plantae kingdom
Alternation Of Generation
คือ ช่วงชีวิตของพืช ที่มีการสลับระหว่างระยะ diploid ที่เรียกว่า sporophyte และ ระยะ haploid ที่เรียกว่า gametophyte โดยระยะ sporophyte เป็นช่วงชีวิตของพืชที่มีการสร้าง spore โดย meiosis ส่วน gametophyte เป็นช่วงชีวิตของพืชที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดย mitosis
สิ่งพื้นฐานที่ควรทราบเกี่ยวกับ วงชีพแบบสลับ
- sporangium คือ อับสร้างสปอร์ ในมอสเรียกว่า capsule
- sporophyll คือ ใบสร้างสปอร์ เพราะมี sporangium อยู่
- coneคือ sporophyll ที่อัดกันแน่น แข็งและมีขนาดใหญ่ พบใน gymnosperm
- strobilus คือ sporophyll ที่อัดแน่น พบใน lycophyte และหญ้าถอดปล้อง
- sorus คือ กลุ่ม sporangium ของเฟิน
- gametangium คือ อับสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในพืชชั้นต่ำ แบ่งเป็น archaegonium สร้าง female gamete และ antheridium สร้าง male gamete
พืชบางชนิดจะสร้างสปอร์เพียงอย่างเดียว homospore แต่พืชบางชนิดจะสร้างสปอร์ 2 ชนิดคือ heterospore คือ microspore และ megaspore ซึ่งจะเจริญเป็น male หรือ female gametophyte แยกกัน และสร้าง male หรือ female gamete มาปฏิสนธิกัน พืชที่สร้าง heterospore ได้แก่ selaginella กระเทียมน้ำ เฟินน้ำ
กลับไปที่เนื้อหา
pision Hepatophytaเรียกโดยทั่วไปว่า ลิเวอร์เวิร์ต (liverwort) มีอยู่ประมาณ 6,000 ชนิด แกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นแทลลัส (thalloid liverwort) และที่คล้ายคลึงกับลำต้นและใบ (leafy liverwort) สปอโรไฟต์มีส่วนประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ฟุต (foot) เป็นเนื้อเยื่อที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อเยื่อแกมีโทไฟต์เพื่อทำหน้าที่ดูดอาหารมาใช้ ก้านชูอับสปอร์ (stalk หรือ seta) และอับสปอร์ (sporangium หรือ capsule) ที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ ตัวอย่างของลิเวอร์เวิร์ตที่เป็นแทลลัส ได้แก่ Marchantia และที่มีลักษณะคล้ายลำต้นและใบ ได้แก่ Porella แกมีโทไฟต์ของ Marchantia มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นแผ่นแบนราบ ตนอหลายแตกแขนงเป็น 2 แฉก (dichotomous branching) ด้านล่างของเทลลัสมีไรซอยด์ ด้านบนมักพบโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายถ้วย เรียกว่า เจมมา คัป (gemma cup) ภายในเนื้อเยื่อเจมมา (gemma) อยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อแต่ละเจมมาหลุดออกจากเจมมาคัปแล้ว สามารถเจริญแกมีโทไฟต์ต้นใหม่ได้ นับเป็นการสืบพันธุ์แบบไม่ อาศัยเพสแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากการแยกออกเป็นส่วน ๆ (fragmentation) สเปิร์มและไข่ถูกสร้างขึ้นในอวัยวะที่มารวมกลุ่มเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นก้านชูที่เจริญอยู่บนแกมีโทไฟต์
กลับไปที่เนื้อหา
pision Anthocerophyta เรียกโดยทั่วไปว่า ฮอร์นเวิร์ต (hornwort) ไบรโอไฟต์ในดิวิชันนี้มีจำนวนไม่กี่ชนิด ตัวอย่างเช่น Anthoceros แกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแทลลัสขนาดเล็ก รูปร่างค่อนข้างกลมมน ที่ขอบมีรอยหยักเป็นลอน ด้านล่างมีไรซอยด์ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแยกออกเป็นส่วน ๆ เช่นเดียวกับพวกลิเวอร์เวิร์ต ต้นสปอไรไฟต์มีรูปร่างเรียวยาว ฝังตัวอยู่ด้านบนของแกมีโทไฟต์ ประกอบไปด้วยฟุต และอัปสปอร์ขนาดยาว ซึ่งเมื่อเจริญเต็มที่ ปลายของอับสปอร์จะค่อย ๆ แตกออกเป็น 2 แฉก ทำให้มองดูคล้ายเขาสัตว์ จึงเรียกว่าฮอร์นเวิร์ต
