ไฟฟ้ากระแสตรง
- 1. การแนะนำ
- 2. กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์และความต้านทาน 2
- 3. เซลล์ไฟฟ้า
- 4. วงจรไฟฟ้า
- 5. การนำกระแสไฟฟ้าในโลหะ
- 6. กระแสไฟฟ้าในหลอดสุญญากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร?
- 7. การนำกระแสไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก๊ส และสารละลายอิเล็กโทรไลต์
- 8. การนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)
- 9. กระแสไฟฟ้า
- 10. กระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ
- 11. กฎของโอห์มและความต้านทาน
- 12. การอ่านค่าแถบสีของตัวต้านทาน
- 13. ไดโอด
- 14. วงจรไฟฟ้ากระแสตรง
- 15. กฎของเคอร์ชอฟ
- 16. เครื่องวัดไฟฟ้าเบื้องต้น 1
- 17. เครื่องวัดไฟฟ้าเบื้องต้น ตอนที่ 2
- - ทุกหน้า -
ไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ในปัจจุบัน พลังงานรูปแบบต่างๆ ถูกแปลงรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อนำมาใช้ในเครื่องใชต้้ต่างๆ ในกิจวัตรประจำวัน หลายกิจกรรมของมนุษย์ล้วนใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น ดังนั้นไฟฟ้าจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์
นักเรียนจะได้ศึกษากระแสไฟฟ้าในวงจร ปริมาณไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก และการนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์พื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์
จากความรู้เรื่องประจุไฟฟ้าสามารถสรุปได้ว่า
ประจุไฟฟ้าบวก จะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าสูงไปสู่บริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ
และประจุไฟฟ้าลบ จะเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง
ถ้านำตัวนำที่มีประจุและศักย์ไฟฟ้าต่างกัน มาวางติดกันหรือใช้ลวดโลหะตัวนำเชื่อมต่อกัน ตัวนำที่มีประจุทั้งสองจะเกิดการถ่ายเทประจุระหว่างตัวนำทั้งสองผ่านลวดโลหะตัวนำ แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำนั้น จนกระทั่งศักย์ไฟฟ้าบนตัวนำทั้งสองเท่ากัน ประจุหยุดถ่ายเท กระแสไฟฟ้าหมดไป ถ้าต้องการให้เกิดกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีแหล่งกำเนิดที่ให้ความต่างศักย์ไฟฟ้าตลอดเวลา
การนำไฟฟ้า
เนื่องจากกระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้าสามารถเคลื่อนที่ได้ในตัวกลางหลายๆ ชนิด เรียกสมบัติของตัวกลางที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านได้ว่า“ตัวนำไฟฟ้า”ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าในตัวนำแสดงว่า “มีการนำไฟฟ้า”
การนำกระแสไฟฟ้าในโลหะ
ในโลหะประกอบด้วย Valence electron ที่ถูกยึดไว้อย่างหลวมๆ อิเล็กตรอนเหล่านี้จะหลุดจากอิเล็กตรอนได้ง่าย เมื่อหลุดแล้วจะเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระสามารถไปได้ทั่วโลหะทั้งก้อน เรียกอิเล็กตรอนเหล่านี้ว่าอิเล็กตรอนอิสระ(free electron)ซึ่งอิเล็กตรอนเหล่านี้จะเคลื่อนที่อย่างไร้ระเบียบไม่มีทิศทางแน่นอน การเคลื่อนที่แบบนี้เรียกว่า การเคลื่อนที่แบบบราวน์ ความเร็วเฉลี่ยของอิเล็กตรอนเป็น 0 เมื่อเราทำให้ปลายโลหะทั้งสองมีความต่างศักย์ไฟฟ้าเกิดขึ้น โดยต่อปลายทั้งสองข้างของโลหะกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจะทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่โดยมีความเร็วเฉลี่ยไม่เท่ากับ0 เรียกว่าความเร็วลอยเลื่อน(Drift velocity)ดังนั้นการนำไฟฟ้าในโลหะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ
ลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในแท่งโลหะลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในแท่งโลหะเมื่อปลายทั้งสองมีความต่างศักย์
กลับไปที่เนื้อหา
การนำไฟฟ้าในหลอดสุญญากาศ
หลอดสุญญากาศเป็นหลอดแก้วที่สูบอากาศออกหมด ส่วนประกอบหลักภายในจะมีขั้วสำหรับให้อิเล็กตรอนเรียกว่า ขั้ว แคโทด (Cathode) และขั้วสำหรับรับอิเล็กตรอนเรียกว่า ขั้ว อาโนด (Anode) หรือเพลต
หลอดสุญญากาศ ที่มีเฉพาะ ขั้วแคโทดและ อาโนด เรียกว่าหลอดไดโอด (Diode) หลอดประเภทอื่นก็จะมีส่วนประกอบที่มากกว่านี้ต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน
กระแสในหลอดสุญญากาศเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ถ้าเราต่อขั้วบวกของแบตเตอรี่เข้ากับ ขั้วอาโนด และขั้วลบที่ขั้วแคโทดของหลอดไดโอด และทำให้แคโทดร้อน อิเล็กตรอนบางตัวจะหลุดออกจากแคโทด เป็นอิเล็กตรอนอิสระ ดังนั้นถ้าเราต่อแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากับแคโทดและแอโนด โดยให้โดยศักย์ไฟฟ้าที่แอโนดสูงกว่า (ขั้วบวกต่อกับแอดโนด ขั้วลบต่อกับแคโทด) สนามไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะทำให้อิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ ไปยังแอโนด จึงทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในวงจรดังนั้นการนำไฟฟ้าในไดโอดเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระ
นอกจากนี้ยังมีหลอดสุญญากาศที่ใช้ความร้อนจากแสงทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากแคโทดอีกด้วยเรียกหลอดประเภทนี้ว่า หลอดโฟโตอิเล็กตริก นอกจากนี้สมบัติของหลอดไดโอดเรานำมาใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระในหลอดโฟโตอิเล็กตริก
กลับไปที่เนื้อหา
การนำกระแสไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก๊ส
หลอดบรรจุแก็สเป็นหลอดสุญญากาศที่บรรจุแก็สบางชนิดลงไปเป็นปริมาณน้อย เช่น ไฮโดรเจน นีออน อาร์กอน หรือ ไอปรอท ความดันภายในหลอดจะต่ำกว่าความดันบรรยากาศมาก ที่ปลายขั้วหลอดทั้งสองข้างจะต่อกับขั้วไฟฟ้า ถ้าความต่างศักย์ สูงพอจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นและมีแสงสีต่างๆ ตามคุณสมบัติแก็สที่ใส่ในหลอด เช่นหลอดไฟโฆษณาต่างๆ เกิดขึ้นจาก เมื่อเราให้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วมากๆ ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า โมเลกุลของแก็สจะแตกตัว เป็นไอออนบวก และอิเล็กตรอนอิสระ โดยไอออนบวกจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าลบ อิเล็กตรอนอิสระจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าบวก ดังนั้นจะเห็นว่าการนำไฟฟ้าของหลอดบรรจุแก๊สเกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออนบวก และอิเล็กตรอนอิสระ
การนำกระแสไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก๊ส
ลักษณะเด่นของการนำไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก๊ส
1. หลอดบรรจุแก๊สเป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำให้แก๊สซึ่งปกติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีนำไฟฟ้าได้
2. หลอดบรรจุแก๊ส เป็นหลอดแก้วที่สูบอากาศภายในออก และบรรจุแก๊สบางชนิดเข้าไป เช่น ไฮโดรเจนนีออน อาร์กอนหรือไอปรอท ลงไปในปริมาณเล็กน้อย ทำให้ความดันของแก๊สในหลอดแก้วต่ำกว่าความดันบรรยากาศมากทำให้โมเลกุลของแก๊สสามารถแตกตัวได้ง่าย เมื่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองของหลอดบรรจุแก๊ส
ต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงความต่างศักย์สูง
