ฮอร์โมนพืช (phytohormone)
ประวัติการศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมน
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
1. ในปี พ.ศ. 2423 ( ค.ศ. 1880 ) ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin )ผู้ค้นพบทฤษฏีวิวัฒนาการ และ ฟรานซิส ดาร์วิน ( Francis Darwin ) ผู้เป็นบุตรชาย ได้ทำการทดลองกับต้นกล้าของหญ้า ( Grass seedling ) ชนิดคานารี (Phalaris canariensis) ซึ่งเขาสังเกตว่าปลายยอดแรกเกิดมักโค้งงอเข้าหาแสงเสมอ เขาได้ทำการทดลองดังนี้
สรุป “ ส่วนปลายของยอด (Coleoptile) มีสิ่งเร้าบางอย่างเคลื่อนย้ายหรือลำเลียงไปยังส่วนที่ต่ำกว่าทำให้ส่วนที่อยู่ต่ำกว่าโค้งเข้าหาแสง”
2. การทดลองของปีเตอร์ บอยเซน- เจนเซน( Peter Boysen Jensen)
สรุป “ สิ่งเร้าที่อิทธิพลต่อการโค้งของปลายยอด เป็นสารเคมีที่สร้างจากปลายยอด สามารถผ่าน Gelatin ลงมาได้ซึ่งมีอิทธิพล ทำให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง ซึ่งสารนี้ไม่สามารถผ่านแผ่นไมก้าได้”
3. การทดลองของอาร์แพด ปาลในปี พ.ศ. 2462 ( ค.ศ. 1919 ) นักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการี ชื่อ อาร์แพด ปาล ( Arpad Paal ) ทำการทดลองกับปลายยอดอ่อนของต้นกล้าของข้าวโอ๊ต ( Avena sativa ) โดยทำการทดลองในที่มืด
สรุป “ สารเคมีที่มีผลทำให้ปลายยอดโค้งเข้าหาแสงสามารถเคลื่อนย้ายลงไปในทุกๆด้านของปลายยอด”
4. การทดลองของ ฟริตส์ เวนต์ในปี พ.ศ. 2469 ( ค.ศ. 1928 ) นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ ฟริตส์ เวนต์ ( Frits Went )
สรุป “ มีสารบางอย่างแพร่ออกมาจากปลายยอด ซึ่งมีผลทำให้ปลายยอดโค้งเข้าหาแสงได้”
กลับไปที่เนื้อหา
ฮอร์โมนพืช (Phytohormone) คือ สารเคมีที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อย และ มีผลต่อขบวนการ หรือ ควบคุมการเจริญในพืช (Plant Development)
ฮอร์โมนพืช แบ่งเป็นกี่ชนิด หรือ กี่กลุ่ม?
ปัจจุบัน จะแบ่งฮอร์โมนพืชออกเป็น 5-6 กลุ่ม ด้วยกัน คือ
1. ออกซิน (auxin) มาจากภาษากรีก แปลว่า ทำให้เพิ่ม (to increase)
2. ไซโทไคนิน (cytokinin) มาจาก เพิ่มการแบ่งเซลล์ cytokinesis
3. จิบเบอเรลลิน (gibberellin) มาจากชื่อราGibberella fujikuroi
4. กรดแอบไซซิค (abscisic acid) มาจาก การร่วงของใบ abscission
5. เอทิลีน (ethylene) เป็นชนิดเดียวที่เป็น ก๊าซ ช่วยเร่งการสุกผลไม้
+ นอกจากนี้ยังมีพวก Oligosaccharins, Brassinosteroids, Florigen, Vernalin เป็นต้น
กลับไปที่เนื้อหา
1.ออกซิน (Auxin)ออกซินเป็นฮอร์โมนพืชที่สร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อน แล้วแพร่จากยอดอ่อนไปยังเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ด้านล่าง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
(กรุณาจำชื่อชื่อย่อของออกซินไว้ด้วย ออกสอบเอนนะ)
เเบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Natural and Synthetic Auxin
1.ออกซิน ธรรมชาติ (Natural Auxin)
Indole-3-Acetic Acid (IAA)
Indole-3-Butyric Acid (IBA)
2. ออกซิน สังเคราะห์ (Synthetic Auxin)
Naphthalene Acetic Acid (NAA)
2,4-Dicholophenoxy acetic acid (2,4-D)
2,4,5-Trichlorophenoxy acetic acid (2,4,5-T)
หน้าที่คือ
1. กระตุ้นเซลล์ของเนื้อเยื่อที่มีการยืดตัวให้ขยายขนาดทำให้เจริญเติบโตสูงขึ้น
2. ออกซินมีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง
การศึกษาเกี่ยวกับออกซิน (มีถามในเอนเยอะอยู่นะครับ)
1) การศึกษาการตัดตาออ่นของพืช
ก. ข. ค.
