Universe
- 1. การแนะนำ
- 2. เพราะเหตุใดท้องฟ้าในเวลากลางคืนจึงมืด? ความขัดแย้งของโอลบอร์
- 3. กฏของฮับเบิ้ล (The Hubble Law)
- 4. ระบบพิกัดบนทรงกลมท้องฟ้าแบบ Horizontal System
- 5. ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้าแบบ Equatorial System
- 6. ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้าแบบ Ecliptic System
- 7. ระบบทรงกลมท้องฟ้าแบบ Galactic System
- - ทุกหน้า -
เอกภพวิทยาคืออะไร
เอกภพโดยทั่วไปแล้วมีนิยามว่า คือ โครงสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่จะสามารถส่งผลกระทบถึงมนุษย์ได้ และเอกภพวิทยาก็คือวิชาที่ศึกษาถึงโครงสร้างและการวิวัฒนาการของโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดทั้งหมดนั้นโดยภาพรวม นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องของเอกภพนี้จะถูกเรียกว่า “นักเอกภพวิทยา” ในปัจจุบันนักเอกภพวิทยากำลังสนใจศึกษาว่าเอกภพนั้นถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร อนุภาคมูลฐานชนิดต่างๆและโครงสร้างอื่นๆที่ประกอบกันเป็นเอกภพนั้นถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร เอกภพมีการวิวัฒนาการอย่างไร และการวิวัฒนาการของเอกภพนี้จะมีจุดสิ้นสุดหรือไม่ การที่เราศึกษาวิชาเอกภพวิทยานั้นจึงเปรียบเสมือนว่าเรากำลังมองภาพรวมของเอกภพทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของเอกภพ
แบบจำลองต่างๆ ของเอกภพ
เนื่องจากเอกภพจะมีความหมายถึงโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่จะสามารถส่งผลกระทบถึงมนุษย์ได้ ดังนั้นนักปราชญ์และนักเอกภพวิทยาในอดีตจึงได้นิยามเอกภพเอาไว้ในรูปแบบที่ต่างๆกันตามความสามารถที่จะสังเกตการณ์หรือจินตนาการถึงโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในหัวข้อนี้เราจะมาศึกษาประวัติศาสตร์ว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นได้มีผู้ที่ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเอกภพอย่างไรบ้าง โดยเราจะเรียกแนวความคิดต่างๆที่ได้เกิดขึ้นเพื่อใช้อธิบายเอกภพในอดีตว่าเป็นแบบจำลองของเอกภพ ซึ่งแบบจำลองเหล่านี้อาจจะเป็นแบบจำลองที่เกิดจากการสังเกตการณ์จริง หรืออาจจะเป็นเพียงแนวความคิดความเชื่อที่ไม่มีผลจากการสังเกตการณ์สนับสนุนก็ได้ ซึ่งอาจะไม่สอดคล้องกับธรรมชาติจริงๆได้ การศึกษาถึงแบบจำลองต่างๆของเอกภพนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นจะช่วยทำให้เราได้เข้าใจถึงจินตนาการเรื่องของเอกภพของนักปราชญ์และนักเอกภพวิทยานับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และความรู้นี้อาจจะช่วยทำให้เราสามารถจินตนาการถึงเอกภพตามความรู้และความเข้าใจของนักดาราศาสตร์และนักเอกภพวิทยาในปัจจุบันได้ดีขึ้น นอกจากนั้นการเรียนรู้ถึงแนวความคิดหรือจินตนาการของบุคคลอื่นอาจจะทำให้เราสามารถฝึกฝนจินตนาการของเราให้กว้างไกลและสามารถจินตนาการได้ใกล้ความจริงในธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ที่มา : จาตุรงค์ สุคนธชาติ. (2553).เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ดาราศาสตร์.คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
แบบจำลองเอกภพของพโตเลมี (Ptoleme’s model of the Universe)
ในอดีตได้มีนักดาราศาสตร์ชื่อ ฮิปปาราคัส (Hipparchus of Nicaea) ได้ทำการสังเกตดาวฤกษ์ต่างๆในท้องฟ้าและจัดทำบัญชีรายชื่อของดาวฤกษ์ต่างๆในท้องฟ้าและเขายังได้จำแนกความสว่างของดาวฤกษ์แต่ละดวงขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย ต่อมาพโตเลมี (Ptolemy, A.D. 127 - 151) นักดาราศาสตร์ชาวกรีกก็ได้ใช้ข้อมูลนี้เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ทางรูปแบบเรขาคณิตทรงกลม ของวัตถุต่างๆในท้องฟ้า พโตเลมีได้อธิบายว่าดาวฤกษ์ต่างๆที่อยู่ในท้องฟ้านั้นจะมีตำแหน่งประจำอยู่กับที่ (fixed star) แต่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆจะมีการเคลื่อนที่ไปในท้องฟ้า โดยพโตเลมีได้อธิบายว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางดาวฤกษ์ต่างๆนั้นจะเคลื่อนที่ไปรอบๆโลก ส่วนดวงอ่ทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆก็จะโคจรรอบโลก โดยมีลักษณะวงโคจรเป็นรูปวงกลมเล็กๆที่เรียกว่าวงโคจร “epicycle” ซึ่งเคลื่อนที่รอบจุดศูนย์กลางอันหนึ่งที่เรียกว่า “deferent” และจุด “deferent” นี้จะโคจรรอบโลกเป็นรูปวงกลม ดังนั้นแบบจำลองเอกภพของพโตเลมีก็ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพโดยใช้หลักการทางเรขาคณิตมาอธิบายถึงผลของการสังเกตที่พบได้จริงในท้องฟ้า
