Table of Contents Table of Contents
Previous Page  193 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 193 / 284 Next Page
Page Background

ครูตั้งคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันว่า

จากภาพข่าวหรือภาพยนตร์ที่ครูนำ�มาใช้ใน

ขั้นนำ�นักเรียนคิดว่าข้อกังวลดังกล่าวสามารถเป็นจริงได้หรือไม่ ข้อมูลที่สื่อเหล่านั้นนำ�เสนอ

น่าเชื่อถือเพียงใด และมีแนวทางในการป้องกันหรือแก้ไขข้อกังวลเหล่านั้นอย่างไร

ซึ่งคำ�ตอบอาจ

มีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความรู้ที่นักเรียนได้จากการสืบค้นข้อมูลในกิจกรรมเสนอแนะ รวมถึงมุมมอง

ของนักเรียน เช่น น่าเชื่อถือเนื่องจากน่าจะมีนักวิทยาศาสตร์ช่วยเป็นที่ปรึกษา หรือไม่น่าเชื่อถือ

เนื่องจากสื่อภาพยนตร์มักจะมีการเสริมสร้างสถานการณ์ให้เกินจริงเพื่อความสนุกของภาพยนตร์

ครูควรชี้แจงให้นักเรียนตระหนักถึงความสำ�คัญของการหาข้อมูลหรือหลักฐานทางวิชาการ

ในการใช้ประกอบข้อคิดเห็นต่าง ๆ โดยแสดงให้นักเรียนเห็นว่าข้อมูลที่นักเรียนได้จากการสืบค้นนั้น

อาจมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความจริง และข้อมูลที่เกินความจริง รวมทั้ง

ความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล โดยครูอาจยกตัวอย่างข้อมูลให้นักเรียนพิจารณาว่ามาจาก

แหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อเน้นย้ำ�ให้เห็นถึงความสำ�คัญในการหาและคัดกรองข้อมูลที่จะใช้

สนับสนุนหรือคัดค้านข้อคิดเห็นต่าง ๆ

จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอกับความปลอดภัย

ทางชีวภาพ และมุมมองทางสังคมและชีวจริยธรรม เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ว่า เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมี

การพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องตลอดเวลา สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ซึ่ง

ควรจะเป็นไปโดยระมัดระวัง คำ�นึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในด้านต่างๆ และชีวจริยธรรม เช่น ความ

ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การป้องกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ การ

ปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมีคุณธรรม โดยไม่ทำ�ร้ายหรือทำ�อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

ครูเน้นย้ำ�ให้นักเรียนตระหนักถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอซึ่งจะส่งผลต่อชีวิต

ของตัวนักเรียนเอง และความสำ�คัญในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารจากทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน

ซึ่งอาจมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริง ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความจริง และข้อมูลที่เกินความจริง นอกจากนี้

ยังมีทั้งข้อมูลที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ทุกคนควรรู้ถึงความก้าวหน้าของ

เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ และมีสิทธิ์ในการตัดสินใจที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน รวมถึงสิทธิ์ในการใช้หรือ

ไม่ใช้เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งควรสืบค้นข้อมูลให้รอบด้านและ

อาศัยข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการตัดสินใจสนับสนุนหรือคัดค้านไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม นอกจากนี้

ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตัดสินใจ จึงควรรับฟังและยอมรับในความเห็นของทุกฝ่าย แม้ว่าจะเป็นความคิดเห็น

ที่แตกต่างจากตนเองก็ตาม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

181