รูปแสดงการทดลองตัดยอดพืช
ก. ต้นที่เจริญตามปกติ
ข. ต้นที่ตัดยอดออก
ค. ต้นที่ตัดยอดออกแล้วนำชิ้นวุ้นที่มีออกซินมาวางไว้
2) การศึกษาความเข้มข้นของออกซิน
รูปการตอบสนองของราก ตา และลำต้น ต่อความเข้มข้นของออกซินระดับต่าง ๆ
สรุปว่า ถ้าออกซินเข้มข้นมาก จะยับยั้งการเจริญของตาแต่เมื่อตัดยอดออกไป จึงขาดแหล่งสร้างออกซินที่จะยับยั้งการเจริญของตาข้าง ทำให้ตาข้างเจริญได้ดี
รูปภาพแสดงการเร่งรากของกิ่งเมื่อใช้ออกซิน
สรุปผลการทดลองได้ว่า ก้านใบพืชที่จุ่มในออกซินมีการแตกรากหรือการงอกรากมากมายกว่าก้านใบพืชที่จุ่มในน้ำ โดยไม่มีออกซิน แทบไม่มีการงอกออกมาเลย
Parthenocarpic fruit
ก. ข.ค.
ก. ผลกลุ่มสตรอเบอรี่ที่เจริญตามปกติ
ข. ผลกลุ่มสตรอเบอรี่หลังแกะเมล็ดของผลย่อย ๆ ออกหมด
ค. ผลกลุ่มสตรอเบอรี่ที่แกะเมล็ดของผลย่อยออกหมดแล้วเคลือบด้วยแผ่นวุ้นที่มีออกซินอยู่
กลับไปที่เนื้อหา
ฮอร์โมนในกลุ่มจิบเบอเรลลิน (Gibberellin)
กระตุ้นการเจริญขยายตัวของเซลล์ตรงช่วงระหว่างข้อทำให้ลำต้นยืดยาว
เช่น มะเขือเทศ ยาสูบ ฟักทอง แตง ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ข้าว อ้อย คะน้า ถั่ว
รูปอิทธิพลของจิบเบอเรลลินที่มีผลต่อความสูงของลำต้นและความยาวของช่อดอก
ผลองุ่นกับ GA
ไซโทไคนิน
- กระตุ้นการแบ่งเซลล์ และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เช่นในลำต้นและราก จากการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีไซโทไคนิน พบว่าเนื้อเยื่อจะถูกชักนำให้เกิดการแบ่งเซลล์และสร้างแคลลัสขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ในรากพืชต้องการออกซินร่วมกับไซโทไคนิน จึงจะกระตุ้นให้รากแบ่งเซลล์
- ส่งเสริมการสร้างและการเจริญของตา ทำให้ตาข้างเจริญออกมาเป็นกิ่ง ( แต่ออกซินยับยั้งการเจริญของตาข้าง )
- ช่วยในการงอกของเมล็ด กระตุ้นเมล็ดและตาข้างที่พักตัวให้เกิดการงอก
- กระตุ้นให้เกิดหน่อใหม่ และตาใหม่ จึงใช้มากในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (**ent)
- กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง ชะลอการแก่ของผลไม้
- ช่วยให้พืชผักรักษาความสดได้นาน อาจเนื่องจากสารนี้ไปลดอัตราการหายใจของพืช
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากส่วนอื่น ๆ ของพืช
- ป้องกันไม่ให้คลอโรฟิลล์ถูกทำลายได้ง่าย ใบจึงมีอายุยาวขึ้น
- ยืดอายุไม้ตัดดอกบางชนิด
- พบในน้ำมะพร้าว หรือสารสกัดจากยีสต์