3. ถ้าต่อขั้วไฟฟ้าทั้งสองของหลอดบรรจุแก๊สกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงความต่างศักย์สูงจะเกิดสนามไฟฟ้าที่ทำให้โมเลกุลของแก๊สแตกตัวเป็นไอออนบวกและอิเล็กตรอนอิสระโดยที่ไอออนบวกจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าลบเพื่อรับอิเล็กตรอนและอิเล็กตรอนอิสระจะเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าบวก
แสดงว่ากระแสไฟฟ้าในหลอดบรรจุแก๊ส จะเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระและไอออนบวก
หมายเหตุ การเกิดแสงสีขึ้นอยู่กับชนิดของแก๊สที่บรรจุในหลอดแก้ว
การนำกระแสไฟฟ้าในสารละลายอิเล็กโทรไลต์
สารอิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลายที่นำไฟฟ้าได้ เช่น สารละลายของกรด เบส หรือเกลือ ไม่ว่าจะเป็นสารละลายเกลือกำมะถัน สารละลายเบสโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกลือซัลเฟตเป็นต้น โดยกระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของไอออนที่เกิดจากการแตกตัวของกรด เบส หรือ เกลือ การนำไฟฟ้าในอิเล็กโทไลต์ ทำให้เกิดขึ้นโดยจุ่มแผ่นโลหะ 2 แผ่น แผ่นหนึ่งต่อเข้ากับขั้วบวก และอีกแผ่นต่อกับขั้วลบ ลงไปในอิเล็กโทรไลต์ แท่งแผ่นโลหะ จะทำหน้าที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบ ทำให้เกิดสนามไฟฟ้า ผ่านอิเล็กโทรไลต์ซึ่งส่งผลให้ ไอออนบวก เคลื่อนที่ไปยังขั้วลบ ไอออนลบ เคลื่อนที่ไปยังขั้วบวก จึงทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นดังนั้นกระแสไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์ จึงเกิดจากการเคลื่อนที่ ของทั้งประจุบวก และประจุลบ
หลักการนี้การนำไปใช้ประโยชน์ในการชุบโลหะ และการแยกธาตุบริสุทธ์ิ เมื่อต้องการชุบวัตถุด้วยโลหะชนิดใดก็ต้องใช้อิเล็กโทไลต์ที่มีไอออนชนิดนั้น เพื่อให้ไอออนมาเกาะ
ลักษณะเด่นของการนำไฟฟ้าอิเล็กโทรไลต์
1. อิเล็กโทรไลต์ เป็นสารละลายที่สามารถนำไฟฟ้าได้
2. อิเล็กโทรไลต์ เป็นสารละลายของกรด เบส หรอเกลือ
3. การนำไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์ ทำให้เกิดได้โดยการจุ่มแผ่นโลหะ 2 แผ่น ลงในอิเล็กโทรไลต์
แล้วต่อเข้ากับขั้วของแบตเตอรี่ พบว่า
- แผ่นโลหะทั้งสองจะทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าบวก และขั้วไฟฟ้าลบ
- สนามไฟฟ้าระหว่างขั้วไฟฟ้าบวก และขั้วไฟฟ้าลบ จะมีผลทำให้อิเล็กโทรไลต์ แตกตัวเป็นไอออนบวก และไอออนลบ
- ไอออนบวกเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าลบ และไอออนลบเคลื่อนที่ไปยังขั้วไฟฟ้าบวกแสดงว่า กระแสไฟฟ้าในอิเล็กโทรไลต์ จะเกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าบวก (ไอออนบวก) และประจุไฟฟ้าลบ (ไอออนลบ)
กลับไปที่เนื้อหา
การนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor)
สารกึ่งตัวนำเป็นสารที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน พิจารณาโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำเช่น ซิลิกอน พบว่า Valence Electron ของแต่ละตัวจะมีพันธะกับ Valence Electron ข้างเคียง จึงไม่มีอิเล็กตรอนอิสระที่จะนำไฟฟ้าได้ ถ้าใส่สนามไฟฟ้าข้าไป หรือ ให้ความร้อนมากพอ Valence Electron สามารถหลุดเป็นอิสระได้ ทำให้เกิดช่องว่างเรียกว่า โฮล ซึ่งมีลักษณะคล้ายประจุไฟฟ้าบวก แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้าที่กระทำต่ออิเล็กตรอนอิสระและโฮลจะมีทิศตรงข้ามกัน ทำให้มันเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกัน โดยอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ตรงข้ามกับสนาม โฮลเคลื่อนที่ทิศเดียวกับสนามไฟฟ้า ทำให้เกิดการนำไฟฟ้าขึ้น ดังนั้นการนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำเกิดจากการเคลื่อนที่ของ โฮล และอิเล็กตรอนอิสระ
การนำกระแสไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ
ลักษณะเด่นของการนำไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ มีดังนี้
1. โครงสร้างของสารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์ เช่น ซิลิคอนบริสุทธิ์พบว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมจะมีพันธะกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมข้างเคียง จึงไม่มีอิเล็กตรอนอิสระ ดังรูป
2. ถ้าให้สนามไฟฟ้าที่มีความเข้มสูงมากพอแก่สารกึ่งตัวนำบริสุทธ์ จะทำให้อิเล็กตรอนบางตัวในพันธะหลุดออกมากลายเป็นอิเล็กตรอนอิสระและเกิดที่ว่าง เรียกว่า "โฮล (Hole)" โดยที่โฮลจะมีพฤติกรรมคล้ายกับอนุภาคที่มีประจุบวก
3. แรงเนื่องจากสนามไฟฟ้า ทำให้อิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ในทิศตรงข้ามกับสนามไฟฟ้า และโฮลเคลื่อนที่ในทิศเดียวกับสนามไฟฟ้า
นั่นแสดงว่าการนำไฟฟ้าในสารกึ่งตัวนำ เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระและโฮล
กลับไปที่เนื้อหา
กระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าคือ การเคลื่อนที่ของประจุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กรณีที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าในวัสดุตัวนำ ไม่ได้แปลว่าไม่มีประจุไฟฟ้าในวัสดุนั้น ตัวอย่างเช่นวัสดุตัวนำพวกลวดโลหะ พาหะในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าคืออิเล็กตรอนอิสระ (Free electron) อิเล็กตรอนอิสระเหล่านี้จะเคลื่อนที่โดยไม่มีทิศทางแน่นอน (Random)
เมื่อประจุไฟฟ้าถ่ายโอนจากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่งแสดงว่ามีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นกระแสไฟฟ้าจะถูกกำหนดให้ไหลออกจากขั้วบวกของแบตเตอรี่
การถ่ายโอนประจุไฟฟ้าที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า มีเงื่อนไขดังนี้
1. ระหว่างจุดสองจุดที่กระแสไหล จะต้องมีตัวนำไฟฟ้า
2. จะต้องมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดนั้น และกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีความต่างศักย์สูงไปยังจุดที่มีความต่างศักย์ต่ำ
กลับไปที่เนื้อหา
กระแสไฟฟ้าในตัวนำโลหะ
จากนิยามของกระแสไฟฟ้า เราสามารถหากระแสไฟฟ้าในโลหะตัวนำได้ โดยพิจารณาจากรูป
เมื่อ … I = กระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำ (A) |
|
กลับไปที่เนื้อหา
กฎของโอห์ม
ความต้านทาน
ความต้านทาน (Resistance ; R) มีหน่วยเป็น โวลต์ต่อแอมแปร์ หรือ โอห์มซึ่งความต้านทาน 1 โอห์ม คือ ความต้านทานของตัวนำ ซึ่งเมื่อต่อปลายทั้งสองของ ตัวนำนั้นเข้ากับความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้น1แอมแปร์ เมื่ออุณหภูมิคงตัวกฎของโอห์มใช้ได้กับตัวนำที่เป็นโลหะเท่านั้น
ความต้านทานไฟฟ้า (electrical resistance)
ความต้านทานไฟฟ้า เป็นการบอกคุณสมบัติของสารในการต้านกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านได้ มากน้อยเพียงใด โดยสารที่มีความต้านทานมากกระแสผ่านได้น้อย ส่วนสารที่มีความต้านทานน้อยกระแสผ่านได้มาก
ตัวต้านทาน (resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปรับความต้านทานให้กับวงจร เพื่อช่วยปรับให้กระแสไฟฟ้าหรือความต่างศักย์ไฟฟ้าพอเหมาะกับวงจรนั้นๆ ชนิดของตัวต้านทาน แบ่งออกได้ 2 ชนิด
1. ตัวต้านทานค่าคงตัว(fixed resistor) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าตัวต้านทานคงตัว พบในวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
