7.1.5 การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตทางภูมิศาสตร์
ครูใช้รูป 7.8 แสดงการแพร่กระจายของอูฐในแอฟริกาและเอเชีย และลามาในอเมริกาใต้ แล้ว
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม และอภิปรายร่วมกันว่า เพราะเหตุใดอูฐและลามาที่แพร่กระจายอยู่
ในบริเวณที่อยู่ห่างไกลกันในปัจจุบัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางสายวิวัฒนาการ
จากการอภิปรายในกรณีการแพร่กระจายของอูฐและลามานั้น นักเรียนควรสรุปได้ว่าลักษณะ
ของการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตทางภูมิศาสตร์ สามารถนำ�มาใช้เป็นข้อมูลในการตั้งข้อสันนิษฐาน
เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ โดยเมื่อประกอบกับหลักฐานซากดึกดำ�บรรพ์ และหลักฐานทาง
ธรณีวิทยาอื่นๆ เช่น การที่เคยมีบริเวณที่เชื่อมต่อกันในอดีต หรือการแยกจากกันของทวีป จะทำ�ให้
เข้าใจถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้นได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อเรียนจบหัวข้อนี้แล้วครูอาจให้นักเรียนสรุปประเด็นสำ�คัญที่ได้จากเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจ
เกี่ยวกับการใช้หลักฐานต่าง ๆ ในการศึกษาวิวัฒนาการ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
1. การศึกษาซากดึกดำ�บรรพ์จะช่วยให้ทราบถึงช่วงเวลาโดยประมาณที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ ปรากฏ
ขึ้นในโลก ได้เห็นรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ในอดีต และยังทำ�ให้ทราบได้ว่าสิ่งมีชีวิต
มีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรจนถึงปัจจุบัน แต่อาจมีข้อจำ�กัดในแง่ของความสมบูรณ์ของ
ซากดึกดำ�บรรพ์ที่ปรากฏ จึงต้องอาศัยหลักฐานทางด้านอื่นๆ ประกอบ
2. การเปรียบเทียบความคล้ายกันของโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ทำ�ให้เห็นความสัมพันธ์ทางสาย
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้
3. สัตว์ที่มีความใกล้ชิดกันทางสายวิวัฒนาการ จะมีพัฒนาการของเอ็มบริโอคล้ายกัน
4. การศึกษาชีววิทยาโมเลกุลเป็นหลักฐานสำ�คัญที่ใช้สนับสนุนหลักฐานทางด้านอื่น ๆ เพื่อ
บอกถึงความสัมพันธ์ของสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
5. สิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันทางสายวิวัฒนาการ อาจพบได้ในบริเวณที่อยู่ห่างไกลกัน มี
สภาพแวดล้อมต่างกัน จึงมีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่
สรุปได้ว่าหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ สนับสนุนว่าสิ่งมีชีวิตมีวิวัฒนาการ และใช้เป็นข้อมูลในการ
ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จากนั้นครูถามนำ�เข้าสู่หัวข้อต่อไปซึ่งอาจมีแนวคำ�ถามดังนี้
นักวิทยาศาสตร์ในอดีต และในปัจจุบันมีแนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการอย่างไร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
211