ปริศนาส้มลอยน้ำและเครื่องยนต์สเตอร์ลิง
ปริศนาส้มลอยน้ำ
เรื่องส้มๆ เป็นเรื่องที่ดูแล้วเป็นเรื่องง่ายๆ เข้าใจง่าย แต่บางที่เรื่องส้มๆ ก็ไม่ได้ง่ายเหมือนการปอกส้มรับประทาน นักอนุกรมวิธานเข้าใจถึงความสับสนและความยุ่งยากของส้มมานาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิดของส้มจนไม่อยากสนใจว่าส้มชนิดใด พันธุ์อะไร การจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่นักอนุกรมวิธานบางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกันที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม
ภาพแสดง ส้มชนิดต่างๆ
ที่มา http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/picture/0261-4.gif
ส้มในประเทศไทย
ในประเทศไทยส้มมีอยู่หลายสายพันธุ์ แต่ส้มที่นิยมรับประทานมีอยู่ไม่กี่ชนิดได้แก่
- ส้มเกลี้ยง(Sweet Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลขนาดกลางคือลูกไม่ใหญ่เท่าไร แต่มีรสชาติเปรี้ยว น้อยมากที่จะพบว่าส้มเกลี้ยงมีรสชาติหวาน การปลูกส้มเกลี้ยงต้องใช้เวลาปลูกแล้ว 3 ปี จะเริ่มให้ผล ส้มเกลี้ยงนิยมนำไปใช้ไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีน หรือ สารทจีน บางครั้งเราอาจะแยกไม่ออกว่าไหนส้มเกลี้ยง ไหนส้มแมนดาริน เพราะผิวส้มคล้ายกันมาก
ภาพ ส้มเกลี้ยง
ที่มา http://my.haijai.com/article/food/20140606_health-food_27.jpg
- ส้มเขียวหวาน(Tangerine: C. reticulata) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 5-3 เมตร ต้องใช้เวลาปลูกถึง 3 ปี กว่าจะให้ผลผลิต ส้มเขียวหวานมีปลูกหลายที่ในไทย แต่ที่ได้รับความนิยมคือ ส้มบางมด ซึ่งปัจจุบันก็หารับประทานได้ยากเพราะว่าแถบบางมด เดี๋ยวนี้ไม่ปลูกส้มกันแล้ว
ภาพ ส้มเขียวหวาน
ที่มา http://3.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/Sy8iIC_N47I/AAAAAAAABdI/SJfhIpsu2nc/s320/orange.gif
ภาพ ส้มเขียวหวานบางมด
ที่มา http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=925857
- ส้มจุก(Neck Orange: C. nobilis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลหลังปลูกประมาณ 3 ปี ตอนที่ยังไม่สุกลูกส้มจะมีสีเขียว บางคนแยกไม่ออกจะบอกว่าเป็นมะกรูดก็มี ซึ่งมะกรูดก็ถือว่าเป็นส้มอีกชนิดหนึ่ง แต่ส้มจุกเวลาผ่าตรงกลางจะมีสีส้มเหมือนส้ม และเมื่อส้มจะบอกได้เลยว่า นี่แหละส้ม เพราะมีสีส้ม
ภาพ ส้มจุก
ที่มา https://sites.google.com/site/karpluksmsaenhwan/_/rsrc/1438069275558/say-phanthu-sm-thi-niym-pluk-ni-prathesthiy/sm-cuk-neck-orange-c-nobilis/IMG_0542.jpg
- ส้มเช้ง หรือ ส้มตรา (Acidless Orange: C. sinensis) เป็นส้มที่มีกลิ่นเฉพาะเป็นที่ชื่นชอบมากสำหรับบางคน เปลือกของส้มเช้งค่อนข้างหนา ทำให้ซื้อเก็บไว้ได้นาน โดยเฉพาะถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นจะเก็บได้นานนับเดือน เรียกว่าเก็บจนลืมก็แล้วกัน ส้มเช้งที่เก็บไว้นานเปลือกจะเริ่มเหี่ยว แต่ก็จะทำให้ส้มมีความหวานเพิ่มขึ้นอีกหน่อย
ภาพ ส้มเช้ง
ที่มา https://www.matichon.co.th/online/2015/01/14201811871420181283l.jpg
- ส้มโอ(Pummelo: C. grandis หรือ maxima) ชื่อส้มโอที่เป็นภาษาอังกฤษ รากศัพท์มาจากภาษาชาวเนเธอแลนด์แปลว่า ส้มที่มีผลเท่าลูกฟักทอง ดังนั้นส้มโอ จึงเป็นส้มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ภาพ ส้มโอ
