แนวการจัดการเรียนรู้
ครูอาจนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยพูดคุยกับนักเรียนว่าประจักษ์พยานจากหลักฐานต่างๆ ดังที่ได้กล่าว
มาแล้ว ทำ�ให้ทราบว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดวิวัฒนาการ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้
ตั้งคำ�ถามที่นักเรียนอยากทราบเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ซึ่งคำ�ถามอาจเป็นดังนี้
สิ่งมีชีวิตในอดีตมีการเปลี่ยนแปลงมาจนเป็นสิ่งมีชีวิตปัจจุบันหรือเกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร
ครูชี้แจงเพิ่มเติมว่าคำ�ถามของนักเรียนได้มีนักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมานานแล้ว และมี
แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่น่าสนใจ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในหัวข้อต่อไป
7.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์ก
ครูอาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของลามาร์กจากหนังสือเรียน
เพื่อร่วมกันอภิปรายว่าแนวคิดของลามาร์กมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน เพราะเหตุใด โดยอาจ
ยกกรณีของยีราฟที่มีคอยาวโดยใช้คำ�ถามดังนี้
ลามาร์กเชื่อว่าอะไรเป็นแรงผลักดันที่ทำ�ให้สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อมเป็นแรงผลักดันทำ�ให้สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง
นักเรียนจะใช้แนวคิดของลามาร์กในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยีราฟที่มี
ลักษณะคอยาวขึ้นได้อย่างไร
ในอดีตยีราฟอาจมีลักษณะคอสั้น เมื่ออาหารบริเวณพื้นดินมีไม่เพียงพอเนื่องจากมีการ
แก่งแย่งแข่งขันกันสูง ทำ�ให้ยีราฟพยายามยืดคอเพื่อกินใบไม้บนต้นไม้สูงๆ อยู่เสมอ ทำ�ให้
มีคอยาวขึ้น ลักษณะดังกล่าวนี้มีการถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปทำ�ให้ยีราฟในปัจจุบันมีลักษณะ
คอยาว
นักเรียนคิดว่าถ้าโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการใช้งานมาก
หรือน้อย ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากการใช้งานมากหรือน้อย อาจไม่สามารถถ่ายทอด
ไปยังรุ่นลูกได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นกับเซลล์ร่างกาย และไม่ได้เป็น
การเปลี่ยนแปลงที่ระดับพันธุกรรม จากข้อเท็จจริงนี้ทำ�ให้กฎทั้งสองตามแนวคิดของ
ลามาร์กไม่เป็นที่ยอมรับ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
213