Table of Contents Table of Contents
Previous Page  229 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 229 / 284 Next Page
Page Background

โดยมนุษย์นั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และตอบคำ�ถามในหนังสือ

เรียนโดยมีแนวทางคำ�ตอบดังนี้

จากคำ�กล่าวที่ว่า “แมลงที่ได้รับสารฆ่าแมลงทำ�ให้เกิดความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมากยิ่งขึ้น”

นักเรียนเห็นด้วยกับคำ�กล่าวนี้หรือไม่ ให้เหตุผลประกอบ

ไม่เห็นด้วย เนื่องจากสารฆ่าแมลงไม่ได้ทำ�ให้แมลงมีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงเกิดขึ้น

แต่อาจมีแมลงบางตัวที่มียีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงจะถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติให้มีโอกาส

อยู่รอด และให้กำ�เนิดลูกหลานในรุ่นต่อ ๆ ไปทำ�ให้ยีนต้านทานต่อสารฆ่าแมลงในประชากร

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดเทียน พันธุ์สุโขทัย 1

ข้าวโพดเทียนเป็นข้าวโพดฝักสดที่ได้รับความนิยมในการบริโภคมากชนิดหนึ่ง พันธุ์ที่

เกษตรกรปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เอง และใช้ปลูกต่อเนื่องมาเป็นเวลา

นานทำ�ให้ลักษณะต่างๆ มีความแปรปรวนสูง ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ จึงได้มีการปรับปรุงพันธุ์

ข้าวโพดเทียนให้มีลักษณะทางการเกษตรดี ผลผลิตสูงและคุณภาพดี

ข้าวโพดเทียนพันธุ์สุโขทัย 1 ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเทียนพันธุ์ T-033 ซึ่ง

รวบรวมจากจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2526 เริ่มดำ�เนินการปรับปรุงพันธุ์ในฤดูฝน ปี 2531 ที่สถานี

ทดลองพืชไร่ ศรีสำ�โรง จังหวัดสุโขทัย โดยปลูกและคัดเลือกต้นที่มีลักษณะดี ทำ�การผสมตัวเอง

1 ครั้ง นำ�ฝักที่ได้มาปลูกผสมข้ามกันอย่างอิสระ และทำ�การคัดเลือกหมู่ประยุกต์ เพื่อเพิ่มความ

สม่ำ�เสมอของลักษณะต่างๆ เช่น ความสูงต้น ความสูงของตำ�แหน่งฝัก ขนาดฝักและฝักที่มีเมล็ด

สีขาว

ลักษณะเด่นของข้าวโพดเทียนพันธุ์สุโขทัย 1 คือให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง น้ำ�หนัก

ฝักทั้งเปลือกของฝักทั้งหมดสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง มีคุณภาพในการบริโภคดีกว่าพันธุ์พื้นเมือง คือ

มีรสชาติหวานเล็กน้อย ความนุ่มเหนียวดี ไม่ติดฟัน และมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน สามารถ

ปลูกได้ทุกภาคของประเทศ มีการปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆ และให้ผลผลิตสูง มีรสชาติ

ดีกว่าพันธุ์พื้นเมือง

ที่มา : เดลินิวส์ 5 มกราคม 2558

https://www.dailynews.co.th/agriculture/291586

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

217