ฟิสิกส์นิวเคลียร์
กัมมันตภาพรังสี
การค้นพบ
ในปี พ.ศ. 2439 อองตวน อองรี แบ็กเคอแรล นักเคมีชาวฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่ค้นพบว่าธาตุบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุที่มีมวลอะตอมมาก สามารถปล่อยรังสีบางชนิดออกมา การค้นพบของแบ็กเคอแรลเป็นการค้นพบโดยบังเอิญ คือ เมื่อเขานำฟิล์มถ่ายรูปไว้ใกล้ๆ เกลือโพแทสเซียมยูเรนิลซัลเฟต และมีกระดาษดำหุ้มปรากฎว่าเกิดรอยดำบนแผ่นฟิล์มเหมือนถูกแสง เขาให้เหตุผลกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่า จะต้องมีรังสีที่มีพลังงานสูงบางอย่างปล่อยออกมาจากเกลือยูเรเนียมนี้ เมื่อไปกระทบกับฟิล์มทำให้ฟิล์มกลายเป็นสีดำเหมือนถูกแสง เขาให้เหตุผลกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่า จะต้องมีรังสีที่มีพลังงานสูงบางอย่างปล่อยออกมาจากเกลือยูเรเนียมนี้ เมื่อไปกระทบกับฟิล์มทำให้ฟิล์มกลายเป็นสีดำ และต่อมาเขายังพบว่าอัตราการปล่อยรังสีของเกลือนี้แปรผันตรงกับปริมาณของเกลือ หลังจากนั้นไม่นาน ปีแอร์ กูรี และมารี กูรี ได้ค้นพบว่า พอโลเนียม เรเดียมและทอเรียมก็สามารถแผ่รังสีได้ ปรากฎการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องเรียกว่า กัมมันตภาพรังสี ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของไอโซโทปที่ไม่เสถียร และเรียกธาตุที่สามารถแผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
กัมมันตภาพรังสี หมายถึง ปรากฎการณ์ที่ธาตุสามารถแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง
ธาตุกัมมันตรังสี หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสีได้เอง
ในเวลาต่อมาพบว่า รังสีที่พบโดยแบ็กเคอเรลเป็นคนละชนิดกับรังสีเอกซ์ รังสีดังกล่าวเป็นรังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของธาตุ เมื่อนิวเคลียสของธาตุนั้นอยู่ในสภาวะไม่เสถียร สภาวะไม่เสถียรเกิดจากส่วนประกอบภายในของนิวเคลียสไม่เหมาะสม หมายความว่า ในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
ชนิดและสมบัติของรังสี
รังสีแอลฟา
รังสีแอลฟา (Alpha Ray) เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสที่มีขนาดใหญ่และมีมวลมากเพื่อเปลี่ยนแปลงให้เป็นนิวเคลียสที่มีเสถียรภาพสูงขึ้น ซึ่งรังสีนี้ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสด้วยพลังงานต่าง ๆ กัน รังสีแอลฟาก็คือนิวเคลียสของฮีเลียม แทนด้วย
มีประจุบวกมีขนาดเป็น 2 เท่าของประจุอิเล็กตรอน คือเท่ากับ +2e และมีนิวตรอน อีก 2 นิวตรอน (2n) มีมวลเท่ากับนิวเคลียสของฮีเลียมหรือประมาณ 7,000 เท่าของอิเล็กตรอน เนื่องจากมีมวลมากจึงไม่ค่อยเกิดการเบี่ยงเบนง่ายนัก เมื่อวิ่งไปชนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น ผิวหนัง แผ่นกระดาษ จะไม่สามารถผ่านทะลุไปได้ แต่จะถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็วแล้วจะถ่ายทอดพลังงานเกือบทั้งหมดออกไป ทำให้อิเล็กตรอนของอะตอมที่ถูกรังสีแอลฟาชนหลุดออกไป ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า การแตกตัวเป็นไอออน
รังสีเบต้า
รังสีเบตา (Beta Ray) เกิดจากการสลายตัวของนิวไคลด์ที่มีจำนวนโปรตอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป โดยรังสีเบตาแบ่งได้ 2 แบบคือ
- เบตาลบหรือหรืออิเล็กตรอน
เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสที่มีนิวตรอนมากกว่าโปรตอน ดังนั้นจึงต้องลดจำนวนนิวตรอน ลงเพื่อให้นิวเคลียสเสถียรภาพ
แสดงการสลายตัวของสารแล้วให้รังสีเบตาลบ
- เบตาบวกหรือหรือโพสิตรอน
เกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสที่มีโปรตอนมากเกินกว่านิวตรอน ดังนั้นจึงต้องลดจำนวนโปรตอนลงเพื่อให้นิวเคลียสเสถียรภาพ สมการการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีที่ให้รังสีเบตาลบ เป็นดังนี้
แสดงการสลายตัวของสารแล้วให้รังสีเบตาบวก
เนื่องจากอิเล็กตรอนนั้นเบามาก จึงทำให้รังสีเบตาเกิดการเบี่ยงเบนได้ง่าย สามารถเบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กได้ มีความเร็วสูงมากคือมากกว่าครึ่งของ ความเร็วแสงหรือประมาณ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการทะลุทะลวงมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา
3.รังสีแกมมา
เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นกลับสู่สถานะพื้นฐานโดยการปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมา รังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าและมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีประจุไฟฟ้าและมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กและ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสง
แสดงการสลายตัวของสารแล้วให้รังสีแกมมา
อำนาจทะลุผ่าน
จากที่ได้พิจารณามาแล้วในเรื่องความสามารถในการทำให้เกิดการแตกตัว เราทราบว่ารังสีแอลฟาทำให้ตัวกลางที่มันเคลื่อนที่ผ่านแตกตัวเป็นไอออนได้มากที่สุด รองลงมาคือรังสีบีตาและแกมมาตามลำดับ เมื่อทดลองให้รังสีทั้งสามชนิดเคลื่อนที่ผ่านไปในตัวกลางต่างๆ เช่น กระดาษ อะลูมิเนียม ตะกั่ว เป็นต้น จะเห็นว่ารังสีแอลฟาไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นกระดาษ ส่วนรังสีบีตาสามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นกระดาษได้ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นอะลูมิเนียม สำหรับรังสีแกมมาสามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษและแผ่นอะลูมิเนียมได้ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านแผ่นตะกั่ว แสดงว่ารังสีแกมมามีอำนาจทะลุผ่านสูงที่สุด รองลงมาคือรังสีบีตาและแอลฟาตามลำดับ
การใช้ประโยชน์จากรังสี
ปัจจุบันได้มีการนำรังสีและสารกัมมันตรังสีมาใช้งานต่างๆ กันเช่น ในทางการแพทย์มีการใช้ในการตรวจวินิจฉัย และบำบัดอาการโรคของผู้เจ็บป่วยจากโรคร้ายต่างๆ เช่น การฉายรังสีเอกซ์ การตรวจสมอง การตรวจกระดูก และการบำบัดโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีการใช้งานทางรังสีในกิจการอุตสาหกรรม การเกษตร และการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น การใช้รังสีตรวจสอบรอยเชื่อม รอยร้าวในชิ้นส่วนโลหะต่างๆ การใช้ป้ายเรืองแสงในที่มืด การตรวจอายุวัตถุโบราณ การถนอมอาหารด้วยรังสี และการฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือแพทย์
วิธีตรวจสอบการแผ่รังสีของสาร
ถ้าต้องการตรวจสอบว่าสารใดมีการแผ่รังสีหรือตรวจสอบว่าธาตุใดเป็นธาตุกัมมันตรังสี สามารถตรวจสอบได้หลายวิธีดังนี้
1. ใช้ฟิล์มถ่ายรูปหุ้มสารที่ต้องการตรวจสอบในที่มืด แล้วนำฟิล์มไปล้าง ถ้าเกิดสีดำบนแผ่นฟิล์มแสดงว่าสารนั้นมีการแผ่รังสี
2. ใช้สารที่เรืองแสงได้เมื่อรังสีตกกระทบ เช่น ZnS มาวางไว้ใกล้ๆ สารที่ต้องการตรวจสอบ ถ้ามีแสงเรืองเกิดขึ้น แสดงว่าสารนั้นมีการแผ่รังสี
