Table of Contents Table of Contents
Previous Page  217 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 217 / 284 Next Page
Page Background

จุดประสงค์

1. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับซากดึกดำ�บรรพ์ที่ค้นพบทั้งในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ

2. อภิปราย และสรุปความสำ�คัญเกี่ยวกับซากดึกดำ�บรรพ์ที่นำ�มาเป็นหลักฐานสนับสนุน

การเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

3. นำ�เสนอข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ในชั้นเรียน

แนวการจัดกิจกรรม

1. ในการทำ�กิจกรรมเสนอแนะครูอาจให้นักเรียนทำ�งานเป็นกลุ่มในการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ

ซากดึกดำ�บรรพ์ที่ค้นพบทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ โดย

ซากดึกดำ�บรรพ์นั้นควรมีความหลากหลายและมาจากแหล่งค้นพบต่างๆ ตามความสนใจ

ของนักเรียนแต่ไม่ควรซ้ำ�กัน และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

ซากดึกดำ�บรรพ์ที่ศึกษามีลักษณะใกล้เคียงกับสิ่งมีชีวิตกลุ่มใด เพราะเหตุใดจึงจัดอยู่

ในกลุ่มของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว

ซากดึกดำ�บรรพ์นี้มีลักษณะแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตในกลุ่มที่กล่าวข้างต้นอย่างไร

ซากดึกดำ�บรรพ์นี้สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการได้อย่างไร

2. หลังจากการอภิปรายควรให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำ�ความรู้ที่ได้จากการทำ�กิจกรรมมา

นำ�เสนอในชั้นเรียนเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้กัน หรือจัดทำ�เป็นป้ายนิเทศ

หมายเหตุ

ครูอาจแนะนำ�แหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับซากดึกดำ�บรรพ์

โดยอาจค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พิพิธภัณฑ์

ไดโนเสาร์ภูเวียง อำ�เภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นพิพิธภัณฑ์สิรินธร (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว)

อำ�เภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรุงเทพมหานคร เป็นต้น

กิจกรรมเสนอแนะ ซากดึกดำ�บรรพ์ของสิ่งมีชีวิต

ครูอาจตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมให้นักเรียนอภิปรายเพื่อนำ�ไปสู่หัวข้อถัดไปดังนี้

การศึกษาซากดึกดำ�บรรพ์เพียงอย่างเดียว สามารถสนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการได้หรือไม่

เพราะเหตุใด

ได้ เนื่องจากซากดึกดำ�บรรพ์แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตในอดีตมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งมีชีวิต

ในปัจจุบัน น่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างต่างๆ โดยใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 7 | วิวัฒนาการ

ชีววิทยา เล่ม 2

205