การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ด้านความรู้
๑. ระบบหายใจประกอบด้วยจมูก ท่อลม หลอดลม
ปอด กะบังลม และกระดูกซี่โครง อวัยวะต่างๆ
เหล่านี้ ทำ�หน้าที่สัมพันธ์กันในการหายใจเข้า
และหายใจออก รวมทั้งการแลกเปลี่ยนแก๊ส
๒. การหายใจเข้าและหายใจออก เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดันอากาศ
ภายในช่องอก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำ�งานของ
กะบังลมและกระดูกซี่โครง
๓. การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย เกิดขึ้นบริเวณ
ถุงลมในปอดกับหลอดเลือดฝอยที่ถุงลม และ
ระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อต่างๆ ของ
ร่างกาย
๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับระบบหายใจ โดยอาจใช้
วิธีการซักถาม การสังเกตรูป แบบจำ�ลอง ๓ มิติ ภาพเคลื่อนไหว หรือ
วีดิทัศน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อนำ�ไปสู่การรวบรวมข้อมูลจาก
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น เอกสาร รูป ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย
๒. นักเรียนรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะในระบบ
หายใจ
๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า ระบบหายใจประกอบด้วย
อวัยวะต่างๆ ได้แก่ จมูก ท่อลม หลอดลม ปอด กะบังลม และกระดูกซี่โครง
ทำ�งานร่วมกันในการนำ�อากาศเข้าและออกจากปอด โดยกะบังลมซึ่ง
เป็นแผ่นกล้ามเนื้ออยู่ใต้ปอดจะทำ�งานร่วมกันกับกระดูกซี่โครง เพื่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดันภายในช่องอก อากาศจาก
ภายนอกเคลื่อนผ่านเข้าทางจมูก ท่อลม หลอดลม ไปยังปอดทั้งสองข้าง
และออกจากปอด ผ่านทางหลอดลม ท่อลม ออกทางจมูกสู่ภายนอก
ด้านความรู้
๑. ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง
ในระบบหายใจ
๒. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดยการทำ�งาน
ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
๓. เขียนแผนภาพแสดงกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส
ระหว่างถุงลมในปอดกับหลอดเลือดฝอย และ
ระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของ
ร่างกาย
๔. นำ�เสนอแนวทางในการดูแลรักษาระบบหายใจให้
ทำ�งานเป็นปกติ
157
สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำ�งานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ
ของพืชที่ทำ�งานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
๑. ระบุอวัยวะและบรรยายหน้าที่ของอวัยวะที่เกี่ยวข้องในระบบหายใจ
๒. อธิบายกลไกการหายใจเข้าและออก โดยใช้แบบจำ�ลอง รวมทั้งอธิบายกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส
๓. ตระหนักถึงความสำ�คัญของระบบหายใจ โดยการบอกแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจให้ทำ�งานเป็นปกติ