3. ใช้เครื่องมือไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์ตรวจสอบ วิธีนี้ดีกว่า 2 วิธีแรก เพราะ 2 วิธีแรกไม่สามารถบอกปริมาณรังสีได้แต่วิธีนี้บอกได้ เครื่องไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์ประกอบด้วยหลอดทรงกระบอกที่ทำด้วยวัสดุตัวนำไฟฟ้า ภายในหลอดบรรจุก๊าซอาร์กอนที่มีความดันต่ำ ตรงกลางหลอดมีแท่งโลหะทำหน้าที่เป็นขั้วบวก ส่วนผนังหลอดเป็นขั้วลบ ขั้วทั้งสองจะต่อไปยังเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อทำการวัดรังสี
4. ใช้เครื่องวัดรังสีห้องหมอก (Cloud Chamber) เครื่องมือนี้ใช้ตรวจสอบรังสีโดยอาศัยหลักที่ว่า เมื่อรังสีผ่านไปในอากาศที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำ รังสีจะไปทำให้ก๊าซเกิดการแตกตัวเป็นไอออนขึ้นตอลดทางที่รังสีผ่าน และไอน้ำที่อิ่มตัวจะเกิดการควบแน่นรอบๆ ไอออนเหล่านั้น ทำให้เกิดเป็นทางขาวๆ (เส้นหมอก) ตามแนวทางที่รังสีผ่านไป
ประโยชน์ของธาตุกัมมันตรังสี
1. ด้านธรณีวิทยา มีการใช้ C-14 คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ หรืออายุของซากดึกดำบรรพ์ซึ่งหาได้ดังนี้ ในบรรยากาศมี C-14 ซึ่งเกิดจากไนโตรเจน รวมตัวกับนิวตรอนจากรังสีคอสมิกจนเกิดปฏิกิริยา แล้ว C-14 ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจน แล้วผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช และสัตว์กินพืช คนกินสัตว์และพืช ในขณะที่พืชหรือสัตว์ยังมีชีวิตอยู่ C-14 จะถูกรับเข้าไปและขับออกตลอดเวลา เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง การรับ C-14 ก็จะสิ้นสุดลงและมีการสลายตัวทำให้ปริมาณลดลงเรื่อยๆ ตามครึ่งชีวิตของ C-14 ซึ่งเท่ากับ 5730 ปี ดังนั้น ถ้าทราบอัตราการสลายตัวของ C-14 ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และทราบอัตราการสลายตัวในขณะที่ต้องการคำนวณอายุวัตถุนั้น ก็สามารถทำนายอายุได้ เช่น ซากสัตว์โบราณชนิดหนึ่งมีอัตราการสลายตัวของ C-14 ลดลงไปครึ่งหนึ่งจากของเดิมขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ เนื่องจาก C-14 มีครึ่งขีวิต 5730 ปี จึงอาจสรุปได้ว่าซากสัตว์โบราณชนิดนั้นมีอายุประมาณ 5730 ปี
2. ด้านการแพทย์ ใช้รักษาโรคมะเร็ง ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด กระทำได้โดยการฉายรังสีแกมมาที่ได้จาก โคบอลต์-60 เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วยังใช้โซเดียม-24 ที่อยู่ในรูปของ NaCl ฉีดเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อตรวจการไหลเวียนของโลหิต โดย โซเดียม-24 จะสลายให้รังสีบีตาซึ่งสามารถตรวจวัดได้ และสามารถบอกได้ว่ามีการตีบตันของเส้นเลือดหรือไม่
3. ด้านเกษตรกรรม มีการใช้ธาตุกัมมันตรังสีติดตามระยะเวลาการหมุนเวียนแร่ธาตุในพืช โดยเริ่มต้นจากการดูดซึมที่รากจนกระทั่งถึงการคายออกที่ใบ หรือใช้ศึกษาความต้องการแร่ธาตุของพืช