ที่มา https://i0.wp.com/halsat.com/wp-content/uploads/2016/12/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD.jpg?w=500
ส้มดี ส้มเน่า
เราพอรู้จักส้มในประเทศไทยมาบ้างแล้วคราวนี้เราจะดูว้า ส้มดีกับส้มเน่าต่างกันอย่างไร วิธีการเลือกส้มมีหลายวิธีตามแต่จะเก็บรวบรวมข้อมูลกันมา เช่น ถ้าจะเลือกส้มสายน้ำผึ้งเน้นเปลือกบางหน่อย บีบแล้วเด้งๆ หน่อย ถ้าบีบแล้วยุบ จะเป็นส้มเก่าใกล้จะเน่า ถ้าเปลือกเขียวๆ จะเปรี้ยว ถ้าเป็นส้มเขียวหวานเลือกเปลือกที่ไม่ค่อยสวยจะมีรสชาติหวานกว่าส้มที่เปลือกสวย ซึ่งที่กล่าวมาแล้วเป็นวิธีการเลือกส้มหวาน ไม่หวาน
ภาพ การคัดเลือกส้มในโรงเรียนน้ำส้ม
ที่มา https://www.nyt.com/images/2009/01/22/business/22pepsi_600.JPG
ในโรงงานผลิตน้ำส้มเรื่องการเลือกส้มไม่ต้องพูดถึงเพราะว่าส้มทุกลูกถูกนำมาคั้นน้ำส้ม ไม่ให้ความสนใจว่าส้มดีหรือส้มเน่า แล้วมาแต่กลิ่นให้มีกลิ่นส้ม ใส่น้ำตาลนิดหน่อยเพื่อให้มีรสชาติหวานสมกับเป็นส้ม เราทานน้ำส้มก็จะพูดว่าชื่นใจจริงๆ แล้วถ้าส้มในปริมาณมากๆ ส้มลูกไหนดี ส้มลูกไหนเน่า จะเลือกอย่างไร
ภาพ การคัดเลือกส้มในโรงงานผลไม้
ที่มา https://i.ytimg.com/vi/MoaIsKHXZtg/hqdefault.jpg
วิธีการเลือกส้มนิยมนำส้มไปแช่น้ำ การแช่น้ำหรือล้างน้ำไม่เพียงแต่เป็นการทำความสะอาดส้มที่ตอนนี้นิยมเคลือบผิวส้มให้มีความมันวาว เพื่อรักษาสภาพความสดของส้ม แต่ยังเป็นการคัดเลือกส้มดีและส้มเน่าไปพร้อมกันด้วย ส้มดีจะลอยน้ำ ส่วนส้มเน่าจะจมน้ำ
ทำไมส้มจึงลอยน้ำ http://www.geocities.ws/doiin/botany1.html
เรามาพิจารณาที่ผลส้มกันก่อน ที่ผลส้มมีเปลือกส้มห่อหุ้มอยู่ โดยเปลือกส้มแบ่งออกเป็น 3 ชั้นได้แก่
ภาพ ผลส้มตามแนวตัดขวาง
ที่มา http://www.dnp.go.th/botany/BFC/image/Fruit/hesperidium.jpg
- เปลือกผลชั้นนอก เรียกว่า ฟลาเวโด (flavedo) เป็นส่วนที่อยู่ชั้นนอกสุดของผล ประกอบด้วยเซลล์อีพิเดอมีส(epidermis) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกสุดของผลเป็นเซลล์ชั้นเดียว เรียงชิดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ มีชั้นคิวติเคิลหุ้มหนามากซึ่งเป็นไขลดอุณหภูมิและการคายน้ำ มีต่อมน้ำมันซึ่งส้มสร้างตั้งแต่ในระยะที่เป็นรังไข่ของดอก ต่อมน้ำมันจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในระยะที่ผลขยายใหญ่ ใต้ชั้นของอีพิเดอมีสจะมีชั้นของเซลล์ซึ่งเมื่อผลสุกจะมีการสร้างสารพวกคาโรตินอย ทำให้ผลส้มเกิดสีสันตามลักษณะประจำพันธุ์
- เปลือกผลชั้นกลาง เรียก อัลบิโด (albedo) เซลล์ชั้นกลางของเปลือกผลเป็นเซลล์พวกสปองจิพาเรงไคมา ซึ่งทำหน้าที่เก็บสะสมอาหาร ลำเลียงน้ำ สังเคราะห์ด้วยแสง คล้ายกับสปองจิมีโซฟิลในใบ เปลือกผลชั้นกลางนี้มีสีขาวๆ อ่อนนุ่มในระยะแรกของการเจริญเติบโตของผล การเพิ่มขนาดของผลในระยะแรกเกิดจากการเพิ่มความหนาของเปลือกผลชั้นกลางนี่เอง ในส้มเขียวหวาน เปลือกที่เป็นชั้นของเปลือกชั้นนอกและชั้นกลางมีลักษณะบางมากและเป็นใยขาวๆ หุ้มอยู่ แต่ในส้มโอจะมีชั้นของเปลือกผลชั้นของเปลือกหนามาก