แบบจำลองเอกภพของชาวสุเมอเรี่ยนและแบบจำลองเอกภพของชาวบาบิโลน (The Sumerians and the Babylonians)
ในยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์โลกในช่วงเวลาประมาณ 7,000 ปีก่อนคริตศักราช นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าได้มีชนชาติที่มีอารยะธรรมอาศัยอยู่ในบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียกลางซึ่งในปัจจุบันนี้คือประเทศอิรัก ดินแดนนี้เป็นที่รู้จักกันดีของนักประวัติศาสตร์ว่าคือดินแดน “เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)” ชนที่อยู่ในยุคสมัยนั้นได้เรียกตนเองว่า “ชาวสุเมอเรี่ยน (Sumerian)” ชาวสุเมอเรี่ยนได้ริเริ่มประดิษฐ์คิดค้นการเขียนอักษรที่มีชื่อเรียกว่า “cuneiform” เพื่อสื่อความหมายต่างๆลงบนแผ่นดินเหนียว ต่อมาทำให้นักประวัติศาสตร์ได้รู้ว่าชาวสุเมอเรียนนั้นเป็นกลุ่มชนที่มีอารยะธรรมสูง ในบันทึกนี้นักประวัติศาสตร์ได้มีการค้นพบการบันทึกตำแหน่งของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆในท้องฟ้าพร้อมกับมีการตั้งชื่อให้กับกลุ่มดาวต่างๆในท้องฟ้าอีกด้วย นอกจากนี้ชาวสุเมอเรี่ยนยังได้อธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างๆในท้องฟ้าโดยมีความเชื่อว่าเป็นเพราะเทพเจ้าต่างๆที่ปกครองโลก ท้องฟ้า และแหล่งน้ำต่างๆบันดาลให้เป็นไปเช่นนั้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์นี้จะเห็นได้ว่าโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อชาวสุเมอเรี่ยนก็คือท้องฟ้าและดวงดาวต่างๆ ดังนั้นแบบจำลองของเอกภพของชาวสุเมอเรี่ยนก็คือห้วงท้องฟ้าทั้งหมดที่มีดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆเคลื่อนที่ไปตามเวลาโดยมีโลกเป็นจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนที่ทั้งหมด
ในช่วงระยะเวลาประมาณ 2,000 ปี ถึง 500 ปีก่อนคริตศักราช ชาวบาบิโลนได้ริเริ่มการสังเกตและจดบันทึกการเคลื่อนที่ของดวงดาวต่างๆอย่างเป็นระบบเป็นประจำโดยอาศัยพื้นฐานความรู้ทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมอเรี่ยน นักประวัติศาสตร์ได้พบว่าเมื่อเวลา 1,600 ปีก่อนคริตศักราชชาวบาบิโลนได้จัดทำบัญชีรายชื่อของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างในท้องฟ้าพร้อมทั้งได้ระบุตำแหน่งของการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์และดาวเคราะห์เหล่านั้นอย่างระเอียดทุกๆวัน ซึ่งต่อมาทำให้ต่อมาชาวบาบิโลนได้นำผลของการสังเกตการณ์นี้มาใช้ในการทำนายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่างๆในท้องฟ้าได้อย่างถูกต้อง และได้ช่วยให้ชาวบาบิโลนสามารถทำนายถึงการเปลี่ยนของฤดูกาลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมาก จึมีผลทำให้ระบบการเกษตรของชาวบาบิโลนมีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ชาวบาบิโลนยังได้อาศัยตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในวันต่างๆเพื่อทำปฏิทินแสดงวันที่และฤดูกาลได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วย แต่อย่างไรก็ตามพื้นฐานความรู้และความเชื่อในเรื่องเอกภพของชาวบาบิโลนกับชาวสุเมอเรียนก็ยังคงเหมือนกัน กล่าวคือพวกเขาทั้งสองชนชาติมีความเชื่อว่าเอกภพก็คือห้วงท้องฟ้าทั้งหมดที่มีดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆเคลื่อนที่ไปตามเวลาโดยมีโลกเป็นจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนที่ และ ปรากฏการ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น การโคจรของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์นั้นเกิดขึ้นเพราะเทพเจ้าต่างๆได้ดลบันดาลให้เกิดขึ้นตามความประสงค์ของเทพเจ้า
ที่มา : จาตุรงค์ สุคนธชาติ.(2553). เอกสารประกอบการสอนราวิชา ดาราศาสตร์.คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
แบบจำลองเอกภพของกรีก (Greek cosmology)
การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆในท้องฟ้าของชนชาวกรีกโบราณนั้นได้พัฒนาโดยอาศัยข้อมูลและความรู้ทางดาราศาสตร์ของชาวสุเมอเรียนและชาวบาบิโลน แต่ชาวกรีกได้มีการพัฒนาคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆในท้องฟ้าโดยอาศัยคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ โดยชาวกรีกได้ประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาตร์ในเรื่องของจำนวนและเรขาคณิตในการพัฒนาแบบจำลองเอกภพของของชาวกรีก และได้เป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า “cosmology” ซึ่งมีความหมายว่า “เอกภพวิทยา” โดยที่คำว่า “cosmos” นั้นมาจากภาษากรีกคำว่า “kosmos” ชึ่งแปลว่าแนวความคิดของความสมมาตรและความกลมกลืน (symmetry and harmony)
