Table of Contents Table of Contents
Previous Page  168 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 168 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๔. ความจุอากาศของปอดมนุษย์ในแต่ละเพศ

และวัยไม่เท่ากัน การสูบบุหรี่ การสูดอากาศที่

มีสารปนเปื้อน หรือการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบ

หายใจบางโรค อาจทำ�ให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง

ซึ่งมีผลให้ความจุอากาศของปอดลดลง ดังนั้น

จึงควรดูแลรักษาปอดและอวัยวะอื่น ๆ ใน

ระบบหายใจ ให้ทำ�งานเป็นปกติ โดยการไม่

สูบบุหรี่ ไม่สูดอากาศที่มีสารปนเปื้อน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตการทำ�งาน

ของแบบจำ�ลองปอด

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการนำ�

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตแบบจำ�ลองปอด

มาอธิบายกลไกการเคลื่อนที่ของอากาศเข้า

และอากาศออกจากปอด และการนำ�ข้อมูล

ที่ได้จากการสำ�รวจมาอธิบายปัจจัยที่มีผลต่อ

ความจุอากาศของปอด

๓. ทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมาย

ข้อมูล โดยการนำ�ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม

มาเขียนแผนภาพแสดงกระบวนการแลก

เปลี่ยนแก๊สภายในถุงลม และการนำ�ข้อมูล

ที่ได้จากสำ�รวจความจุอากาศของปอดมา

ออกแบบและนำ�เสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

กราฟ ตาราง

๔. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสนใจเกี่ยวกับกลไกการหายใจเข้าและหายใจออก

เช่น สังเกตตนเองขณะหายใจเข้าและหายใจออก โดยสังเกตการเคลื่อนที่

ของกระดูกซี่โครง ผนังทรวงอก และช่องท้อง เพื่อนำ�ไปสู่การใช้แบบจำ�ลอง

ศึกษากลไกการหายใจเข้าและออก

๕. นักเรียนใช้แบบจำ�ลองปอด เพื่อสังเกตการทำ�งานของแบบจำ�ลอง

และเปรียบเทียบส่วนประกอบต่าง ๆ ของแบบจำ�ลองกับอวัยวะของ

ระบบหายใจ

๖. นักเรียนบันทึกข้อมูล และนำ�เสนอผลการใช้แบบจำ�ลอง ร่วมกันอภิปราย

เพื่อลงข้อสรุปว่า การเคลื่อนที่ขึ้นลงของแผ่นยาง ทำ�ให้ความดันอากาศ

ภายในกล่องพลาสติกเปลี่ยนแปลง มีผลให้ลูกโป่งพองหรือแฟบ ซึ่งเปรียบ

ได้กับการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ช่องอกของคน ที่เกิดจากการทำ�งานของ

กะบังลม ส่งผลให้อากาศเคลื่อนที่เข้าและออกจากปอด

๗. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการหายใจเข้าและออกของร่างกาย

มนุษย์ โดยใช้สื่อต่าง ๆ เช่น รูป คลิปวีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว

๘. นักเรียนร่วมกันเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำ�กัดของแบบจำ�ลองกับกลไก

การหายใจเข้าและออกของร่างกาย

๙. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยน

แก๊สและปริมาณของแก๊สต่าง ๆ ในลมหายใจเข้าและออก เพื่อนำ�ไปสู่

การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ

๑๐. นักเรียนรวบรวมข้อมูล บันทึกและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเขียนแผนภาพ

แสดงกระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊ส และนำ�เสนอ

๑๑. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า การแลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจน

และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย เกิดขึ้นที่บริเวณถุงลมในปอดกับ

หลอดเลือดฝอยที่ถุงลม และระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อ

๑๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความจุอากาศของปอด โดย

อาจใช้การสนทนาซักถาม เพื่อนำ�ไปสู่การวัดความจุอากาศของปอด

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกข้อมูล

เกี่ยวกับการทำ�งานของแบบจำ�ลองปอดได้ครบถ้วน

ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การนำ�ผลการสังเกตแบบจำ�ลอง มาอธิบายกลไกการ

เคลื่อนที่ของอากาศเข้าและอากาศออก และการ

อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อความจุอากาศของปอด

๓. ประเมินทักษะการจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล

จากการเขียนแผนภาพแสดงกระบวนการแลกเปลี่ยน

แก๊สภายในถุงลมปอดและในเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ

ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม และนำ�ข้อมูล

ความจุอากาศของปอดมาออกแบบและนำ�เสนอใน

รูปแบบต่าง ๆ ที่ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของ

ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และถูกต้อง

158