4. ด้านอุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นโลหะ จะใช้ประโยชน์จากกัมมันตภาพรังสีในการควบคุมการรีดแผ่นโลหะ เพื่อให้ได้ความหนาสม่ำเสมอตลอดแผ่น โดยใช้รังสีบีตายิงผ่านแนวตั้งฉากกับแผ่นโลหะที่รีดแล้ว แล้ววัดปริมาณรังสีที่ทะลุผ่านแผ่นโลหะออกมาด้วยเครื่องวัดรังสี ถ้าความหนาของแผ่นโลหะที่รีดแล้วผิดไปจากความหนาที่ตั้งไว้ เครื่องวัดรังสีจะส่งสัญญาณไปควบคุมความหนา โดยสั่งให้มอเตอร์กดหรือผ่อนลูกกลิ้ง เพื่อให้ได้ความหนาตามต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตถังแก๊ส อุสสาหกรรมก่อสร้าง การเชื่อมต่อท่อส่งน้ำมันหรือแก๊สจำเป็นต้องตรวจสอบความเรียบร้อยในการเชื่อต่อโลหะ เพื่อต้องการดูว่าการเชื่อมต่อนั้นเหนียวแน่นดีหรือไม่ วิธีการตรวจสอบทำได้โดยใช้รังสีแกมมายิงผ่านบริเวณการเชื่อมต่อ ซึ่งอีกด้านหนึ่งจะมีฟิล์มมารับรังสีแกมมาที่ทะลุผ่านออกมา ภาพการเชื่อมต่อที่ปรากฎบนฟิล์ม จะสามารถบอกได้ว่าการเชื่อมต่อนั้นเรียบร้อยหรือไม่
โทษของธาตุกัมมันตรังสี
เนื่องจากรังสีสามารถทำให้ตัวกลางที่มันเคลื่อนที่ผ่านเกิดการแตกตัวเป็นไอออนได้ รังสีจึงมีอันตรายต่อมนุษย์ ผลของรังสีต่อมนุษย์สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ ผลทางพันธุกรรมและความป่วยไข้จากรังสี ผลทางพันธุกรรมจากรังสีจะมีผลทำให้การสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกายมนุษย์เกิดการกลายพันธุ์ โดยเฉพาะเซลล์สืบพันธุ์ ส่วนผลที่ทำให้เกิดความป่วยไข้จากรังสี เนื่องจากเมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับรังสี โมเลกุลของธาตุต่างๆ ที่ประกอบเป็นเซลล์จะแตกตัว ทำให้เกิดอากาป่วยไข้ได้
กลับไปที่เนื้อหา
รังสีคอสมิก (cosmic ray)
รังสีคอสมิก (cosmic ray) คืออนุภาคพลังงานสูงที่วิ่งไปมาอยู่ทั่วอวกาศ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรตอน บางครั้งก็พุ่งเข้ามาที่โลก แต่ส่วนใหญ่รังสีคอสมิกไม่สามารถทำลายสิ่งมีชีวิตถึงพื้นโลก เพราะเราได้รับความคุ้มครองจากชั้นบรรยากาศและสนามแม่เหล็กของโลก นักวิทยาศาสตร์สงสัยมาเนิ่นนานนับศตวรรษแล้วว่ารังสีคอสมิกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร (รังสีคอสมิกถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1912) อนุภาคพลังงานสูงปริมาณมหาศาลคงจะไม่ได้โผล่ออกมาเอง มันจะต้องมีที่มาที่ไปสักอย่าง แต่การหาแหล่งที่มาของโปรตอนนั้นดูจากทิศทางของรังสีคอสมิกไม่ได้ เพราะโปรตอนเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เวลามันวิ่งผ่านสนามแม่เหล็กในอวกาศ มันก็เปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา ไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรงเหมือนแสงหรือนิวตริโนหรืออนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อเราส่องกล้องโทรทรรศน์ เราก็จะเห็นรังสีคอสมิกวิ่งมาจากทุกทิศทุกทาง สะเปะสะปะมั่วไปหมด
รังสีคอสมิกเป็นอนุภาคพลังงานสูง (High-energy) ที่เข้าถล่มโจมตีโลกซึ่งมาจากที่ใดก็ได้เข้าสู่บรรยากาศ เป็นที่รู้จักกันเรียกว่า รังสีคอสมิกหรือรังสีจักรวาล (Cosmic Ray) มีองค์ประกอบ จำนวนมากของนิวเคลียสของอะตอม (Atomic nuclei) ส่วนใหญ่จะเป็นนิวเคลียสของไฮโดรเจน บางส่วนนิวเคลียสของฮีเลียม และส่วนที่เหลือเป็น ธาตุหนัก (Heavier elements) โดยมีที่มาดังนี้
• Galactic Cosmic Rays (รังสีคอสมิก กาแล็คซี่) มีที่มากาแล็คซี่หนึ่งกาแล็คซี่ใด อันไกลโพ้น
• Anomalous Cosmic Rays (รังสีคอสมิก แปลกประหลาด) มีที่มาจากอวกาศ ช่องว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar medium)
• Solar Energetic Particles (อนุภาครังสีคอสมิก) มีที่มาจากเกิดลุกจ้า (Solar flares) และกิจกรรมอื่นบนดวงอาทิตย์ (Sun)
นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีตรวจจับรังสีคอสมิก (Cosmic Ray) บนชั้นพื้นดิน (Ground level) จึงออกแบบสร้างบ่อน้ำแบบพิเศษนับพันแห่ง ในแถบอเมริกาเหนือ เพราะเมื่อ รังสีคอสมิกวิ่งผ่านน้ำจะหยุดชะงักทำให้สามารถวัดค่าได้ ทั้งนี้เพื่อหา วิธีนำมาเป็นประโยชน์ด้านพลังงานต่อไป
รังสีคอสมิกที่เข้ามากระทบกับบรรยากาศโลก คือ รังสีคอสมิกปฐมภูมิ (primary cosmic rays) ประกอบด้วย
1. ประจุโปรตอน (protons) ประมาณร้อยละ 90
2. นิวเคลียสของฮีเลียม (helium nuclei) หรืออนุภาคแอลฟา (alpha particles) ประมาณร้อยละ 9
3. อิเล็กตรอน ประมาณร้อยละ 1
4. อนุภาคอื่นๆ
พลังงานของรังสีคอสมิกจะมีค่าแตกต่างกันในแต่ละแหล่งกำเนิด เช่น โปรตอนจากดวงอาทิตย์จะมีพลังงานอยู่ในช่วง 0.5-200 MeV ส่วนพลังงานรังสีคอสมิกที่มาจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดในเอกภพอาจมีพลังงานมากกว่า 1020MeV
รังสีคอสมิก นอกจากจะมีพลังงานสูงตามแหล่งกำเนิดแล้ว พลังงาน และทิศทางของการเคลื่อนที่ยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเข้าปะทะกับสนามแม่เหล็ก (megnetic fields) ของสสารระหว่างดาวขณะเคลื่อนที่ผ่าน และรังสีคอสมิกบางส่วนอาจมีพลังงานมากกว่า 1020 MeV ซึ่งมีค่าสูงกว่าพลังงานอนุภาคที่เกิดจากเครื่องเร่งอนุภาค (accelerators) ที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้
ภาพ Primary cosmic rays
ที่มา http://www.siamchemi.com/รังสีคอสมิก/
รังสีคอสมิกทุติยภูมิ (secondary cosmic rays)
รังสีคอสมิกทุติยภูมิ เป็นรังสีคอสมิกที่เกิดจาการแตกตัวของรังสีคอสมิกปฐมภูมิ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประจุบวก และนิวเคลียสของสสารหนักกลายเป็นอนุภาคต่างๆขณะทะลุทะลวงผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก และอนุภาคที่เกิดจากการแตกตัวบางชนิดจะมีพลังงานสูง ซึ่งสามารถเข้าชนกับนิวเคลียสหรืออนุภาคอื่นจนเกิดเป็นอนุภาคต่างๆเกิดขึ้นอีกตามมา โดยแบ่งอนุภาคที่เกิดจากการแตกตัวของรังสีคอสมิกปฐมภูมิได้ 3 ชนิด ได้แก่
1. นิวคลีออน (nucleons)
นิวคลีออน เป็นอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน ซึ่งบางอนุภาคมีพลังงานสูงมาก สามารถทำให้นิวเคลียสของธาตุในบรรยากาศแตกสลายกลายเป็นอนุภาคอื่นได้ และบางอนุภาคยังสามารถทำให้ธาตุเปลี่ยนสภาพเป็นธาตุกัมมันตรังสีได้ เช่น นิวตรอนของนิวคลีออนที่ชนกับธาตุไนโตรเจน-14 เกิดเป็นคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง
- มีซอน(mesons)
อนุภาคมีซอน เป็นอนุภาคไพออน (pions) ที่เกิดขึ้นหลังการแตกสลายของนิวเคลียส โดยอนุภาคมีซอน เป็นอนุภาคที่ไม่เสถียร โดย n และ n1 มีอายุเฉลี่ยประมาณ 2.6×108 วินาที แล้วจะสลายเป็นมิวออน (muons) ที่มีอายุเฉลี่ยลดลงเป็น 2.2×106 วินาที พร้อมกับนิวตริโน (neutrinos) ออกมาด้วย
- อนุภาคที่มีพลังงานต่ำ
อนุภาคในกลุ่มนี้จะเป็นอิเล็กตรอน (electrons) ที่เกิดจากการสลายตัวของมิวออน และโฟตอน (photon) โดยโฟตอน มาจากการสลายตัวของ n๐ ที่ได้คู่อิเล็กตรอนออกมาพร้อมกันด้วย นอกจากนี้ โฟตอนอาจเกิดได้จากอิเล็กตรอนที่ถูกหน่วงขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้นิวเคลียสของธาตุต่างๆในบรรยากาศ
ผลกระทบรังสีคอสมิกกับโลก
1. การเกิดวงแถบรังสีแวนอัลเลน (Van Allen belts) และแสงเหนือ แสงใต้
