การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในการทำ�กิจกรรมเพื่อ
ศึกษากลไกการหายใจเข้าและออกโดยใช้
แบบจำ�ลองปอด การเขียนแผนภาพแสดง
กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส การสำ�รวจ
ความจุอากาศของปอด การออกแบบผลงาน
และการนำ�เสนอผลงานเกี่ยวกับโรคที่
เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และแนวทางการ
ดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจให้ทำ�งาน
เป็นปกติ
๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยการนำ�เสนอ
ผลการใช้แบบจำ�ลองปอด แผนภาพ
กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส ผลการสำ�รวจ
ความจุอากาศของปอด ผลงานเกี่ยวกับโรค
ที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และแนวทาง
ในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจให้
ทำ�งานเป็นปกติ
๓. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการ
วิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำ�กัด
ของการทำ�งานของแบบจำ�ลองปอดกับกลไก
การหายใจเข้าและหายใจออกของร่างกาย
๔. ทักษะด้านการสร้างสรรค์ โดยการออกแบบ
ผลงานเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบ
หายใจและแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะ
ในระบบหายใจ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน
เป็นทีม จากการใช้แบบจำ�ลอง การเขียนแผนภาพ
แสดงกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส การสำ�รวจ
ความจุอากาศของปอด การออกแบบผลงาน และ
การนำ�เสนอผลงาน โดยทำ�งานร่วมกับผู้อื่นตั้งแต่
เริ่มต้นจนสำ�เร็จลุล่วง
๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอ
ผลการใช้แบบจำ�ลองปอด แผนภาพกระบวนการ
แลกเปลี่ยนแก๊ส ผลการสำ�รวจความจุอากาศของ
ปอด ผลงานเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
และแนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจ
ให้ทำ�งานเป็นปกติ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
ชัดเจนและถูกต้อง
๓. ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จาก
การวิเคราะห์ และเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำ�กัดของ
การทำ�งานของแบบจำ�ลองปอดกับกลไกการหายใจ
เข้าและออกของร่างกาย ได้อย่างถูกต้อง สมเหตุ
สมผล
๔. ประเมินทักษะด้านการสร้างสรรค์ จากการออกแบบ
ผลงานเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจและ
แนวทางในการดูแลรักษาอวัยวะในระบบหายใจ
โดยผลงานจะสะท้อนให้เห็นจินตนาการ และ
แนวคิดใหม่
๑๓. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความจุอากาศของ
ปอดที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อนำ�ไปสู่การสำ�รวจความจุอากาศ
ของนักเรียนชายและหญิง และนักเรียนที่ออกกำ�ลังกายเป็นประจำ�กับ
นักเรียนที่ไม่ค่อยออกกำ�ลังกาย หรือนักเรียนที่เป็นกีฬากับนักเรียนที่ไม่
เป็นนักกีฬา
๑๔. นักเรียนสำ�รวจความจุอากาศของปอดระหว่างเพศหญิงและเพศชายคนที่
ออกกำ�ลังกายและคนที่ไม่ออกกำ�ลังกาย คนที่เป็นนักกีฬาและคนที่ไม่เป็น
นักกีฬา เพื่อเปรียบเทียบความจุอากาศของปอด โดยอาจใช้ชุดอุปกรณ์
เพื่อวัดความจุอากาศของปอด บันทึกและรวบรวมข้อมูล นำ�เสนอผลใน
รูปแบบต่าง ๆ เช่น กราฟ ตาราง
๑๕. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า ความจุอากาศของปอดมนุษย์
ในแต่ละเพศไม่เท่ากัน โดยทั่วไปเพศชายจะมีความจุอากาศของปอด
มากกว่าเพศหญิง คนที่ออกกำ�ลังกายและนักกีฬาจะมีความจุอากาศของ
ปอดมากกว่าคนที่ไม่ออกกำ�ลังกาย และคนที่ไม่เป็นนักกีฬา
๑๖. นักเรียนตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสิ่งที่ส่งผลต่อความจุอากาศของปอด เพื่อนำ�
ไปสู่การสืบค้นข้อมูล
๑๗. นักเรียนสืบค้นข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ส่งผลต่อความจุ
อากาศของปอด จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เช่น หนังสือ
อินเทอร์เน็ต
๑๘. นักเรียนร่วมกันอภิปราย วิเคราะห์ เพื่อลงข้อสรุปว่า การสูบบุหรี่
การสูดอากาศที่มีสารปนเปื้อน และการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ
บางโรค อาจทำ�ให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งมีผลให้ความจุอากาศของปอด
ลดลง เนื่องจากผนังหลอดลมบางส่วนถูกทำ�ลายหรือผนังของถุงลมขาด
ความยืดหยุ่นทำ�ให้พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊สลดลง การออกกำ�ลังกาย
เป็นประจำ�จะทำ�ให้ความจุอากาศของปอดเพิ่มขึ้น
159
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