การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. ในแต่ละท้องถิ่นมีพืชและสัตว์อาศัยอยู่ใน
บริเวณต่าง ๆ เช่น สนามหญ้า ใต้ต้นไม้
สวนหย่อม แหล่งน้ำ�
๒. ในบริเวณที่แตกต่างกันจะมีชนิดของพืชและ
สัตว์แตกต่างกัน เพราะสภาพแวดล้อมของ
แต่ละบริเวณจะเป็นที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย
และมีอาหารเหมาะสมต่อการดำ�รงชีวิตของ
พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ เช่น
สระน้ำ� เป็นที่อยู่อาศัยของหอย ปลา สาหร่าย
เป็นที่หลบภัยและมีอาหารของหอยและปลา
ต้นมะม่วงเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร
๑. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับบริเวณที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่ โดยอาจใช้
วิธีการซักถามหรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ หรือ วีดิทัศน์ และกระตุ้นให้
นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับบริเวณต่างๆ ในท้องถิ่นและ
ชนิดของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ
๒. ครูและนักเรียนร่วมกันวางแผนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของพืชและ
สัตว์และสภาพแวดล้อมในเรื่องที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย และแหล่งอาหาร
ที่เหมาะสมต่อการดำ�รงชีวิตของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ๆ
เพื่อตอบคำ�ถามที่ตั้งขึ้น
๓. นักเรียนร่วมกันรวบรวมข้อมูลตามแผนที่วางไว้ เช่น สังเกตชนิดของพืช
และสัตว์ และสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พืชและสัตว์อาศัยอยู่จากสถานที่
จริง วีดิทัศน์ สอบถามจากผู้ปกครอง ผู้รู้ หรือสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
บันทึกผลโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น วาดภาพ เขียนข้อความ หรือใช้ตาราง
ด้านความรู้
๑. ระบุชื่อของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ
ที่พบในท้องถิ่น
๒. บอกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำ�รงชีวิตของ
พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
73
วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
มาตรฐาน ว ๑.๑ เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
ต่างๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ในระบบนิเวศ ความหมายของประชากร ปัญหาและผลกระทบที่มีต่อ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ
ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำ�งานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ของพืชที่ทำ�งานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ�ความรู้
ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
๑. ระบุชื่อพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่บริเวณต่าง ๆ จากข้อมูลที่รวบรวมได้
๒. บอกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำ�รงชีวิตของพืชและสัตว์ในบริเวณที่อาศัยอยู่