กรณีนี้อาจผิด
หลักชีวจริยธรรมในแง่ที่ทำ�ให้ทารกที่เกิดมาต้องได้รับผลกระทบต่อสุขภาพของ
ร่างกายที่เกิดจากความประมาทของผู้ใหญ่ ดังนั้นก่อนอุ้มบุญจึงต้องมีการตรวจ
สุขภาพคุณแม่อุ้มบุญอย่างละเอียด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากคุณแม่อุ้มบุญสู่ทารก
ในครรภ์ได้
2. การอุ้มบุญที่ทารกในครรภ์เกิดจากการปฏิสนธิของอสุจิของสามีของผู้ว่าจ้าง กับไข่
ของหญิงที่รับอุ้มบุญ ในกรณีนี้หญิงที่รับอุ้มบุญเป็นเจ้าของไข่ที่ให้กำ�เนิดตัวอ่อน
จะมีส่วนเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับทารกในครรภ์ ทั้งนี้วิธีการอุ้มบุญแบบนี้ถือว่า
ผิดกฎหมายในประเทศไทย และอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ในภายหลังเช่น ความรู้สึก
ผูกพันระหว่างหญิงที่รับอุ้มบุญกับทารก ทำ�ให้ตัดสายสัมพันธ์กันไม่ขาดอาจเกิด
กรณีการไม่คืนลูกกับคู่สมรสที่เป็นผู้ว่าจ้าง หรือกรณีที่เด็กเติบโตขึ้นแล้วพบว่า
ลักษณะหน้าตาไม่เหมือนกับคนในครอบครัว เป็นต้น
3. กรณีที่ทารกในครรภ์พิการซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ คู่สมรสที่เป็นผู้ว่าจ้าง อาจไม่
ยอมรับเลี้ยงดูทารกรายนั้น อาจส่งผลให้เกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูทารก
ตามมาในภายหลัง
4. กรณีปัญหาการแยกทางของคู่สมรส หรือคู่สมรสเสียชีวิตก่อนที่ทารกจะเกิดมา หญิง
ที่รับอุ้มบุญอาจจะต้องรับภาระในการเลี้ยงดูทารกรายนั้น เป็นต้น
ทั้งนี้การอุ้มบุญจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและมีข้อตกลงที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์
อักษรระหว่างคู่สมรสที่เป็นผู้ว่าจ้าง และหญิงที่รับอุ้มบุญ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
31