ชาวกรีกได้พัฒนาความรู้ที่สำคัญมากของวิชาดาราศาสตร์ คือ พวกเขาได้ค้นพบว่าโลกมีลักษณะเป็นทรงกลมโดยนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ ชื่อ อริสโตติ้ล (Aristotle, 384 – 325 ปีก่อนคริตศักราช) อริสโตเติ้ลได้ทำการสังเกตการดาวฤกษ์ที่เคลื่อนที่รอบดาวเหนือและพบว่าดาวฤกษ์เหล่านั้นบางดวงสามารถสังเกตเห็นได้ที่อียิปต์แต่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ที่กรีก ดังนั้นจึงมีทางเดียวที่จะอธิบายปรากฏการณ์นี้คือโลกจะต้องมีลักษณะเป็นทรงกลมเท่านั้น และ อริสตาคัส จากซามอส (Aristarchus of Samos, 310 – 230 ปีก่อนคริตศักราช) ได้เป็นบุคคนแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ระบุว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางและโลกจะโคจรครบหนึ่งรอบในเวลา 1 ปี ดังนั้นแบบจำลองเอกภพของกรีกจึงเป็นแบบจำลองแรกที่กล่าวว่าเอกภพมีลักษณะที่อธิบายได้ทางเรขาคณิต
การระเบิดใหญ่ (The Big Bang)
แนวความคิดของการระเบิดใหญ่
แนวความคิดของการระเบิดใหญ่เกิดขึ้นจากการค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบันตามกฏของฮับเบิ้ล นักดาราศาสตร์และนักเอกภพวิทยามีความเชื่อว่าถ้าหากในปัจจุบันเอกภพกำลังขยายตัวอยู่แล้วนั่นแสดงว่าในอดีตขนาดของเอกภพจะต้องมีขนาดที่เล็กกว่าขนาดของเอกภพในปัจจุบัน และความหนาแน่นเฉลี่ยของสสารทั้งหมดในเอกภพก็จะต้องมีค่ามากกว่าในปัจจุบันด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น ณ จุดเริ่มต้นของเอกภพขนาดของเอกภพควรที่จะมีขนาดเล็กที่สุด (infinitesimal) และความหนาแน่นเฉลี่ยของสสารทั้งหมดในเอกภพควรจะมีค่าเป็นอนันต์ ในสภานะการณ์เช่นนี้นักเอกภพวิทยาพบว่า เอกภพ ณ จุดกำเนิดจะมีอุณหภูมิมีค่าวิกฤต ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทั้งหมดนี้มีความคล้ายคลึงกับสถานะการณ์ของการระเบิด นักเอกภพวิทยาจึงเรียกสถานะการณ์ ณ จุดกำเนิดของเอกภพนี้ว่าการระเบิดใหญ่ (The Big Bang) การะเบิดใหญ่นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของเอกภพและการระเบิดใหญ่จะทำให้พลังงานทั้งหมดของเอกภพกระจายตัวออกและขนาดของเอกภพก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปภายหลังจากการระเบิดใหญ่นั้นอุณหภูมิของเอกภพแล้วจึงค่อยๆเย็นตัวลงทำให้พลังงานของเอกภพเปลี่ยนรูปเป็นสสารชนิดต่างๆ และเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าสารเหล่านั้นจึงรวมตัวกันเป็นดาวฤกษ์และรวมตัวกันเป็นกาแลกซีต่างๆดังที่เราสังเกตเห็นเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แนวความคิดของการระเบิดใหญ่ได้แสดงอยู่ในรูปด้านล่างนี้
ที่มา : จาตุรงค์ สุคนธชาติ.(2553). เอกสารประกอบกรสอนรายวิชา ดาราศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
แบบจำลองเอกภพของโคเปอร์นิคัส (Copernican’s model of the Universe)
นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus, ค.ศ. 1473 – ค.ศ. 1543) นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์เป็นบุคคลหนึ่งที่สนใจในแบบจำลองเอกภพของพโตเลมี แต่สำหรับแบบจำลองเอกภพของเขานั้นเขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงแบบจำลองของพโตเลมีในส่วนที่มีความสำคัญที่มาก กล่าวคือ เขาพบว่าการอธิบายปรากฏการณ์ที่ฮิปาราคัสได้ทำการบันทึกเอาไว้นั้นสามารถกระทำได้อีกวิธีหนึ่งโดยการให้ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของระบบและดาวเคราะห์ต่างๆเคลื่อนที่รอบๆดวงอาทิตย์ด้วยวงโคจร “epicycle” และมีจุดจุดที่เรียกว่า “deferent” นี้จะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงกลมที่สมบูรณ์แบบ ส่วนดวงจันทร์นั้นจะเคลื่อนที่รอบโลก และดาวฤกษ์ต่างๆนั้นจะมีตำแหน่งประจำอยู่กับที่เหมือนกับแบบจำลองของพโตเลมี แบบจำลองของโคเปอร์นิคัสนี้เป็นแบบจำลองที่กลับไปใช้ระบบดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางดังเช่นความเชื่อของอริสตาคัสในยุคกรีก แต่แบบจำลองของเขาได้พยายามอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆโดยใช้ความรู้ทางเรขาคณิตเข้ามาประกอบด้วย โคเปอร์นิคัสได้เผยแพร่ทฤษฎีนี้ในปี ค.ศ.1543 ในหนังสือที่มีชื่อว่า “De Revolutionibus Orbium” ซึ่งมีความหมายว่า “ความเกี่ยวเนื่องกับการวิวัฒนของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ” โดยที่เขารู้ดีว่าทฤษฎีของเขานั้นขัดแย้งกับความเชื่อของคริตศาสนานิการโรมันคาทอลิกที่มีความเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่าง
