สาระสำ�คัญ
สิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเป็นลูกหลานที่มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษในอดีต โดยผ่านการ
เปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมทีละเล็กทีละน้อย มีการสะสมลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใน
ขณะนั้นๆ เป็นเวลานานหลายชั่วรุ่น การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
หลักฐานที่บ่งบอกว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการศึกษาได้จาก ซากดึกดำ�บรรพ์ กายวิภาคเปรียบเทียบ
วิทยาเอ็มบริโอ ชีววิทยาโมเลกุล และการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่สำ�คัญ ได้แก่ แนวคิดของชอง ลามาร์ก และ
ชาลส์ ดาร์วิน โดยลามาร์กเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการโดยอาศัยกฎการใช้และไม่ใช้ และกฎการ
ถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นมาใหม่ ส่วนดาร์วินเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ประชากรในการอธิบายการเกิดวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิตและปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่แอลลีลในประชากร ได้แก่ เจเนติกดริฟท์
แบบสุ่ม การถ่ายเทยีน การผสมแบบไม่สุ่ม มิวเทชัน และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ โดยปัจจัยดังกล่าว
ทำ�ให้ยีนพูลในประชากรเปลี่ยนแปลงหรือเกิดวิวัฒนาการและทำ�ให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ขึ้น
สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันจะมีกลไกในการป้องกันการผสมพันธุ์ต่างสปีชีส์ สิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่เป็นผล
มาจากการแยกกันทางการสืบพันธุ์ ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ กำ�เนิดสปีชีส์แบบแอลโลพาทริก และกำ�เนิด
สปีชีส์แบบซิมพาทริก
เวลาที่ใช้
บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 14 ชั่วโมง
7.1 หลักฐานและข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 2.0 ชั่วโมง
7.2 แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
3.0 ชั่วโมง
7.3 พันธุศาสตร์ประชากร
4.0 ชั่วโมง
7.4 ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีล
2.0 ชั่วโมง
7.5 กำ�เนิดสปีชีส์่
3.0 ชั่วโมง
รวม
14.0 ชั่วโมง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
196