Table of Contents Table of Contents
Previous Page  61 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 61 / 367 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

51

๙. การวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบต่างๆ

วัฏจักรการเรียนรู้ของคาร์ปลัซ (Karplus Learning Cycle Model)

ในช่วงปีค.ศ. ๑๙๖๐ (พุทธศักราช ๒๕๑๐) Robert Karplus และ

คณะทำ�งานจาก Science Curriculum Improvement Study; SCIS ได้เสนอ

วัฏจักรการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย ๓ ขั้นตอน ดังแสดงในภาพที่ ๘

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติโดย

ปราศจากการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบ รอบคอบตามลำ�ดับขั้นตอน

ที่เหมาะสม ย่อมไม่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้สอน

จำ�เป็นต้องมีการวางแผนการสอนที่มากกว่าให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือเล่นสนุก

เท่านั้น แต่ต้องมีการผสมผสานขั้นตอนหรือกระบวนการอื่นๆ อย่างมีลำ�ดับ

ขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสม การผสมผสานขั้นตอนต่าง ๆ

เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

เรียกว่า วัฏจักรการเรียนรู้ เช่น วัฏจักรการเรียนรู้ของคาร์ปลัซ วัฏจักรการเรียนรู้

แบบ ๕ ขั้น วัฏจักรการเรียนรู้แบบ ๗ ขั้น

งานวิจัยมากมายได้ยืนยันว่า การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบ

มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรอบคอบ มีลำ�ดับขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียน

ได้ลงมือสืบเสาะและค้นหาสิ่งต่างๆ แล้วทำ�ความเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ที่ได้เรียนรู้อย่าง

ราบรื่น เหมาะสม จะทำ�ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมั่นคง นอกจากนี้การ

จัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ยังช่วยพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิทยาศาสตร์

และช่วยให้ผู้เรียนสนใจเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้นด้วย