ครูจะเป็นผู้กำ�หนดหัวข้อ หรือเรื่องทางชีวจริยธรรมที่เป็นประเด็นปัญหา หรือเหตุการณ์ที่เกิด
ขึ้นในชีวิตประจำ�วัน มาให้นักเรียนศึกษา และใช้ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า
บันได 7 ขั้นดังนี้
1. ขั้นระบุและนำ�เสนอ
ครูมอบหมายให้นักเรียนอ่านและศึกษาเรื่องที่ครูกำ�หนดมาให้ จากนั้นก็ให้นักเรียนนำ�เสนอ
แนวคิดว่าเรื่องที่อ่านนั้นมีประเด็นทางชีวจริยธรรมใดบ้าง พร้อมทั้งให้นักเรียนระบุประเด็น
ต่าง ๆ เหล่านี้เช่น
1.1 ระบุบริบทว่า ปัญหาทางชีวจริยธรรมใดที่ควรนำ�มาใช้ในการตัดสินใจอะไรที่ต้องตัดสินใจ
ใครต้องเป็นผู้ตัดสินใจในสิ่งนั้น มีข้อมูลอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
มีสิ่งใดบ้างที่ต้องพิจารณาในการสร้างตัวเลือก การกระทำ�แบบใดที่เป็นไปได้ที่สามารถ
แก้สถานการณ์นั้นๆ
1.2 ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการตัดสินใจ เช่น ใครบ้างจะได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละคนจะได้รับผลกระทบจากทางเลือกนั้นอย่างไรบ้าง ซึ่งใน
ขั้นตอนนี้ครูควรจะต้องมอบหมายงานให้นักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มเป็น
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำ�การวิเคราะห์ผล
2. ขั้นหาภูมิหลังของข้อมูล
ขั้นนี้เป็นการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงของนักเรียนผู้ซึ่งจะกลายเป็นผู้ที่ทำ�หน้าที่ในการตัดสินใจ
นักเรียนต้องหาภูมิหลังของข้อมูล (background information) ที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง
กับประเด็นที่ศึกษาและสาระสำ�คัญของเนื้อหาที่จะนำ�มาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
ในทางชีวจริยธรรม
3. ขั้นหาคุณค่าในตัวบุคคล
ขั้นนี้ให้นักเรียนแต่ละคนหาคุณค่าในความเป็นตัวตนของตนเองออกมา ซึ่งแต่ละคนอาจมี
บุคลิกที่แตกต่างกัน เพื่อครูจะได้จัดวางตัวบุคคลที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์
นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม และจะช่วยในการสร้างความมั่นใจในการตัดสินใจทางชีวจริยธรรม
ได้ สิ่งที่สำ�คัญคือทำ�ให้นักเรียนยอมรับตนเองและผู้อื่น
4. ขั้นอภิปรายกลุ่มย่อย
ขั้นนี้ให้นักเรียนได้พูดคุยระหว่างนักเรียนด้วยกันในกลุ่มเล็กๆ ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง
การพูดคุยกันในกลุ่มย่อยจะทำ�ให้นักเรียนแต่ละคนได้ร่วมกิจกรรมกันอย่างทั่วถึง และ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
36