Table of Contents Table of Contents
Previous Page  218 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 218 / 284 Next Page
Page Background

ซึ่งก็คือการเกิดวิวัฒนาการนั่นเอง แต่หลักฐานจากซากดึกดำ�บรรพ์เพียงอย่างเดียว อาจไม่

เพียงพอที่จะให้ข้อมูล เพราะซากดึกดำ�บรรพ์ที่ค้นพบมักไม่ครบสมบูรณ์ อาจเกิดจากการ

ถูกทำ�ลายจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือยังไม่ถูกค้นพบ และมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่

ไม่มีโอกาสเกิดซากดึกดำ�บรรพ์ได้

ครูอาจชี้แจงเพิ่มเติมว่า ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงต้องมีหลักฐานจากประจักษ์พยานอื่น ๆ อีกที่

สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

7.1.2 กายวิภาคเปรียบเทียบ

ครูอาจให้นักเรียนพิจารณาหลักฐานกายวิภาคเปรียบเทียบจากรูป 7.5 ในหนังสือเรียน โดย

แนะนำ�ให้นักเรียนเปรียบเทียบกระดูกรยางค์คู่หน้า แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำ�ถามดังนี้

โครงสร้างของรยางค์คู่หน้าของสัตว์เหล่านี้มีความคล้ายกันอย่างไร

ความคล้ายกันของกระดูกรยางค์จะบอกถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการหรือไม่ อย่างไร

จากการศึกษาและอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรจะสรุปได้ว่า โครงสร้างของรยางค์คู่หน้าของ

สัตว์ต่าง ๆ นี้มีองค์ประกอบของกระดูกแต่ละส่วนคล้ายกัน แต่อาจเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด และ

จำ�นวน เพื่อให้สัมพันธ์กับการทำ�หน้าที่และการดำ�รงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงเป็น

หลักฐานสนับสนุนว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเหล่านี้มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน จากนั้นครู

สรุปเกี่ยวกับโครงสร้างกำ�เนิดเดียวกันและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างกำ�เนิดต่างกัน โดย

สิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการจะมีโครงสร้างต่างๆที่เป็นโครงสร้างกำ�เนิดเดียวกัน

7.1.3 วิทยาเอ็มบริโอ

ครูอาจให้นักเรียนศึกษาภาพแสดงพัฒนาการของเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังบางชนิด

จากรูป 7.7 ในหนังสือเรียน โดยแนะนำ�ให้นักเรียนพิจารณาเปรียบเทียบถุงคอหอยและหางในระยะ

พัฒนาช่วงต่าง ๆ จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย โดยอาจใช้คำ�ถามดังนี้

พัฒนาการของเอ็มบริโอของสัตว์มีกระดูกสันหลังดังภาพ มีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่าง

กันอย่างไร

การเจริญเติบโตในระยะใดที่มีความคล้ายกัน

รูปร่างของเอ็มบริโอของมนุษย์ระยะปลายคล้ายกับสัตว์ชนิดใดมากที่สุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

206