แบบจำลองเอกภพของเคปเลอร์ (Kepler’s model of the Universe)
ไทโค บราเฮ (Tycho Brahe, ค.ศ.1546 – ค.ศ.1601) นักดาราศาสตร์ชาวฮอลแลนด์ได้ทำการสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่างๆและจดบันทึกตำแหน่งอย่างละเอียดทุกวันเป็นเวลานับสิบปี ผลจากการสังเกตของเขานี้ทำให้เขาไม่เชื่อในคำอธิบายการโคจรของดาวเคราะห์ต่างรอบดวงอาทิตย์ของโคเปร์นิคัสที่ว่าดาวเคราะห์ต่างๆเคลื่อนที่รอบๆดวงอาทิตย์เป็นรูปวงกลมสมบูรณ์แบบ แต่ผลงานการสังเกตการณ์และสรุปผลนี้ยังไม่เป็นผลสำเร็จเขาก็ได้มาเสียชีวิตไปเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตามเขาได้มอบบันทึกของการสังเกตนี้ให้แก่ผู้ช่วยของเขาซึ่งเป็นชาวเยอรมัน คือ โยฮัน เคปเลอร์ (Johannes Kepler, ค.ศ. – ค.ศ. )” ดังนั้นจึงทำให้เคปเลอร์ได้ทำการสังเกตการณ์เพิ่มเติมแล้วจึงได้ตั้งแบบจำลองเอกภพที่ได้อธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่างๆเอาไว้ว่า ดวงอาทิตย์ยังคงเป็นจุดศูนย์กลางการเคลื่อนที่ของระบบโดยที่ดาวฤกษ์ต่างๆจะอยู่ในตำแหน่งประจำที่ ส่วนดาวเคราะห์ต่างๆจะโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรีไม่ใช่วงโคจรรูปวงกลมสมบูรณืแบบดังที่แสดงอยู่ในแบบจำลองของโคเปอร์นิคัส และดวงอาทิตย์จะตั้งอยู่ที่จุดโฟกัสจุดหนึ่งของวงโคจรรูปวงรีนั้น นอกจากนั้นเคปเลอร์ยังพบว่าการอธิบายข้อมูลของไทโคบราเฮด้วยแบบจำลองของเขาจะมีความถูกต้องแม่นยำต่อข้อมูลมากกว่าการอธิบายด้วยแบบจำลองของโคเปอร์นิคัสด้วย
แบบจำลองเอกภพของกาลิเลโอ
กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei, ค.ศ.1564 – ค.ศ.1642) เป็นผู้ที่เชื่อในแบบจำลองของเอกภพของโคเปอร์นิคัสที่กล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของระบบสุริยะ เขาเป็นคนแรกที่ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ จากการสังเกตโดยใช้กล้องโทรรทรรศน์นี้เขาพบว่าผิวของดวงจันทร์มีภูเขาและหลุมอุกาบาตมากมาย เขาพบว่าการแลกซี่ทางช้างเผือกที่สังเกตเห็นเป็นฝ้าสีขาวขุ่นบนท้องฟ้าในบางบริเวณนั้นคือดาวฤกษ์จำนวนมากมายนับไม่ได้ เขาได้พบว่าดาวศุกร์สามารถเกิดเป็นเฟสคล้ายกับเฟสของดวงจันทร์ได้ นอกจากนั้นเขายังได้ค้นพบว่าดาวพฤหัสบดีมีดาวบริวาร 4 ดวงและดาวบริวารนี้โคจรรอบๆดาวพฤหัสบดี ซึ่งการค้นพบนี้เป็นการแสดงถึงการที่วัตถุท้องฟ้าหนึ่งได้โคจรรอบวัตถุท้องฟ้าอื่นที่ไม่ใช่โลกเป็นครั้งแรก และการค้นพบนี้ขัดต่อความเชื่อของศาสนาคริสนิการโรมันคาทอลิกที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอย่างมาก และการค้นพบนี้เป็นการหักล้างความเชื่อเรื่องเอกภพตามแบบจำลองของพโตเลมี กาลิเลโอไม่ได้เก็บผลการค้นพบเหล่านี้เอาไว้เป็นความลับดังที่ คริตศาสนจักรที่กรุงโรมต้องการให้เป็น เขาได้เผยแพร่ผลงานต่างๆเหล่านี้ในหนังสือชื่อ “Dialogue on the Two Chief World Systems” ในปี ค.ศ.1632 หนังสือเล่มนี้ได้ทำการเปรียบเทียบแบบจำลองเอกภพตามความเชื่อของพโตเลมีและโคเปอร์นิคัส และในหนังสือนี้เองที่ได้แสดงแบบจำลองของเอกภพตามความเชื่อของกาลิเลโอ เขามีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ ดาวเคราะห์ต่างๆยังคงเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงกลมแต่ ณ ที่ตำแหน่งวงโคจรของดาวเสาร์ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ไกลที่สุดในเอกภพของเขา กาลิเลโอได้เขียนสัญลักษณ์กรีกที่มีความหมายถึงจุดอนันต์นั่นแสดงว่าเอกภพของกาลิเลโอมีขนาดเป็นอนันต์ หมายความว่า เขายังเชื่อว่ายังมีวัตถุท้องฟ้าอื่นๆที่อยู่กลออกไปกว่าดาวเสาร์
อย่างไรก็ตามเอกภพของโคเปอร์นิคัส เอกภพของเคปเลอร์ และเอกภพของกาลิเลโอไม่ได้แสดงถึงเหตุผลทางกายภาพที่ใช้อธิบายว่าเพราะเหตุใดดาวเคราะห์ต่างๆจึงโคจรตามลักษณะการโคจรที่พบ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงมีผู้ค้นพบว่าลักษณะการโคจรดังกล่าวเกิดจากกฏของความโน้มถ่วงสากล (Laws of Universal Gravitation) ซึ่งค้นพบโดยเซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton ค.ศ. – ค.ศ. ) โดยใช้ความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนี้เองทำให้นักดาราศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดดาวเคราะห์จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี และเพราะเหตุใดดวงอาทิตย์จึงอยู่ที่ตำแหน่งจุดโฟกัสจุดหนึ่งของรูปวงรีของการโคจรนั้น
