ผลได้โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ
3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา
ใช้การฉีดพ่นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช โดยคำ�นึงถึง
สภาพของต้นมะเขือเทศเชอรีว่ามีความแข็งแรงพร้อมที่จะติดผล ซึ่งสังเกตจาก
ก้านช่อดอกที่มีขนาดใหญ่ และมีปริมาณดอกค่อนข้างมาก ฉีดพ่นในช่วงที่อากาศ
ไม่ร้อน เช่น ตอนเช้าหรือตอนเย็น
4. วางแผนและดำ�เนินการแก้ปัญหาโดยดำ�เนินการดังนี้
4.1 ปลูกมะเขือเทศเชอรีในโรงเรือน
4.2 ฉีดพ่นสารเคมีสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช ให้มะเขือเทศเชอรี
ในช่วงที่เหมาะสม
4.3 สังเกตการติดผลของมะเขือเทศเชอรี
5. ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
5.1 เก็บรวบรวมข้อมูล เช่น ความเหมาะสมชนิดของสารเคมีสังเคราะห์ที่มีสมบัติ
เหมือนฮอร์โมนพืช และวิธีการฉีดพ่น ปริมาณและคุณภาพผลผลิตของมะเขือ
เทศเชอรี
5.2 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของการดำ�เนินการและปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำ�เนินการ
6. นำ�เสนอวิธีการแก้ปัญหาผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน
รายงานการดำ�เนินการแก้ปัญหาการที่มะเขือเทศเชอรีที่ปลูกในโรงเรือนไม่มีแมลง
มาช่วยผสมเกสร ทำ�ให้มะเขือเทศเชอรีไม่ติดผล ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีสังคราะห์
ที่มีสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช
คำ�ตอบดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างที่สามารถใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมใน
การแก้ปัญหาได้ นอกจากแนวทางการใช้สารเคมีสังคราะห์ที่มีสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืชแล้ว
นักเรียนอาจเสนอวิธีการเลี้ยงแมลงที่ช่วยในการผสมเกสรให้มะเขือเทศเชอรีอย่างครบวงจร
ตามวัฏจักรชีวิตของแมลง หรือควรใช้แรงงานมนุษย์ในการช่วยผสมเกสรแทนแมลง ทั้งนี้ต้อง
คำ�นึงถึงข้อดี ข้อด้อย และความคุ้มทุนในการเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 1 | การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เล่ม 1
80