กลับไปที่เนื้อหา
เอทิลีน
- เป็นแก๊สที่เกิดในกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช
- เร่งการสุกของผลไม้ เช่น มะม่วง กล้วย ละมุด เร่งการแก่ของผลไม้บนต้น
- กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับปะรด
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบไม้ และการผลัดใบตามฤดูกาล
- ทำลายการพักตัวของเมล็ด
- กระตุ้นการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด
- กระตุ้นน้ำยางพาราให้ไหล เพิ่มน้ำยางมะละกอ เพื่อใช้ผลิตเอนไซม์พาเพน
- กระตุ้นการเกิดรากฝอยและรากแขนง
กรดแอบไซซิก
- สังเคราะห์ในพืชทุกชนิด
- พบในใบแก่จัด , ผล และรากบริเวณหมวกราก
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลแก่จัด
- ยับยั้งการเจริญและการยืดตัวของเซลล์บริเวณตา
- กระตุ้นการพักตัวของพืช
- กระตุ้นปากใบปิด
- ทำให้พืชปล้องสั้น ใบมีขนาดเล็ก เซลล์ในเยื่อเจริญหยุดแบ่งตัว
- ยับยั้งการแตกใบอ่อน
- ยับยั้งการงอกของเมล็ด
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนไหวของพืช
1.เนื่องจากการเจริญเติบโต
ก. เกิดจากสิ่งเร้าภายใน
- นิวเตชัน (nutation) ปลายยอดแกว่งไปมา
- ลำต้นบิดเป็นเกลียว หรือพันอ้อมหลัก ( Spiral movement )
ข.เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก
- ทรอปิซึม = เคลื่อนไหวแบบมีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ได้แก่
Gravitropism – แรงโน้มถ่วงเป็นสิ่งเร้า
Phototropism – แสงเป็นสิ่งเร้า
Chemotropism - สารเคมีเป็นสิ่งเร้า
Thermotropism – อุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า
Thigmotropism – การสัมผัสเป็นสิ่งเร้า
นาสตี้ = เคลื่อนไหวแบบมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ได้แก่
Photonasty เช่น การบานของดอกไม้
Thermonasty เช่น การบานของดอกบัวสวรรค์ ทิวลิป
Thigmonasty เช่น แมลงสัมผัสขนที่ใบของหยาดน้ำค้าง
2. เนื่องจากแรงดันเต่ง
ก.เกิดจากการสัมผัสเช่น การหุบกางใบไมยราบ ใบกาบหอยแครง ใบสาหร่ายข้าวเหนียว
ข. การนอนหลับเนื่องจากความเข้มแสงมากระตุ้น เช่น การหุบกางใบไมยราบ และพืชตระกูลถั่ว
ค. การปิดเปิดปากใบ
ทั้งการหุบกางใบที่เกิดจากการสัมผัสและการนอนหลับ จัดเป็นนาสตี้ด้วย แต่น้อยกว่าเกิดจากแรงดันเต่ง
กลับไปที่เนื้อหา
-
7014 ฮอร์โมนพืช (phytohormone) /lesson-biology/item/7014-phytohormoneเพิ่มในรายการโปรด