ผลจากแนวความคิดเรื่องแรงโน้มถ่วงนี้เองทำให้นิวตันได้แสดงแบบจำลองของเอกภพของเขาว่าเอกภพจะต้องมีขนาดเป็นอนันต์ กล่าวคือไม่มีที่สิ้นสุด เนื่องจากว่าถ้าเอกภพมีจุดสิ้นสุดที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วจะทำให้จำนวนของดวงดาวทั้งหมดในเอกภพมีค่าคงที่และจะทำให้ผลของแรงโน้มถ่วงระหว่างดวงดาวต่างๆจะทำให้ดวงดาวเคลื่อนที่เข้ามาใกล้กันและในที่สุดแล้วดวงดาวทั้งหมดจะยุบตัวลงเหลือมวลขนาดใหญ่เพียงอันเดียว แต่ถ้าเอกภพมีขนาดเป็นอนันต์คือไม่มีจุดสิ้นสุดแล้วจะทำให้ผลของแรงโน้มถ่วงของดวงดาวภายในเอกภพที่เรารู้จักทั้งหมดถูกต้านโดยแรงโน้มถ่วงของดวงดาวภายในเอกภพในส่วนมี่เรายังไม่รู้จักและจะทำให้เอกภพทั้งหมดไม่ยุบตัวลง (แต่ในความเป็นจริงแล้วเอกภพไม่มีความจำเป็นที่ต้องมีขนาดเป็นอนันต์จึงจะไม่ยุบตัวลง ขอแต่เพียงว่าเอกภพนั้นมีมวลหรือดวงดาวกระจายอยู่ทั่วไปอย่าสม่ำเสมอในทุกทิศทุกทาง เมื่อมีมวลกระจายอยู่ย่างสม่ำเสมอในทุกทิศทุกทางจะทำให้แรงดึงดูดของมวลจากทิศหนึ่งถูกหักล้างด้วยแรงดึงดูดของแรงในทิศตรงกันข้ามเสมอ ซึ่งจะทำเกิดความสมดุลของแรงดึงดูดและเอกภพก็จะไม่ยุบตัวลง)
จากเรื่องราวของแบบจำลองของเอกภพในอดีตจะเห็นได้ว่ามนุษย์โดยทั่วไปโดยพื้นฐานแล้วสนใจและต้องเข้าใจเรื่องของเอกภพ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าธรรมชาติของมนุษย์ต้องการรู้ว่าที่มาของสรรพสิ่งที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ในอนาคตนั้นจะวิวัฒนาการไปอย่างไปอย่างไร และท้ายสุดมนุษย์ต้องการที่จะว่าสุดท้ายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างนี้จะมีจุดจบอย่างไร ดังนั้นการศึกษาเรื่องเอกภพ หรือ “เอกภพวิทยา” นั้นจึงเป็นการศึกษาธรรมชาติที่ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นตามธรรม๙ติของมนุษย์โดยตรง ซึ่งจากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเราจะพบว่าความอยากรู้อยากเห็นและอยากความเข้าในปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆนี่เองที่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษยชาติได้พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนทำให้โลกพัฒนามาจนกระทั่งเป็นอยู่อย่างทุกวันนี้
ที่มา : จาตุรงค์ สุคนธชาติ.(2552) เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ดาราศาสตร์.คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กลับไปที่เนื้อหา
เพราะเหตุใดท้องฟ้าในเวลากลางคืนจึงมืด? ความขัดแย้งของโอลบอร์
คำถามว่า “เพราะเหตุใดท้องฟ้าในเวลากลางคืนจึงมืด?” นั้นดูจะเป็นคำถามที่ดูจะตอบได้ง่ายในทางดาราศาสตร์สำหรับนักดาราศาสตร์สมัครเล่นทั่วๆไป คำตอบส่วนใหญ่เมื่อมีผู้ถามคำถามนี้ก็คือ เหตุผลที่เราเห็นท้องฟ้าในเวลากลางคืนมืดนั้นก็เพราะว่าดวงอาทิตย์ได้ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว หรืออาจจะได้รับคำตอบว่าเป็นเพราะซีกของโลกที่เป็นเวลากลางคืนนั้นคือซีกของโลกที่อยู่ทางด้านตรงกันข้ามกับซีกโลกที่เป็นเวลากลางวันดังนั้นจึงทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ไม่สามารถส่องมายังผิวของโลกด้านนี้ได้ แต่คำถามที่ดูแสนจะธรรมดาเช่นนี้เคยทำความพิศวงให้กับวงการนักดาราศาสตร์อาชีพทั่วโลกมาแล้ว คำถามที่ว่านี้ได้เกิดจากนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันผู้หนึ่งที่มีชื่อว่าโอลเบอร์ (Heinrich Wilhelm Olbers, ค.ศ.1758 – ค.ศ.1840)
ในปี ค.ศ.1823 โอลเบอร์ได้เสนอแนวความคิดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คือ เขาคิดว่าท้องฟ้าในเวลากลางคืนนั้นไม่ควรที่จะมืดสนิทดังที่พบเห็นกันอยู่ได้โดยทั่วไป เขาได้ถามว่าถ้าหากเอกภพมีขนาดเป็นอนันต์และในเอกภพมีดาวฤกษ์จำนวนอนันต์ซึ่งประมาณได้ว่ากระจายตัวอยู่อย่างสม่ำเสมอในทุกทิศทุกทางแล้วเอกภพทั้งหมดควรจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันนี้ หรือ เอกภพควรจะมีความสว่างมากกว่าที่เป็นอยู่นี้ เราอาจจะมาลองพิจารณาแนวความคิดนี้กันอย่างละเอียด คือ เมื่อพิจารณาแสงจากดาวฤกษ์ซึ่งปริมาณของแสง (ฟลักซ์ของแสง) จะลดลงโดยเป็นไปตามกฎกำลังสองผกผัน (inverse square law) หรือ ปริมาณของแสงจากดาวฤกษ์ µ 1/(ระยะห่าง)2 และเนื่องจากดาวฤกษ์นั้นกระจายตัวอยู่อย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น จำนวนดาวฤกษ์จะเพิ่มขึ้นโดยแปรผันตรงกับระยะห่างกำลังสองซึ่งเป็นไปตามกฎของพื้นที่ (square law) หรือ จำนวนดาวฤกษ์ µ (ระยะห่าง)2 เนื่องจากความสัมพันธ์ทั้งสองเกี่ยวเนื่องกับ (ระยะห่าง)2 ทั้งคู่ ดังนั้นเราจึงสามารถควบรวมทั้งสองความสัมพันธ์ได้ คือปริมาณของแสงจากดาวฤกษ์µ จำนวนดาวฤกษ์
