Table of Contents Table of Contents
Previous Page  191 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 191 / 284 Next Page
Page Background

- อาจทำ�ให้ผู้เป็นมารดาเกิดความวิตกกังวลจนส่งผลต่อสุขภาพในกรณีที่ตรวจพบว่าตัวอ่อน

ในครรภ์เป็นโรคทางพันธุกรรม นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อการตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ซึ่ง

อาจขัดต่อจริยธรรมและผิดกฎหมายในบางประเทศ

ตัวอย่างแนวทางในการป้องกันและแก้ไขข้อกังวล เช่น

- การจัดทำ�ระบบป้องกันอันตรายทางชีวภาพ ที่มีการระบุถึงข้อพึงปฏิบัติและเครื่องมือที่

เกี่ยวข้องในขณะที่ปฏิบัติงาน

- การจัดทำ�ระบบป้องกันสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมไม่ให้มีการรั่วไหลหรือปนเปื้อนสู่

ระบบนิเวศ ทั้งจากการนำ�มาใช้ในเชิงพาณิชย์ การเกษตร รวมถึงการนำ�มาใช้ในด้านอื่นๆ

- เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองหรือการใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมจะ

ต้องถูกทำ�ลายให้สูญเสียความสามารถในการดำ�รงชีวิตและสืบพันธุ์ด้วยวิธีที่เหมาะสม

- การจำ�หน่ายสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเป็นอาหารและการใช้ในกระบวนการผลิตต้อง

มีฉลากระบุข้อมูลชัดเจนและเพียงพอต่อผู้บริโภค

- จัดทำ�ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลทางพันธุกรรม การปกปิดข้อมูลทางพันธุกรรม

ซึ่งทำ�ให้ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูล รวมถึงการจำ�กัดสิทธิ์ในการเข้าถึง

ข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเข้าถึงหรือการใช้ประโยชน์ของข้อมูลจาก

ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูลหรือผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล

- จัดทำ�ระบบป้องกันการกระทำ�ที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมในการทำ�การทดลองกับ

สิ่งมีชีวิต รวมถึงขั้นตอนปฏิบัติในการทดลองกับสิ่งมีชีวิตหรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต

จากการสืบค้นและการอภิปราย ครูควรบันทึกสรุปผลการอภิปรายและแยกประเด็น เพื่อ

ให้นักเรียนเห็นความสำ�คัญและภาพรวมของหัวข้อนี้ ซึ่งการสรุปผลและการอภิปรายของ

นักเรียนอาจมีความคิดเห็นที่หลากหลาย ครูควรให้อิสระแก่นักเรียนในการแสดงความคิดเห็น

โดยเน้นย้ำ�ให้นักเรียนหาข้อมูลหรือหลักฐานทางวิชาการมาสนับสนุนข้อคิดเห็นของตนอย่างมี

เหตุผล และตอบคำ�ถามท้ายกิจกรรม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

179