Table of Contents Table of Contents
Previous Page  42 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 42 / 284 Next Page
Page Background

การอุ้มบุญในกรณีของผู้ที่ต้องการมีบุตรแต่ไม่สามารถมีบุตรด้วยตนเองได้ ผิดหลัก

ชีวจริยธรรมหรือไม่ อย่างไร และวิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยให้เหตุผล

ประกอบ

แนวทางการอภิปรายในประเด็นนี้ อาจมีดังนี้

การอุ้มบุญในกรณีของผู้ที่ต้องการมีบุตรแต่ไม่สามารถมีบุตรด้วยตนเองได้ หากกระทำ�โดย

ถูกต้องตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการ

เจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ก็สามารถทำ�ได้ และกรณีในแง่ของหลักชีวจริธรรม

การพิจารณาว่าผิดหลักหรือไม่นั้น อาจพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้างนั้นว่าทำ�ไป

เพื่อวัตถุประสงค์ใด เช่น

1.

ต้องการมีบุตรเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่ภรรยาของคู่สมรสนั้นไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

ด้วยตนเองอันเนื่องมาจาก

1) ภรรยาไม่มีมดลูกแต่กำ�เนิด หรือได้รับการผ่าตัดมดลูกออกเนื่องจากเป็นโรค เช่น

เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก

2) คู่สมรสที่ภรรยามีโรคประจำ�ตัวหรือภาวะที่การตั้งครรภ์จะก่อให้เกิดอันตรายถึง

ชีวิตได้

3) ภรรยามีภาวะแท้งซ้ำ�ซาก และการตั้งครรภ์นั้นไม่เคยดำ�เนินจนสามารถคลอดบุตร

ที่มีชีวิตได้ เช่น มดลูกผิดรูปมาแต่กำ�เนิด

ในกรณีนี้ถือว่าการอุ้มบุญไม่ผิดหลักชีวจริยธรรม เพราะภรรยามีความผิดปกติของร่างกาย

ที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ การมีโรคประจำ�ตัว หรือสุขภาพที่ไม่แข็งแรงหากมีการตั้งครรภ์

อาจเกิดความเสี่ยง จึงไม่สามารถตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้และจำ�เป็นต้องให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทน

2.

ต้องการอุ้มบุญเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น การค้ามนุษย์ แรงงานทาส เป็นต้น

การอุ้มบุญในกรณีนี้ถือว่าผิดหลักชีวจริยธรรม เนื่องจากทารกที่คลอดออกมาอาจได้

รับการเลี้ยงดูที่ไม่ดี หรืออาจถูกทำ�ร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากคนเลี้ยงดู เมื่อพวกเขา

เติบโตเป็นผู้ใหญ่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมได้

ทั้งนี้หากพิจารณาตามลักษณะของการอุ้มบุญก็ควรมีข้อพิจารณาในเชิงชีวจริยธรรม

ดังนี้

1. การอุ้มบุญที่ทารกในครรภ์เกิดจากการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ของคู่สมรสที่ต้องการ

มีบุตร แต่ฝ่ายภรรยาของคู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ต้องจ้างหญิงอื่นมาอุ้ม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา

ชีววิทยา เล่ม 1

30