การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง
การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำ�นั้น ต้องทราบปริมาตรน้ำ�ผิวดินและอัตราการไหลของน้ำ�ผิวดิน
ที่มากที่สุดที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำ�คัญคือต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้
พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ� ปัจจุบันมีแก้มลิงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่กระจาย
อยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร กว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำ�นวนมาก
และระบายน้ำ�ออกทางแม่น้ำ�เจ้าพระยา
ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ โครงการระบายน้ำ�ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ�
เจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำ�หน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ�
ตั้งแต่จังหวัด สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
ส่วนที่สอง คือคลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ�เจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย คลอง
สนามชัย และแม่น้ำ�ท่าจีน ทำ�หน้าที่เป็นคลองรับน้ำ�ในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำ�ท่าจีนตอนล่าง" เพื่อช่วยระบายน้ำ�ที่ท่วมให้เร็วขึ้น โดย
ใช้หลักการควบคุมน้ำ�ในแม่น้ำ�ท่าจีน คือ เปิดการระบายน้ำ�จำ�นวนมากลงสู่อ่าวไทย เมื่อระดับน้ำ�ทะเล
ต่ำ� ซึ่งโครงการนี้จะประกอบไปด้วย 3 โครงการในระบบคือ
1. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำ�ท่าจีนตอนล่าง
2. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
3. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน"
ด้วยพระปรีชาญาณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ "โครงการแก้มลิง" จึงเกิดขึ้น และช่วยบรรเทาวิกฤต และความ
เดือดร้อนจากน้ำ�ท่วมรอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลให้เบาบางลงไปได้ โดยอาศัยเพียงแค่วิธีการ
ทางธรรมชาติ(ที่มา: โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ)
2. โครงการแกล้งดิน
แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับ
การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว หรือดินเป็นกรด โดยมีการขังน้ำ�ไว้ในพื้นที่ จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาเคมีทำ�ให้
ดินเปรี้ยวจัดจนถึงที่สุด แล้วจึงระบายน้ำ�ออกและปรับสภาพฟื้นฟูดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งดินมี
สภาพดีพอที่จะใช้ในการเพาะปลูกได้
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี
พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำ�ออก เพื่อจะนำ�ที่ดินมาใช้ทำ�การเกษตรนั้น
แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำ�ให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำ�ริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณา
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
26