แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับความหมายของประชากร จากนั้นให้นักเรียน
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาทางพันธุศาสตร์ประชากรและอภิปรายร่วมกัน ซึ่งควรสรุปได้ว่า
พันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลีลและการเปลี่ยนแปลง
ความถี่ของจีโนไทป์ของประชากร รวมทั้งปัจจัยที่ทำ�ให้ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์
เปลี่ยนแปลงทำ�ให้สิ่งมีชีวิตเกิดวิวัฒนาการ
ครูให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าวิวัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับประชากร ไม่ใช่
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสมาชิกแต่ละตัวในประชากรนั้น ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่ทำ�ให้ได้
ลักษณะใหม่เกิดขึ้นในประชากรจนทำ�ให้เกิดวิวัฒนาการได้นั้นต้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลง
ความถี่ของแอลลีลในประชากร
7.3.1 ความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์
ครูให้นักเรียนศึกษาการหาความถี่ของแอลลีลและความถี่ของจีโนไทป์ในประชากรจากหนังสือ
เรียน ครูอาจอธิบายเพิ่มโดยอาศัยตัวอย่างของประชากรไม้ดอกในหนังสือเรียน จากนั้นให้นักเรียน
สรุป ซึ่งอาจมีแนวทางในการสรุปได้ดังนี้
ความถี่ของแอลลีล คือ จำ�นวนของแอลลีลใดแอลลีลหนึ่งของยีนที่ต้องการศึกษาในยีนพูลต่อ
จำ�นวนแอลลีลทั้งหมดของยีนที่ต้องการศึกษาในยีนพูล เช่น ในการศึกษาลักษณะสีดอกของประชากร
ไม้ดอกที่ถูกควบคุมโดยยีน 2 แอลลีล คือ
R
ควบคุมลักษณะดอกสีแดง และ
r
ควบคุมลักษณะดอกสีขาว
ในประชากรไม้ดอก 1,000 ต้น มีจีโนไทป์ดังนี้
RR
= 640 ต้น
Rr
= 320 ต้น
rr
= 40 ต้น
สามารถคำ�นวณหาจำ�นวนแอลลีล
R
และ
r
ได้ดังนี้
จำ�นวนแอลลีลทั้งหมด = 1,000 × 2 = 2,000 แอลลีล
จีโนไทป์
RR
จำ�นวน 640 ต้น จะมีแอลลีล
R
= 640 + 640 = 1,280 แอลลีล
จีโนไทป์
Rr
จำ�นวน 320 ต้น จะมีแอลลีล
R
= 320 แอลลีล และแอลลีล
r
= 320 แอลลีล
จีโนไทป์
rr
จำ�นวน 40 ต้น จะมีแอลลีล
r
= 40 + 40 = 80 แอลลีล
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
220