จากความสัมพันธ์อันนี้เองที่โอลเบอร์ได้ตั้งคำถามว่าถ้ามีในเอกภพมีดาวฤกษ์เป็นจำนวนมากและดาวฤกษ์เหล่านั้นก็ได้ปลดปล่อยแสงออกมาตลอดเวลาเป็นเวลานานแล้วดังนั้นเราควรจะสังเกตเห็นท้องฟ้าในยามค่ำคืนมีความสว่าง หรือมีอุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศสูงกว่าที่ควรจะพบอยู่ในปัจจุบัน และนอกจากนั้นแล้วความสว่างของท้องฟ้า หรือ อุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศนี้ก็ควรจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไปเพิ่มขึ้นด้วย เพราะดาวฤกษ์ต่างๆได้ปลดปล่อยแสงออกมาอย่างสม่ำเสมอตลอดเวลา
นักดาราศาสตร์ทั่วโลกในสมัยนั้นได้สนใจในข้อขัดแย้งนี้และ ในปี ค.ศ. 1921 เอ็ดมันด์ ฮัลเลย์ (Edmund Halley) ได้เสนอว่าแนวความคิดของโอลเบอร์ที่ได้กล่าวขึ้นนั้นถูกต้องทุกประการเพียงแต่ผลที่ได้นั้นกับขัดแย้งกับสิ่งที่สังเกตได้จริง จากการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์เราจะพบว่าท้องฟ้าในเวลากลางคืนนั้นมืดสนิท หรือ มีอุณหภูมิต่ำมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศมีค่าประมาณ 2.7 องศาเคลวิน (ประมาณ -270.3 องศาเซลเซียล) เท่านั้น และนอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเวลาแต่กลับมีอุณหภูมิเฉลี่ยคงที่ตลอดเวลาด้วย ความขัดแย้งในหลักของเหตุผลที่นำเสนอโดยโอลเบอร์กับผลการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์จริงนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ในช่วงนั้นได้นำไปสู่ข้อสรุปของการอธิบายเอกภพ 2 ข้อดังนี้
- จากแนวความคิดของเอ็ดการ์ แอลลัน โป พบว่าความขัดแย้งนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าหากว่าเอกภพยังมีอายุน้อยและแสงเดินทางได้ด้วยอัตราเร็วจำกัด ดังนั้นจึงทำให้แสงจากดาวฤกษ์ทั้งหมดยังเดินทางมาไม่ถึงผู้สังเกต จึงทำให้พื้นที่ว่างส่วนใหญ่ในอวกาศมืดสนิทซึ่งสอดคล้องกับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์
- เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการค้นพบการเลื่อนทางแดง (red shift) ของสเปกตรัมที่มาจากดาวฤกษ์จำนวนมากจากกาแลกซีอื่นดังนั้นจึงมีแนวความคิดว่าผลของการเลื่อนทางแดงจะทำให้แสงในช่วงของแสงขาว (visible lights) จากดาวฤกษ์เลื่อนออกไปจากช่วงความยาวคลื่นที่ตามนุษย์สามารถสังเกตได้จนหมด ดังนั้นจึงทำให้พื้นที่ว่างส่วนใหญ่ในอวกาศมืดสนิท
ที่มา : จาตุรงค์ สุคนธชาติ.(2552).เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ดาราศาสตร์ .คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กลับไปที่เนื้อหา
กฏของฮับเบิ้ล (The Hubble Law)
ในปี ค.ศ. 1920 นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ เอ็ดวิน ฮับเบิ้ล (Edwin Hubble, 1889-1953) ได้ค้นพบความรู้เรื่องขิงเอกภพที่มีความสำคัญมากที่สุดอันหนึ่งนั่นคือ เขาได้ค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน จากการที่นักดาราศาสตร์ต่างๆได้ทำการสังเกตการณ์กาแลกซีต่างๆจำนวนมากและพบว่ากาแลกซีต่างๆนั้นจะเกิดปรากฏการณ์การเลื่อนทางแดง (redshift) ของเส้นเสปกตรัมแบบดูดกลืนที่พบเสมอ ฮับเบิ้ลได้สนใจข้อมูลการเลื่อนทางแดงของกาแลกซีต่างๆนี้และเขาได้ใช้ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler’s effect) ในการหาอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ถอยห่างของกาแลกซีต่าง ๆ นั้นออกจากโลก (radial velocity) นอกจากนั้นเขาได้ทำการคำนวณหาระยะห่าง (distance) ระหว่างโลกกับกาแลกซีต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ของการลดลงของความสว่างของดาวฤกษ์มาตรฐานเมื่อระยะห่างเพิ่มมากขึ้น