แถบรังสีแวนอัลเลน เป็นปรากฏการณ์ที่เกดเป็นวงรังสี เมื่อรังสีคอสมิกมีถูกกักเก็บ และสะสมบริเวณขั้วสนามแม่เหล็กโลก ซึ่งเกิดขึ้นที่ความสูงประมาณ 1,000 กิโลเมตร และจะเกิดเฉพาะบริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ มีลักษณะเป็นวงกลมของแถบรังสีคล้ายโดนัทลอยเหนือขั้วโลก
ผลที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากแถบรังสีแวนอัลเลน คือ มีการปล่อยอนุภาคบางส่วนเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูงประมาณ 100 กิโลเมตร ทำให้เกิดแสงสีต่างๆบริเวณขั้วโลก หรือเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ (Aurora)
2. การเกิดฟ้าแลบ(Lightning)
นักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอที่มาจองปรากฏการณ์ฟ้าแลบว่า จากการที่รังสีคอสมิกปฐมภูมิแตกตัวเป็นอนุภาคต่างๆในชั้นบรรยากาศ เมื่อมีการแตกตัว และสะสมจำนวนมากอาจเกิดการจุดประกายเกิดเป็นฟ้าแลบเกิดขึ้นได้
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate Chang)
นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวเสนอว่า รังสีคอสมิกมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ เพราะมีการทดลองนำรังสีคอสมิกผ่านเข้าไปใน cloud chamber แล้วทำให้รังสีคอสมิกแตกตัว ซึ่งพบว่า เกิดหยดน้ำขึ้นตามแนวของไอออน ซึ่งทำนายได้ว่า การแตกตัวของรังสีคอสมิกมีผลต่อรูปแบบของเมฆ และสภาพภูมิอากาศได้ แต่ข้อเสนอนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะมีปัจจัยหลายประการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังไม่มีผลการทดลองที่ยืนยันแน่ชัด
แม้ว่ารังสีคอสมิกจะสามารถพบได้มากในอวกาศ และบางส่วนชนเข้ากับอนุภาคของธาตุต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศทำให้เหลือหลุดรอดมายังผิวโลกหรือโดนตัวเราได้น้อย และมันยังเป็นแหล่งข้อมูลขั้นดีในการศึกษาถึงที่มาและความเป็นไปของจักรวาล และในขณะที่เราเฝ้ารอถึงการค้นพบใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ อุปกรณ์พิเศษที่ใช้ตรวจจับอนุภาครังสีคอสมิกอย่าง Alpha-Magnetic Spectrometer (A.M.S) ซึ่งถูกติดตั้งที่สถานีอวกาศนานาชาติ ก็เฝ้ารอและตรวจจับอนุภาคที่ผ่านเข้ามากว่า 50 ล้านอนุภาคในแต่ละวัน เมื่อเวลาผ่านไปเราก็คาดหวังว่าจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับสสารและปฏิสสาร หรือแม้แต่สสารมืด และความเข้าใจของเราต่อจักรวาลและอนุภาคต่าง ๆ มากขึ้น
กลับไปที่เนื้อหา
ปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ครั้งแรกเกิดขึ้นจากการที่รัทเธอร์ฟอร์ดได้ทำการระดมยิงอนุภาคแอลฟาจากแหล่งกำเนิดสารกัมมันตรังสีไปยังสสาร แล้วพบว่าอนุภาคแอลฟามีการกระเจิงแบบยืดหยุ่น ซึ่งทำให้เป็นการยืนยันว่ามีนิวเคลียสขนาดเล็กอยู่ตรงใจกลางอะตอม นอกจากนี้รัทเธอร์ฟอร์ดยังสังเกตการเปลี่ยนแปลง หรือการเกิดธาตุชนิดใหม่จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1919
ปฏิกิริยานิวเคลียร์เป็นปฏิกิริยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม แล้วได้นิวเคลียสของธาตุใหม่เกิดขึ้น และให้พลังงานจำนวนมหาศาล ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ส่วนมากเกิดจากการยิงอนุภาคแอลฟา โปรตอนและนิวตรอนเข้าไปในชน Nucleus ทำให้ Nucleus แตกออก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ มีส่วนสำคัญคือ
- ปฏิกิริยา Nuclear เกิดในนิวเคลียส ต่างจากปฏิกิริยาเคมี ซึ่งเกิดกับอิเลกตรอนภายในอะตอม
