Table of Contents Table of Contents
Previous Page  215 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 215 / 284 Next Page
Page Background

สิ่งมีชีวิตคงสภาพดึกดำ�บรรพ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ในปัจจุบันหรือไม่

สิ่งมีชีวิตคงสภาพดึกดำ�บรรพ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ในปัจจุบัน

สิ่งมีชีวิตคงสภาพดึกดำ�บรรพ์เป็นสปีชีส์เดียวกับซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกันหรือไม่

สิ่งมีชีวิตคงสภาพดึกดำ�บรรพ์เป็นสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กับซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน

จากนั้นให้นักเรียนศึกษาภาพซากดึกดำ�บรรพ์ในหินชั้นต่าง ๆ จากรูป 7.3 ในหนังสือเรียน โดย

ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียนว่า ซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีอายุมากกว่าจะอยู่ในหินชั้นล่างที่มีอายุ

มากกว่า และซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่าจะพบอยู่ในหินชั้นบนที่มีอายุน้อยกว่า นอกจากนี้

ซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่าจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนและมีลักษณะใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน

มากกว่าซากดึกดำ�บรรพ์ที่มีอายุมาก ดังนั้นซากดึกดำ�บรรพ์นอกจากจะเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็น

ลำ�ดับการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้วยังเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมี

ชีวิตจากอดีตจนถึงปัจจุบันอีกด้วย

จากนั้นให้นักเรียนศึกษารูป 7.4 ในหนังสือเรียน ซึ่งแสดงลำ�ดับวิวัฒนาการของม้าจากอดีตจนถึง

ปัจจุบัน โดยใช้หลักฐานจากซากดึกดำ�บรรพ์ของม้าที่พบในช่วงเวลาต่าง ๆ และตอบคำ�ถามซึ่งมีแนว

การตอบดังนี้

จากภาพแสดงวิวัฒนาการของม้าในสมัยไมโอซีนจนมาถึงสมัยพลิโอซีน มีลักษณะใดบ้างที่

เปลี่ยนแปลงไป และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใช้เวลานานเท่าใด

ม้าในสมัยไมโอซีนยังคงมีนิ้วเท้าหลายนิ้ว ส่วนม้าในสมัยพลิโอซีนมีนิ้วเท้าลดจำ�นวนลงเหลือ

เพียงนิ้วกลางที่มีขนาดโตขึ้น และปลายนิ้วพัฒนาเป็นกีบ มีขายาวขึ้น และสูงมากกว่าม้าในสมัย

ไมโอซีน นอกจากนี้ยังมีฟันกรามใหญ่และรอยหยักเพิ่มขึ้นด้วย โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

นี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 18 ล้านปี

ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า เมื่อพิจารณาจากหลักฐานพบว่าม้าในอดีตนั้นมีขนาดตัวเล็ก มีฟันที่

เหมาะสำ�หรับการกินใบไม้ตามพุ่มไม้ และมีลักษณะนิ้วเท้าที่มีหลายนิ้วซึ่งเหมาะสำ�หรับการเดินบน

พื้นดินที่อ่อนนุ่มในป่า ขณะที่ม้าในปัจจุบันมีขนาดตัวใหญ่ มีฟันที่เหมาะกับการกินหญ้าที่เหนียวกว่า

ใบไม้ และมีลักษณะนิ้วเท้าเพียงกีบเดียวซึ่งเหมาะแก่การวิ่งได้อย่างรวดเร็วในทุ่งหญ้า

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

203