กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
47
ระดับที่ ๔ ระดับการวิเคราะห์ (Analyzation)
เป็นการเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณและลึกซึ้ง เนื่องจาก
ไม่สามารถหาข้อมูลที่มีอยู่ได้โดยตรง มี ๒ ลักษณะ คือ
๑. วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อให้ได้ข้อสรุปและหลักการที่สามารถนำ�ไปใช้
ในสถานการณ์อื่นๆ ได้
๒. วิเคราะห์ข้อสรุป ข้ออ้างอิง หรือหลักการต่าง ๆ เพื่อหาหลักฐานที่
สนับสนุนหรือปฏิเสธข้อความนั้น
การประเมินการเรียนรู้ระดับนี้ทำ�ได้โดยให้ผู้เรียนใช้ความสามารถในการ
แยกแยะเรื่องราวให้กระจายออกเป็นส่วนย่อย ๆ จนกระทั่งมองเห็นความสำ�คัญ
หาความสัมพันธ์และหลักการของเรื่องนั้นมาตอบคำ�ถาม
ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการวิเคราะห์ เช่น
- การทดลองนี้ นักเรียนต้องควบคุมอะไรให้คงที่บ้าง
- ดาวศุกร์และโลกมีอะไรเหมือนกันและแตกต่างกันบ้าง
- ถ้าน้ำ�มันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติหมดไปจากโลก จะส่งผลต่อ
มนุษย์อย่างไรบ้าง
ระดับที่ ๕ ระดับการสังเคราะห์ (Synthesis)
เป็นการเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนสามารถคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ ทำ�นาย
สถานการณ์ในอนาคต คิดวิธีแก้ไขปัญหา การประเมินการเรียนรู้ระดับนี้ทำ�ได้
โดยให้ผู้เรียนใช้ความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
หรือสร้างรูปแบบหรือแนวคิดใหม่ หรือการปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพ
สูงขึ้นมาตอบคำ�ถาม
ระดับที่ ๖ ระดับการประเมินผล (Evaluation)
เป็นการเรียนรู้ในระดับที่ผู้เรียนต้องใช้การตัดสินคุณค่า โดยต้องมีการ
ตั้งเกณฑ์ในการประเมินและแสดงความเห็นในเรื่องนั้นๆ ได้ การประเมินการเรียนรู้
ระดับนี้ทำ�ได้โดยให้ผู้เรียนใช้ความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินโดยใช้เหตุผล
มาตอบคำ�ถาม
ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการประเมินผล เช่น
- นักเรียนคิดว่าเหตุผลของนักดาราศาสตร์ในการตัดสินให้ดาวพลูโตเป็น
ดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะเพียงพอแล้วหรือไม่ เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดว่าการค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์มีประโยชน์
หรือไม่ เพราะเหตุใด
- หากประเทศไทยจะประกาศให้การโคลนเป็นเรื่องที่ทำ�ได้โดยถูก
กฎหมาย นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตัวอย่างคำ�ถามเพื่อประเมินการสังเคราะห์ เช่น
- เราจะวางแผนการบันทึกจำ�นวนแมลงที่บินเข้าและออกจากสวนได้
อย่างไร
- ถ้าต้องอธิบายเรื่องความหนาแน่นให้น้องชั้น ป.๔ เข้าใจ จะมีวิธีการ
อย่างไรบ้าง
- ถ้าต้องสร้างแบบจำ�ลองแสดงลักษณะของอะตอมอีกครั้งหนึ่ง จะทำ�ให้
เหมือนจริงมากกว่าแบบจำ�ลองที่ทำ�ไว้ก่อนหน้านี้ได้อย่างไรบ้าง