ในที่สุดเขาได้พล็อตกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของการแลกซีในการเคลื่อนที่ถอยห่างออกจากผู้สังเกตนี้ในหน่วยของ กิโลเมตรต่อวินาที (km/s) กับระยะห่างระหว่างผู้สังเกตกับกาแลกซีนั้นในหน่วยของ เมกะพาร์เซก (Mpc) ความสัมพันธ์ของข้อมูลในกราฟดังกล่าวมีลักษณะเป็นเส้นตรงซึ่งมีความหมายว่าอัตราเร็วในการเคลื่อนที่ออกห่างจากผู้สังเกต (v) แปรผันโดยตรงกับระยะห่างจากกาแลกซีนั้น (D) ซึ่งความสัมพันธ์นี้เองที่ทำให้ฮับเบิ้ลได้สรุปว่าในปัจจุบันนี้เอกภพกำลังขยายตัวออก ซึ่งเรารู้จักความสันพันธ์นี้กันป็นอย่างดีในชื่อของ “กฏของฮับเบิ้ล (Hubble Law)”
V = H0x D
ค่า H0คือ ค่าคงที่ของฮับเบิ้ลมีหน่วยเป็น กิโลเมตรต่อวินาทีต่อเมกะพาร์เซก (km s-1 /Mpc ) ซึ่งในปัจจุบันค่าคงที่ของฮับเบิ้ลมีค่า 75 km s-1/Mpc ซึ่งมีความหมายว่าทุกๆอณูของเอกภพกำลังขยายตัวออกด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 75 km/s ในทุกๆระยะห่าง 1 Mpc จากผู้สังเกต
ข้อมูลที่แสดงอยู่ด้านล่างคือข้อมูลจริงจากรายงานทางวิชาการของเอ็ดวิน ฮับเบิ้ลที่เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้แสดงการแปรผันโดยตรง หรือความสัมพันธ์ที่มีกราฟเป็นเส้นตรง (ดังแสดงในกราฟด้านล่าง) ฮับเบิ้ลได้ใช้ความสัมพันธ์นี้เพื่อแสดงว่าเอกภพกำลังขยายตัวออกในปัจจุบัน (Hubble, Edwin, "A Relation between Distance and Radial Velocity among Extra-Galactic Nebulae",Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, Volume 15, Issue 3, pp. 168-173, 1929)
กราฟด้านบนแสดงความสัมพันธ์เส้นตรงของข้อมูลจากรายงานของฮับเบิ้ลที่สรุปว่าเอกภพกำลังขยายตัวอยู่ในปัจจุบัน ผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัล Awards Bruce Medal ในปี ค.ศ. 1938 รางวัล Gold Medal of the Royal Astronomical Society ในปี ค.ศ. 1940 และรางวัล Merit for outstanding contribution to ballistics research ในปี ค.ศ. 1946
จากการหาค่าความชันของเส้นตรงที่แสดงในกราฟจะพบว่าค่าความชันจะมีค่าประมาณ 500 km s-1 /Mpc มีค่ามากกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (75 km s-1 /Mpc ) เป็นอย่างมากสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเทคนิคในการหาระยะห่างของกาแลกซีกับผู้สังเกตบนโลกโดยอาศัยความสัมพันธ์ในการลดลงค่าความสว่างของดาวฤกษ์มาตรฐานในกาแลกซีต่างๆนั้นมีความคลาดเคลื่อนมาก เพราะในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถหาดาวฤกษ์ที่เป็นมาตรฐานในกาแลกซีต่างๆเหล่านั้นได้เลย แต่ถึงอย่างไรก็ตามผลงานชิ้นนี้ของฮับเบิ้ลก็ได้ทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใจอย่างชัดเจนว่าเอกภพของเรากำลังขยายตัวออกอยู่ในปัจจุบัน และความเข้าใจอันนี้จึงสามารถทำให้นักดาราศาสตร์สามารถเข้าใจเอกภพและสามารถตอบคำถามของโอลเบอร์ที่เกี่ยวกับอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศ หรือคำถามที่ว่า “เพราะเหตุใดท้องฟ้าในเวลากลางคืนจึงมืด?” ได้
โอลเบอร์ได้แสดงเอาไว้อย่างชัดเจนว่าถ้าหากปริมาตรของเอกภพมีค่าคงที่แล้วในที่สุดปริมาณของแสงสว่าง หรือ พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์ต่างๆจำนวนมากมายมหาศาลก็จะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศมีค่ามากกว่าที่พบอยู่ในปัจจุบันและนอกจากนั้นอุณหภูมิเฉลี่ยนี้จะต้องมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตามเวลาด้วย ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับสนามบาสเกตบอลที่ปิดอย่างมิดชิดจะต้องสว่างขึ้นถ้าหากได้จุกเทียนไขหลายๆเล่มภายในสนามบาสเกตบอลดังกล่าว แต่จากการสังเกตจริงพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศไม่ได้เพิ่มมากขึ้นตามเวลาที่เพิ่มขึ้นเลย เหตุที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่านักดาราศาสตร์รู้จากผลงานของฮับเบิ้ลว่าเอกภพของเรากำลังขยายตัวออกตลอดเวลา การขยายตัวนี้เองทำให้เอกภพมีปริมาตรเพิ่มขึ้นจนทำให้พลังงานของแสงที่แผ่ออกมาจากดาวฤกษ์นั้นไม่สามารถทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอวกาศมีค่าที่สูงขึ้นตามเวลาที่เพิ่มมากขึ้นได้ หรือ อาจจะเปรียบเทียบได้กับว่าถ้าทุกส่วนของสนามบาสเกตบอลที่ปิดอย่างมิดชิดนั้นได้ขยายตัวออกเรื่อยๆจะทำให้ระยะห่างระหว่างนักเรียนและเพื่อนนั้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงทำให้แสงจากเทียนไขที่นักเรียนและเพื่อนๆได้จุดขึ้นได้ถอยห่างออกจากกัน และทำให้สนามบาสเกตบอลที่กำลังขยายตัวออกไม่ได้สว่างมากขึ้น
ที่มา : จาตุรงค์ สุคนธชาติ.(2552).เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ดาราศาสตร์.คณะวิทยาศาตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กลับไปที่เนื้อหา
