จุดประสงค์
1. สังเกตและบันทึกเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งมีชีวิต
2. ตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนสังเกต
3. เปรียบเทียบข้อมูลและคำ�ถามของนักเรียนกับเพื่อน
แนวการจัดกิจกรรม
1. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนแล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกสังเกตสิ่งมีชีวิตจากรูปที่กำ�หนด ก. ข.
และ ค. แล้วให้นักเรียนทำ�ตามขั้นตอนในกิจกรรมดังนี้
- สังเกตลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ศึกษาให้มากที่สุด แล้วบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ภายในเวลา
5 นาที (ครูอาจจับเวลาให้เริ่มสังเกตได้พร้อมๆ กันทุกกลุ่ม)
- เขียนคำ�ถามอย่างน้อย 2-3 ข้อ เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนสังเกตได้
2. ครูให้นักเรียนกลุ่มที่เลือกศึกษารูปที่เหมือนกันมารวมกลุ่มกัน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและ
เปรียบเทียบข้อมูลและคำ�ถามที่ได้จากการสังเกตของนักเรียนกับข้อมูลและคำ�ถามของ
เพื่อนนักเรียนคนอื่น แล้วตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
ข้อมูลที่นักเรียนบันทึกได้จากการสังเกต เมื่อนำ�มาเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ แล้วมีข้อมูล
ละเอียด ครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร
นักเรียนบางคนอาจบันทึกได้ละเอียดครบถ้วน บางคนอาจบันทึกไม่ครบถ้วน
คำ�ถามที่นักเรียนตั้งขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ แล้วเป็นอย่างไร
คำ�ถามบางคำ�ถามอาจนำ�ไปสู่การค้นหาคำ�ตอบที่น่าสนใจ บางคำ�ถามอาจไม่น่าสนใจ
กิจกรรม 1.4 การสังเกตและการตั้งคำ�ถาม
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล การค้นพบและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่เป็นผลมาจาก
การสังเกตและตั้งคำ�ถามมาอย่างน้อย 1 ผลงาน
ตัวอย่างการค้นพบและผลงานของนักวิทยาศาสตร์ไทย ที่เป็นผลมาจากการสังเกตและ
ตั้งคำ�ถาม เช่น
ลองทำ�ดู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
42