จงวิเคราะห์สมมติฐานของนักเรียนทั้ง 2 คนว่าถูกต้องหรือไม่ และมีข้อแตกต่างกันอย่างไร
ถูกต้อง เพราะสมมติฐานของนักเรียนทั้ง 2 คนในส่วนที่เป็น ดังนั้น จะแนะแนวทางในการ
ออกแบบการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้พืชเจริญเติบโตในที่แจ้ง อีกกลุ่มให้พืชเจริญ
เติบโตในที่ร่ม ส่วนที่แตกต่างกัน คือ นักเรียนคนแรกไม่ได้ระบุนิยามปฏิบัติการของการ
เจริญเติบโตของพืชว่าจะวัดจากความสูง หรือความอวบ หรือจำ�นวนใบ หรือน้ำ�หนักแห้ง ส่วน
สมมติฐานของนักเรียนคนที่ 2 ระบุนิยามปฏิบัติการของการเจริญเติบโตว่าจะวัดจากความสูง
ดังนั้น สมมติฐานของนักเรียนคนที่ 2 ชี้แนะวิธีวัดผลการทดลองด้วย
ครูควรเน้นให้นักเรียนทราบว่าการตั้งสมมติฐานที่ดีจะช่วยแนะแนวทางในการตรวจสอบ
สมมติฐานและวิธีวัดผลการทดลอง
ครูชี้แจงเพิ่มเติมว่านักเรียนสามารถตั้งสมมติฐานได้ดี โดยปฏิบัติกิจกรรม 1.6
จุดประสงค์
ตั้งสมมติฐานจากปัญหาที่กำ�หนดขึ้น
แนวการจัดกิจกรรม
ครูให้นักเรียนใช้ตัวอย่างปัญหาที่นักเรียนได้ตั้งขึ้นมาจากการทำ�กิจกรรม 1.5 ที่ผ่านมาเพื่อ
กำ�หนดเป็นสมมติฐาน ซึ่งตัวอย่างการตั้งสมมติฐานมีดังนี้
ตัวอย่าง
ปัญหาที่ 1
: ความเข้มข้นของน้ำ�ตาลในน้ำ�สับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำ�ตาลของยีสต์หรือไม่
สมมติฐาน
:
ถ้า
ความเข้มข้นของน้ำ�ตาลในน้ำ�สับปะรดมีผลต่อการสลายน้ำ�ตาลของยีสต์
ดังนั้น
ในน้ำ�สับปะรดที่มีความเข้มข้นของน้ำ�ตาลสูงจะเกิดแก๊ส CO
2
มากกว่าใน
น้ำ�สับปะรดที่มีความเข้มข้นของน้ำ�ตาลต่ำ�
กิจกรรม 1.6 การตั้งสมมติฐาน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
48