กลับไปที่เนื้อหา
เรียกโดยทั่วไปว่า มอส (moss) มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว
กลับไปที่เนื้อหา
พืชมีท่อลำเลียง (Vascular Plants)
พืชที่มีท่อลำเลียงเป็นพืชกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ ประมาณ 250,000 ชนิด พืชกลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มไบรโอไฟต์คือ มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนพื้นดินที่ไม่จำเป็นต้องชื้นแฉะมากเป็นส่วนใหญ่ มีการพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นใบที่ทำหน้าที่รับพลังงานแสง มีรากที่ช่วยในการยึดเกาะและดูดน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบท่อลำเลียง (Vascular system) และเพื่อเป็นการช่วยค้ำจุนท่อลำเลียงของพืชจึงต้องมีเนื้อเยื่อที่เสริมให้ความแข็งแรงคือ Ligninified tissue ซึ่งพบในผนังเซลล์ชั้นที่สอง (Secondary wall) เนื้อเยื่อลำเลียงสามารถลำเลียงน้ำและสารอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชได้ตลอดทุกส่วนของพืช นอกจากนั้นเนื้อเยื่อผิวยังทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สและป้องการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งเป็น
1. พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ด (Seedless vascular plant)
พืชที่มีท่อลำเลียงที่มีเมล็ด
พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีเมล็ดพวกแรกเกิดเมื่อประมาณ360ล้านปีในช่วงปลายของยุคดีโวเนียนและพบแพร่กระจายมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัสมีโครงสร้างสืบพันธุ์ที่แตกต่างจากพืชกลุ่มที่กล่าวมาแล้วโดยเซลล์ไข่เจริญอยู่ในออวุลเชื่อกันว่าน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากอับสปอร์ที่มีเนื้อเยื่อพิเศษมาหุ้มซึ่งอาจมี 1 หรือ 2 ชั้นนอกจากนี้พืชมีเมล็ดยังมีการปรับตัวในการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยน้ำโดยการสร้างละอองเรณูที่มีสเปิร์มอยู่ภายในเมื่ออับสปอร์แตกออกละอองเรณูจะกระจายไปตกที่ออวุลโดยอาศัยลมหรือสัตว์เป็นพาหะเมื่อเกิด
การปฏิสนธิแล้วออวุลจะเจริญไปเป็นเมล็ด
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
พืชเมล็ดเปลือย
พืชดอก
กลับไปที่เนื้อหา
Homospore หมายถึง การสร้างสปอร์ชนิดเดียว เมื่อสปอร์งอกจะเจริญเป็นแกมีโทไฟต์ที่มีทั้งอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (Antheridium) และอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (Archegonium) จึงเรียกว่า Bisexual gametophyte เช่น หวายทะนอย ไลโคโพเดียม หญ้าถอดปล้อง และเฟิร์น
Heterospore หมายถึง การสร้างสปอร์ 2 ชนิด สปอร์ที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์ (Megaspore) ซึ่งเจริญเป็นแกมีโทไฟต์เพศเมีย และสปอร์ขนาดเล็ก เรียกว่า ไมโครสปอร์ (Microspore) เจริญเป็นแกมีโทไฟต์เพศผู้ เช่น ซีแลกจิเนลลา กระเทียมนา
กลับไปที่เนื้อหา
-
6979 plantae kingdom /lesson-biology/item/6979-plantae-kingdomเพิ่มในรายการโปรด