2.ตัวต้านทานแปรค่า (variable resistor) เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้
กลับไปที่เนื้อหา
การอ่านค่าแถบสีของตัวต้านทาน
แถบสีที่คาดไว้บนตัวต้านทานมีความหมายดังนี้
แถบสีที่ 1 บอกเลขตัวแรก
แถบสีที่ 2 บอกเลขตัวที่สอง
แถบสีที่ 3 บอกเลขยกกำลังของสิบ
แถบสีที่ 4 บอกความคาดเคลื่อนของค่าความต้านทานที่อ่านได้จากสามแถบแรก
โดยบอกเป็นร้อยละ
แถบสี |
แทนเลข |
แทนเลข |
คูณด้วย |
ความคลาดเคลื่อน |
ดำ |
0 |
0 |
1 |
น้ำตาล = ±1 % |
น้ำตาล |
1 |
1 |
101 |
แดง = ± 2 % |
แดง |
2 |
2 |
102 |
ทอง = ± 5 % |
ส้ม |
3 |
3 |
103 |
เงิน = ±10 % |
เหลือง |
4 |
4 |
104 |
ไม่มีแถบสี = ±20 % |
เขียว |
5 |
5 |
105 |
|
น้ำเงิน |
6 |
6 |
106 |
|
ม่วง |
7 |
7 |
- |
|
เทา |
8 |
8 |
- |
|
ขาว |
9 |
9 |
- |
|
ทอง |
- |
- |
10-1 |
|
เงิน |
- |
- |
10-2 |
ตัวอย่าง
จากรูปตัวต้านทานที่กำหนดให้ จงหาว่าความต้านทานมีค่ากี่โอห์ม
แถบสีที่คาดไว้บนตัวต้านทานมีความหมายดังนี้
แถบสีที่ 1 สีเขียว = 5
แถบสีที่ 2 สีดำ = 0
แถบสีที่ 3 สีดำ = 0
แถบสีที่ 4 สีทอง = ± 5 %
จะได้ ...
ความต้านทาน = 50 x 100+ 5%
ความต้านทาน = 50+ 5%
ความต้านทาน = 50+ 2.5 W
ความต้านทาน = 50 - 2.5 W ถึง 50 + 2.5 W
ความต้านทาน = 47.5 W ถึง 52.5 W
ดังนั้น ความต้านทานมีค่าอยู่ในช่วง 47.5 โอห์ม ถึง 52.5 โอห์ม
กลับไปที่เนื้อหา
ไดโอด เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป ที่จำกัดทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้ามันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นอุปกรณ์กรองแรงดันไฟฟ้าในวงจรภาคจ่ายไฟ เป็นต้น
ไดโอดตัวแรก เป็นอุปกรณ์หลอดสุญญากาศ (vacuum tube หรือ valves)แต่ทุกวันนี้ไดโอดที่ใช้ทั่วไปส่วนใหญ่ผลิตจากสารกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำเป็นสารที่มีคุณสมบัติระหว่างตัวนำและฉนวน เช่น ซิลิกอนหรือเจอร์เมเนียม โดยที่อุณหภูมิต่ำ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนค่อนข้างมากจึงไม่มีอิเล็กตรอนอิสระ
ไดโอด เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียวไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode ; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโทด (Cathode; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n
ชนิดของสารกึ่งตัวนำ เนื่องจากสารกึ่งตัวนำที่บริสุทธิ์ จะมีอิเล็กตรอนอิสระน้อยกระแสไฟฟ้าที่ผ่านจึงมีน้อยถ้าต้องการให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมากต้องทำการเจือปนอะตอมของธาตุอื่นลงไปในสารเหล่านั้น เรียกว่า“สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์”นอกจากนี้ยังมีสารกึ่งตัวนำแบบสารประกอบ
สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์แบ่งออกเป็น2ประเภท
1. สารกึ่งตัวนำประเภท N - type เป็นสารกึ่งตัวนำ ที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของสารหนู ทำให้มีอิเล็กตรอนอิสระขึ้นมาหนึ่งตัว ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ในผลึก จึงยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลได้เช่นเดียวกับตัวนำทั่วๆไป
2. สารกึ่งตัวนำประเภท P - type เป็นสารกึ่งตัวนำ ที่เกิดจากการจับตัวของอะตอมซิลิกอนกับอะตอมของ
อะลูมิเนียม ทำให้เกิดที่ว่างเรียกว่า Hole ขึ้น อิเล็กตรอนที่อยู่ข้าง Hole จะเคลื่อนที่ไปอยู่ใน Hole ทำให้ดูคล้ายว่า Hole เคลื่อนที่ได้ในทิศทางตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้
กลับไปที่เนื้อหา
-
7216 ไฟฟ้ากระแสตรง /lesson-physics/item/7216-2017-06-11-04-25-23เพิ่มในรายการโปรด