- ปฏิกิริยา Nuclear ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากเพื่อจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนิวเคลียส
- แรงจากปฏิกิริยา Nuclear เป็นแรงแบบใหม่ เรียก แรงนิวเคลียร์ ซึ่งมีอันตรกริยาสูง และอาณาเขตกระทำสั้นมากและแรงนี้เกิดระหว่างองค์ประกอบของนิวเคลียสเท่านั้น
- ในปฏิกิริยานิวเคลียส เราสามารถนำกฎต่างๆ มาใช้ได้เป็นอย่างดี คือ กฎการคงที่ของพลังงาน กฎทรงมวล และการคงที่ของประจุไฟฟ้า
สมการ Nuclear จะเขียนอยู่ในรูปของ
x + a à y + b
x = นิวเคลียสที่เป็นเป้า , y = นิวเคลียสที่เกิดใหม่
a = อนุภาคที่วิ่งชน , b = อนุภาคที่เกิดใหม่
สามารถเขียนย่อได้ว่า x(a,b)y และเรียกปฏิกิริยาว่า (a,b) ของ Nucleus x
นอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งแยกชนิดของปฏิกิริยานิวเคลียร์ได้หลายแบบ เช่นถ้าอนุภาคที่ตกกระทบและอนุภาคผลพลอยได้เป็นอนุภาคชนิดเดียวกัน ซึ่งสอดคล้องกันคือธาตุ X และY เป็นชนิดเดียวกัน เราเรียกว่าเป็น กระบวนการกระเจิง การกระเจิงแบบยืดหยุ่น จะเกิดขึ้นถ้า Y และ b อยู่ในสถานะพื้น และจะเป็นการกระเจิงแบบไม่ยืดหยุ่นถ้า Y และ b อยู่ในสถานะกระตุ้น ซึ่งจะเกิดกระบวนการสลายตัวให้รังสีแกมมาตามมาอย่างรวดเร็ว
ในบางกรณี a และ b เป็นอนุภาคชนิดเดียวกันแต่จากปฏิกิริยานิวเคลียร์จะมีอนุภาคนิวคลีออนตัวที่สามถูกปลดปล่อยออกมาด้วย เราเรียกปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบน็อกเอาท์ (Knockout reaction )
ในปฏิกิริยาแบบทรานสเฟอร์ ( Tranfer reaction ) นิวคลีออนหนึ่งหรือสองตัวจะมีการส่งผ่านกันระหว่าง อนุภาคที่ระดมยิงและเป้า ตัวอย่างเช่นถ้าใช้อนุภาคดิวเทอรอนระดมจะถูกเปลี่ยนไปเป็นอนุภาคโปรตอน หรือนิวตรอนซึ่งก็หมายความว่ามีนิวคลีออนถูกรวมเข้ากับเป้า X แล้วเปลี่ยนไปเป็นเป้า Y
ปฏิกิริยานิวเคลียร์นั้นอาจจะจำแนกโดยอาศัยกลไกที่เกิดขึ้นกับกระบวนการที่ครอบคลุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ดังกล่าว เช่นปฏิกิริยานิวเคลียร์โดยตรง ( direct nuclear reaction ) นั้นมีนิวคลีออนเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาในขณะที่นิวคลีออนที่เหลือนั้นทำตัวเสมือนผู้เฝ้าดู ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวอาจจะบรรจุหรือเคลื่อนย้ายนิวคลีออนตัวใดตัวหนึ่งออกจากนิวคลีออนที่โคจรอยู่รอบ ๆ ชั้นต่าง ๆ ตามรูปแบบจำลองของเชลล์ทำให้วิธีนี้สามารถใช้ในการศึกษาสภาวะกระตุ้นของนิวเคลียส Y จากปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบนี้
ในอีกรูปแบบของปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่น่าสนใจ คือ กลไกแบบนิวเคลียร์ผสม ( compound nuclear ) ซึ่งอนุภาคที่ถูกยิงไปยังเป้าที่ทำการศึกษานั้น จะมีการแบ่งสันพลังงานจลน์ กับนิวคลีออนที่วางตัวอยู่ภายในเป้าดังกล่าวก่อนที่จะมีการปลดปล่อยอนุภาคนิวคลีออน ออกมาซึ่งสภาพคล้าย ๆ กับการระเหยของโมเลกุลจากของเหลวร้อน
ส่วนรูปแบบที่อยู่กลาง ๆ ระหว่าง ปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบตรง แบบนิวเคลียสผสม ก็คือปฏิกิริยานิวเคลียร์เรโซแนนท์ โดยที่อนุภาคที่ยิงเข้าไปยังเป้าจะฟอร์มให้เกิดสถานะกึ่งห่อหุ้ม ( quasibound state ) ก่อนที่จะปลดปล่อยอนุภาคบางตัวออกไป
- ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา
