ครูอธิบายเพิ่มเติมจากภาพนำ�บทว่าทั้งนกและสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบันซึ่งเชื่อว่ามีวิวัฒนาการ
มาจากบรรพบุรุษร่วมกันนั้น ต่างก็มีวิวัฒนาการของตนเองจนมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยกว่านก
และสัตว์เลื้อยคลานจะมีลักษณะเหล่านี้ได้้จะต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมทีละเล็กทีละน้อย
เมื่อผ่านไปเป็นระยะเวลานาน ลักษณะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะค่อยๆ ถูกสะสมจนในที่สุดจึง
มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบรรพบุรุษ ซึ่งกระบวนการที่กล่าวมานี้ เรียกว่า วิวัฒนาการ
7.1 หลักฐานและข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
สืบค้นข้อมูล อภิปราย วิเคราะห์ และสรุปหลักฐานต่างๆ ที่สนับสนุน และข้อมูลที่ใช้อธิบายการ
เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูอาจนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยตั้งประเด็นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า
ทราบได้อย่างไรว่า
สิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการ
หรือครูใช้คำ�ถามนำ�ในหนังสือเรียนถามนักเรียนว่า
หลักฐานและข้อมูลใด
บ้างที่บ่งบอกถึงการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
ได้อย่างอิสระจากนั้นให้นักเรียนตรวจสอบความคิดของนักเรียนจากการศึกษาในหัวข้อต่อไป
7.1.1 ซากดึกดำ�บรรพ์
ครูนำ�ข้อมูลเกี่ยวกับซากดึกดำ�บรรพ์ให้นักเรียนศึกษา ซึ่งสามารถหาได้จากเว็บไซต์ของ
กรมทรัพยากรธรณีที่ได้มีการเผยแพร่เอกสารและรายงานด้านซากดึกดำ�บรรพ์ต่าง ๆ เช่น
- ซากดึกดำ�บรรพ์หมาหมี (
Maemohcyon potisati
)
- ซากดึกดำ�บรรพ์เอปโคราช (
Khoratpithecus piriyai
) ซึ่งเป็นสกุลและชนิดใหม่ของโลก
และอาจเป็นบรรพบุรุษของอุรังอุตัง
- ซากดึกดำ�บรรพ์ไม้กลายเป็นหินจังหวัดตาก
- ซากดึกดำ�บรรพ์หอยขมดึกดำ�บรรพ์อายุ 13 ล้านปี
- ซากดึกดำ�บรรพ์รอยตีนไดโนเสาร์ท่าอุเทน
หรือครูนำ�ข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์หรืออินเทอร์เน็ตให้นักเรียนศึกษา โดยตัวอย่างข่าว
อาจเป็นดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
199