Table of Contents Table of Contents
Previous Page  219 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 219 / 284 Next Page
Page Background

จากการอภิปราย นักเรียนควรสรุปได้ว่าเอ็มบริโอในระยะต้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

ในภาพมีลักษณะคล้ายกัน แต่ในระยะกลางและระยะปลายจะเริ่มมีความแตกต่างกันมากขึ้น นอกจาก

นี้เมื่อเปรียบเทียบรูปร่างของเอ็มบริโอในระยะปลาย จะเห็นว่ามนุษย์และวัวยังคงมีความคล้ายกัน

มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น จึงอาจสันนิษฐานได้ว่ามนุษย์และวัวน่าจะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันทาง

วิวัฒนาการมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น

7.1.4 ชีววิทยาโมเลกุล

ครูอาจทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนโดยใช้ตัวอย่างคำ�ถามดังนี้

สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตคือสารใด

DNA เป็นสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ ยกเว้นไวรัสบางชนิดมี RNA เป็น

สารพันธุกรรม

สิ่งมีชีวิตมีกลไกการสังเคราะห์ DNA RNA และโปรตีนเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีกลไกการสังเคราะห์ DNA RNA และโปรตีนแบบเดียวกัน โดยใช้

รหัสพันธุกรรม (codon) เหมือนกันในการสังเคราะห์โปรตีน

จากนั้นให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายหลักฐานทางชีววิทยาโมเลกุลที่ใช้ใน

การสนับสนุนความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการ โดยใช้ตัวอย่างการเปรียบเทียบร้อยละของ

ลำ�ดับกรดแอมิโนที่เหมือนกันในสายฮีโมโกลบินระหว่างมนุษย์ ลิงรีซัส หนู ไก่ กบ และปลาปากกลม

ในตาราง 7.1 ในหนังสือเรียน และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้ประเด็นคำ�ถามนำ�ในหนังสือเรียน

ดังนี้

จากตารางนักเรียนจะอธิบายความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กับมนุษย์ได้

อย่างไร

มนุษย์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการกับลิงรีซัสมากกว่าหนู ไก่ กบและปลาปาก

กลมเนื่องจากมีร้อยละของลำ�ดับกรดแอมิโนในฮีโมโกลบินที่เหมือนกันมากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

ครูสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบลำ�ดับของกรดแอมิโนของสิ่งมีชีวิตชนิด

ต่างๆ ซึ่งนำ�มาใช้อธิบายความใกล้ชิดทางวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิตได้จากความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู และ

อาจนำ�ไปเป็นตัวอย่างให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมและร่วมกันอภิปรายเพื่อทำ�ความเข้าใจเกี่ยวกับ

หลักฐานทางชีววิทยาโมเลกุลมากยิ่งขึ้น

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

207