นิวตรอนที่เกิดขึ้น 2-3 ตัวซึ่งมีพลังงานสูงจะวิ่งไปชนนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งเรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ ซึ่งทำให้ได้พลังงานมหาศาล ปฏิกิริยาลูกโซ่นี้ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรง นักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ซึ่งสามารถควบคุมการเกิดปฏิกิริยาได้โดยการควบคุมปริมาณนิวตรอนที่เกิดขึ้นไม่ให้มากเกินไป และหน่วงการเคลื่อนที่ของนิวตรอนให้ช้าลง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้นำปฏิกิริยาฟิชชันแบบควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่มาใช้ประโยชน์ในทางสันติ เช่น ใช้ในการผลิตไอโซโทปกัมมันตรังสีสำหรับใช้ในการแพทย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม ส่วนพลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยาฟิชชันที่ถูกควบคุมสามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
- ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ออกมา (พลังงานเกิดขึ้นจากมวลส่วนหนึ่งหายไป) พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันมีค่ามากกว่าพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน เมื่อเปรียบเทียบจากมวลส่วนที่เข้าทำปฏิกิริยา ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันในนาม ลูกระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) เชื่อกันว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจน 4 ตัวหลอมรวมกันได้นิวเคลียสของฮีเลียม อนุภาคโพสิตรอน มีมวลส่วนหนึ่งหายไป มวลส่วนที่หายไปเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจำนวนมหาศาล
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องใช้ความร้อนเริ่มต้นสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงผลักระหว่างนิวเคลียสที่จะเข้ารวมตัวกัน เช่น ระเบิดไฮโดรเจนจะต้องใช้ความร้อนจากระเบิดปรมาณูเป็นตัวจุดชนวน
ตัวอย่างของปฏิกิริยาฟิวชั่นที่ทำได้ในห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างของปฏิกิริยาฟิวชั่นที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์
จะเห็นว่าในแต่ละปฏิกิริยาของฟิชชั่นและฟิวชั่นเมื่อเทียบพลังงานแล้ว ในฟิชชั่นหนึ่งปฎิกิริยาจะให้พลังงานมากกว่าฟิวชั่นหนึ่งปฏิกิริยา แต่ในขนาดมวลที่พอกันของสารที่ทำให้เกิดฟิวชั่น (เช่น 1H1) กับ สารที่ทำให้เกิดฟิชชั่น (เช่น U235) จำนวนปฏิกิริยาฟิวชั่นจะมากกว่าฟิชชั่นมากเป็นผลทำให้พลังงานรวมที่ได้จากฟิวชั่นมากกว่าฟิชชั่นนั่นเอง
แหล่งที่มา
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และ กัมมันตภาพรังสี. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560, จาก
https://sites.google.com/site/nuclearphysics13/home/6-kammantphaphrangsi
กัมมันตภาพรังสี. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560, จาก
https://sites.google.com/site/weeratoasfdsdfsafag4474/
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (Nuclear reaction). สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2560, จาก
www.ben.ac.th/obeclms/file/information_ben/science/.../nuclear%20reactions.doc
กลับไปที่เนื้อหา
-
7445 ฟิสิกส์นิวเคลียร์ /lesson-physics/item/7445-2017-08-11-07-20-11เพิ่มในรายการโปรด