ระบบพิกัดบนทรงกลมท้องฟ้า Horizontal system
การกำหนดของดาวในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal System) มีตัวแปรอยู่ 2 ค่า คือ มุมเงย (Altitude) และมุมราบหรือมุมอาซิมุท (Azimuth) โดยมุมเงยเป็นระยะเชิงมุมทีวัดจากขอบฟ้าถึงดาวในแนววงกลมใหญ่ทีผ่านดาวและจุดเซนิทหรือจุดเหนือศีรษะ โดยมีค่าตั่ง แต่ 0 องศา คือ อยู่ทีขอบฟ้าไปจนถึง 90 องศา คือ อยู่เหนือศีรษะพอดี ระยะเชิงมุมจากจุดเซนิทถึงดาวเรียกว่าระยะเซนิทหรือเท่ากับ 90 องศา ลบด้วยมุมเงย ระยะเซนิทนี้ช่วยในการบอกระยะเชิงมุมในกรณีทีวัดมุมเงยจากขอบฟ้าได้ยาก ค่ามุมอาซิมุท เป็นค่าทีวัดจากทิศเหนือไปทางทิศตะวันออกไปตามขอบฟ้าจนตัดกับเส้นวงกลมของดาว โดยมีค่าตั้งแต่ 0 องศา ไปจนถึง 360 องศา ถ้าดาวอยู่ทิศเหนือพอดีก็จะมีค่ามุมอาซิมุท 0 องศา ถ้าอยู่ตรงทิศตะวันออกก็มีค่าอาซิมุท 90 องศา ถ้าอยู่ตรงทิศใต้พอดีก็มีค่าอาซิมุท 180 องศา และถ้าอยู่ตรงทิศตะวันตกพอดีก็มีค่าอาซิมุท 270 องศาค่ามุมเงยและค่ามุมอาซิมุทจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่ดาวขึ้นจนถึงดาวตก ซึ่งไม่สะดวกในการบอกตำแหน่งของดาวทีแน่นอน จึงจำเป็นต้องอ้างอิงดาวตามระบบพิกัดศูนย์สูตรแทน
นอกจากระบบพิกัดศูนย์สูตรและระบบพิกัดขอบฟ้าแล้ว ก็ยังมีระบบพิกัดอีคลิปติก ซึ่ง ใช้ในการหาตำแหน่งของดาวเคราะห์ อีกระบบคือระบบพิกัดกาแลกซีซึ่ง ใช้ในการบอกตำแหน่งของดาวในกาแลกซีทางช้างเผือกทีเ1ราอยู่ แต่ทั้ง 4 ระบบนี้สามารถคำนวณเปลี่ยนค่ากันได้ และแต่ละระบบก็เหมาะกับการใช้งานคนละอย่าง
ที่มา: กันต์ธนากร น้อยเสนา.เอกสารประกอบการสอนดาราศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์.หน้า 45.
กลับไปที่เนื้อหา
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้าแบบ Equatorial system
การกำหนดศูนย์สูตรท้องฟ้าเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับโลกโดยอ้างอิงจากแนวเส้นศูนย์สูตรจากโลกบนทรงกลมท้องฟ้า ดังนั้นผู้สังเกตที่ตำแหน่งต่าง ๆ ของโลก จะมีลักษณะของทรงกลมท้องฟ้าที่แตกต่างกันไป โดยมีตำแหน่งของดาวเหนือสูงจากระดับขอบฟ้าเท่ากับค่าละติจูดของผู้สังเกตซึ่งทรงกลมท้องฟ้านั้น เป็นครึ่งทรงกลมทีครอบผู้สังเกตโดยมีดาวอยู่ที่ระยะห่างเท่ากันหมด และมีระนาบขอบฟ้าในแนวเส้นสัมผัส ณ. ตำแหน่งของผู้สังเกต จุดขั่วฟ้าเหนือก็ขนานกับแนวขั่วโลกเหนือ ใต้คือสูงเท่ากับละติจูดที่ผู้สังเกตอยู่
รูปทรงกลมท้องฟ้าที่ครอบผู้สังเกต (มูลนิธิโอลิมปิกวิชาการ,2547)
ระบบศูนย์สูตรท้องฟ้า กำหนดโดยปริมาณ 2 ปริมาณคือ เดคลิเนชัน (Declination) และไรท์ แอสเซนชัน (Right Ascension) ระนาบอิเควเตอร์ของโลก สามารถขยายให้ใหญ่ออกไปจนตัดกับทรงกลมท้องฟ้า ระนาบกลมใหญ่ทีตั้งฉากกับแกนหมุนของท้องฟ้า ที่เรียกว่า “ระนาบศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator)” ดังแสดงแล้วในรูป ซึ่งอาจกำหนดค่าเดคลิเนชัน ของดาว โดยใช้ระนาบศูนย์สูตรท้องฟ้าเป็นหลักว่าเป็นมุมที่วัดจากระนาบศูนย์สูตรท้องฟ้า
รูปแสดงแกนหมุนของท้องฟ้าและมุมเงยของขั่วท้องฟ้าเหนือ (มูลนิธิโอลิมปิกวิชาการ,2547)
สำหรับค่าไรท์แอสเซนชัน นั้นกำหนดว่า เป็นค่ามุมทีวัดจากจุดอ้างอิงจุดหนึ่งบนท้องฟ้าทีอยู่บนระนาบศูนย์สูตร นักดาราศาสตร์บอกค่าไรท์ แอสเซนชันเป็น “ชั่วโมง นาที วินาที”
1 ชั่วโมง = 15 องศา
1 นาที = 15 ลิปดา
1 วินาที = 15 ฟิลิปดา
รูปแสดง Declination และ Right Ascension บนทรงกลมท้องฟ้า
ที่มา : กันต์ธนากร น้อยเสนา.เอกสารประกอบการสอนวิชาดาราศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. หน้า 45-47.
กลับไปที่เนื้อหา
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้าแบบ Ecliptic systemEcliptic system
รูปแสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนทรงกลมท้องฟ้าในเดือนต่าง ๆ
รูปแสดง เส้นลองจิจูดท้องฟ้า และละติจูดท้องฟ้าที่ลากผ่านดาวดวงนั้น
ที่มา : กันต์ธนากร น้อยเสนา.เอกสารประกอบการสอนวิชาดาราศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. หน้า 47-49.
กลับไปที่เนื้อหา
ระบบพิกัดทรงกลมท้องฟ้าแบบ Galactic System
Galactic system
รูปแสดงพิกัดกาแล็กซี
ที่มา : กันต์ธนากร น้อยเสนา.เอกสารประกอบการสอนวิชาดาราศาสตร์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์. หน้า 47-49.
กลับไปที่เนื้อหา
-
7208 Universe /lesson-physics/item/7208-universeเพิ่มในรายการโปรด