Table of Contents Table of Contents
Previous Page  213 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 213 / 284 Next Page
Page Background

ในโลก หลังจาก 2 พ่อลูกนำ�ปลายักษ์ที่เหมือน

หินไปให้ เพื่อนบ้านดูและ เ ก็บไ ว้ที่บ้าน

ประมาณ 1 ชั่วโมง พวกเขาก็นำ�ปลาตัว

ดังกล่าวกลับไปไว้ที่บ่ออนุบาล แต่น่าเสียดาย

ที่ปลาลักษณะคล้ายซากดึกดำ�บรรพ์โบราณ

ตายลงในอีก 17 ชั่วโมงถัดมา โดยผู้เชี่ยวชาญ

ระบุว่าเป็นเพราะอยู่ในสภาพที่ยากแก่การ

ดำ�รงชีวิต "ที่จริงปลาตัวนี้น่าจะตายตั้งแต่

2 ชั่วโมงแรกที่ถูกจับขึ้นมาได้ เพราะปลา

สายพันธุ์นี้อาศัยอยู่แต่ในน้ำ�ลึก (ประมาณ

200 ฟุต) และสภาพอากาศหนาวเย็น"

ศ.เกรโว กีรัง (Grevo Gerung) คณะประมง

มหาวิทยาลัยแซมราตูลังกี (Sam Ratulangi

University) อินโดนีเซียเผย พร้อมทั้ง

ตั้งข้อสังเกตว่าเหตุใดปลาตัวนี้กลับอยู่ได้นาน

ถึง 17 ชั่วโมง ปลา โบราณที่พ่อลูกคู่นี้

จับได้คือ "ซีลาแคนธ์ " (coelacanth) ซึ่งมี

ซากดึกดำ�บรรพ์เก่าแก่อายุ 60 ล้านปีปรากฏ

อยู่ในพิพิธภัณฑ์ปลาออส เตร เ ลีย และ

นักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

ประมาณ 60 ล้านปีก่อนพร้อม ๆ กับ

ยุคไดโนเสาร์ เพราะไม่พบซากดึกดำ�บรรพ์

อายุน้อยกว่านั้น ทว่ากลับมีการค้นพบ

ซีลาแคนธ์ตัวเป็นๆ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2382

ในแถบชายฝั่งแอฟริกาสร้างความสนใจไป

ทั่วโลก จากนั้นก็มีรายงานการพบปลาดังกล่าว

เรื่อยๆ แม้กระทั่งในแถบสุลาเวสีเองก็เคยพบ

มาแล้วเมื่อ 7 ปีก่อน ที่น่าสนใจคือ ซีลาแคนธ์

มีรูปร่างของครีบละม้ายคล้ายคลึงกับกระดูก

แขนและขาของสัตว์บกมาก มีระบบการ

สืบพันธุ์ไม่เหมือนปลาชนิดอื่น คือเมื่อ

ซีลาแคนธ์ได้รับการผสมพันธุ์ก็จะฟักตัว

เป็นลูกปลาและยังอาศัยอยู่ในท้องของแม่

จนกระทั่งคลอดออกมา และไข่ปลาซีลาแคนธ์

เป็นไข่ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมี

เส้นผ่านศูนย์กลางถึง 9 เซนติเมตร ด้วย

ลักษณะดังกล่าวทำ�ให้นักชีววิทยาหลายคน

มีความคิดว่าซีลาแคนท์คือบรรพบุรุษของ

สัตว์โลกที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิด

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์ 22 พฤษภาคม 2550

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.

aspx?NewsID=9500000058495

จากนั้นให้นักเรียนอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ โดยอาจใช้ตัวอย่างคำ�ถามดังนี้

ซากดึกดำ�บรรพ์ที่ค้นพบบอกอะไรได้บ้าง

จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า ซากดึกดำ�บรรพ์ที่ค้นพบเป็นหลักฐานที่สนับสนุนว่าใน

อดีตเคยมีสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ แต่ในปัจจุบันอาจสูญพันธุ์ไปหรืออาจมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

201