จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษารูป 7.13 ในหนังสือเรียนที่แสดงลักษณะจะงอยปากของนกฟินช์ที่
พบในหมู่เกาะกาลาปากอสแล้วอภิปรายเกี่ยวกับความหลากหลายของนกฟินช์บนหมู่เกาะกาลาปากอส
โดยมีแนวคำ�ถามดังนี้
เพราะเหตุใดนกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอสจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับนกฟินช์ที่อาศัยบน
ทวีปอเมริกาใต้
อาจเป็นไปได้ว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์ในหมู่เกาะกาลาปากอสเป็นนกฟินช์ที่อพยพมาจาก
ทวีปอเมริกาใต้ และได้แพร่กระจายดำ�รงชีวิตอยู่บนเกาะต่างๆ จนกระทั่งมีวิวัฒนาการเป็น
นกฟินช์หลากหลายสปีชีส์ ดังเช่นที่พบในปัจจุบัน
นักเรียนจะอธิบายเกี่ยวกับการเกิดนกฟินช์หลายสปีชีส์บนหมู่เกาะกาลาปากอส โดยใช้
ทฤษฎีของดาร์วินได้อย่างไร
นกฟินช์ที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ไปอาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ซึ่งมีสภาพแวดล้อม
แตกต่างกันทั้งภายในเกาะเดียวกันและระหว่างเกาะ จึงมีการกินอาหารที่แตกต่างกันไปตาม
สภาพแวดล้อม ทำ�ให้นกฟินช์ที่มีจะงอยปากเหมาะสมกับอาหารในสภาพแวดล้อมนั้นมี
โอกาสอยู่รอดได้ดีกว่า และมีโอกาสถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวไปยังรุ่นต่อ ๆ ไป ทำ�ให้
นกฟินช์ในแต่ละเกาะมีลักษณะของจะงอยปากแตกต่างกันมากขึ้น และเมื่อลักษณะอื่นๆ
มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมด้วย ในที่สุดเกิดเป็นนกฟินช์หลาย ๆ สปีชีส์ใน
ปัจจุบัน
จากการศึกษาของดาร์วิน วิวัฒนาการเป็นการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่ง
เป็นการเปลี่ยนแปลงของลักษณะต่าง ๆ ตามสภาพแวดล้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา
นานหลายชั่วรุ่น โดยหนึ่งในหลักฐานที่ดาร์วินใช้อ้างอิงและสนับสนุนแนวความคิดเกี่ยวกับการคัดเลือก
โดยธรรมชาติ คือ การที่มนุษย์สามารถคัดเลือกสิ่งมีชีวิตเพื่อให้มีลักษณะตามความต้องการ ซึ่งครูอาจ
จะใช้กรณีการปรับปรุงพันธุ์ของกะหล่ำ�ป่า และการปรับปรุงสายพันธุ์สุนัขในความรู้เพิ่มเติมในหนังสือ
เรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากขึ้น โดยใช้คำ�ถามเพิ่มเติม ดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 7 | วิวัฒนาการ
ชีววิทยา เล่ม 2
215