- เปลือกผลชั้นใน จัดเป็นชั้นในสุดของเปลือกผล คือ ส่วนที่เป็นช่องหรือกลีบผล (segment) และผนังของพูรังไข่ ก่อนที่ช่องผลจะขยายขนาด ส่วนที่เป็นจุดกำเนิดถุงน้ำหวาน (juice sac primordia) จะจัดเรียงกันอย่างหนาแน่นและเป็นระเบียบ เมื่อช่องผลขยายขนาดเต็มที่ถุงน้ำหวานจะกระจัดกระจายออกไม่เป็นระเบียบ ผนังของเปลือกชั้นในจะยืดตัวออกจนตึงและปกคลุมด้วยชั้นคิวติเคิล
เมื่อเราทราบว่าผิวเปลือกส้มนั้นมี 3 ชั้น การห่อหุ้มส้มไว้ให้คงความสดอยู่เสมอจึงอยู่ที่เปลือกส้มนั่นเอง และเปลือกส้มนั่นเองที่ทำให้ส้มนั้นลอยน้ำได้
การที่ส้มลอยน้ำนั่นแสดงว่า ส้มยังมีความสดอยู่ และยังไม่เสียความชื้นไปในอากาศ แต่ถ้าเปลือกส้มมีผิวพรุนหรือเกิดจากการที่มีหนอนเข้าไปชอนไชภายในเปลือก จะทำให้ผิวชั้นกลางที่เรียกว่าอัลบิโดเปลี่ยนแปลงไปและทำให้ส้มนั้นมีการเน่าในเวลาต่อมา
แรงลอยตัวมีผลอะไรต่อส้ม
แรงลอยตัวเป็นแรงที่ช่วยในการพยุงให้วัตถุนั้นลอยน้ำ ถ้าแรงลอยตัวมีค่ามากกว่าน้ำหนักจะทำให้วัตถุนั้นลอยน้ำ ในขณะเดียวกันถ้าน้ำหนักมากกว่าแรงลอยตัววัตถุนั้นก็จะจมน้ำ การเพิ่มแรงลอยตัวสามารถทำได้จากการนำวัสดุมาห่อหุ้ม เช่น เวลาเราไปทะเลจะต้องใช้ห่วงยางหรือชูชีพในการลอยตัวให้อยู่ในน้ำเพื่อเป็นการเพิ่มแรงลอยตัวให้ตัวเรา
ภาพ ส้มลอยน้ำในห้องทดลอง
ในส้มจะมีเปลือกถึง 3 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะมีเนื้อเยื่อที่ช่วยห่อหุ้มส้มไม่ให้เกิดการคายน้ำและทำให้ส้มดูสดอยู่เสมอ โดเฉพาะผิวชั้นนอกมีความมัน ทำให้น้ำไม่เกาะที่ผิวส้ม ในเปลือกส้มชั้นกลางและชั้นในจะมีเยื่อสีขาวๆ ซึ่งทำหน้าที่รักษาความสดของส้มและยังทำให้ส้มน้ำมีความหวานตามมาด้วย
ดังนั้นถ้านำส้มไปใส่ในน้ำ ส้มก็จะลอยน้ำ หากส้มไม่มีเปลือกส้มหรือเปลือกส้มถูกหนอนหรือเชื้อราเข้ากัดกินทำร้าย เปลือกส้มก็จะมีรูพุรน ส้มก็จะจมน้ำ ส้มดีส้มเน่าจึงดูได้จากการที่ส้มลอยหรือไม่ลอยน้ำ แต่ถ้าเราเจอส้มจมน้ำนั่นแสดงว่าส้มนั้นกำลังจะเน่าแล้วล่ะ
กลับไปที่เนื้อหา
เครื่องยนต์สเตอร์ลิง
ในช่วงหน้าหนาวหรือช่วงฤดูใบไม้ผลิในต่างประเทศอากาศจะหนาวเย็นมากเป็นพิเศษในบางประเทศถึงขนาดหิมะตก แต่ในประเทศไทยคำว่าอากาศหนาวคงไม่ถึงกับหนาวมากขนาดต้องใช้เครื่องทำความร้อน แต่เพียงแค่รู้สึกว่าอากาศนั้นเย็นนิดหน่อย สถานรถไฟใต้ดินในกรุงสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน ถือว่าเป็นสถานีรถไฟที่สวยติดอันดับโลก เพราะมีการจัดแต่งและแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยอยู่ภายในสถานี เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะมีผู้คนเดินทางไปชมสถานีรถไฟใต้ดินนี้เป็นอย่างมาก ในสถานีแห่งนี้จะมีการใช้เครื่องยนต์สเตอร์ลิงในการสร้างพลังงานเล็กๆ ให้ความอบอุ่นกับผู้มาใช้บริการในสถานี
ภาพ ภายในสถานรถไฟใต้ดินกรุงสต็อกโฮม ประเทสสวีเดน
ภาพจาก www.facebook.com/yingpookpateaw
เครื่องยนต์สเตอร์ลิงคืออะไร
ในปี พ.ศ. 2359 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 บาทหลวงชาวอังกฤษเชื้อสายสก็อตแลนด์ชื่อโรเบิร์ท สเตอร์ลิง เกิดความสงสัยจากแรงบันดาลใจที่ว่า “จะผลิตเครื่องยนต์ที่ปลอดภัยมากกว่าเครื่องจักรไอน้ำได้อย่างไร”
ภาพ โรเบิร์ต สเตอร์ลิง
ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/88/Robert_Stirling.jpg
เกิดจากเครื่องจักรไอน้ำมักเกิดระเบิดและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากตามมา เขาจึงคิดค้นประดิษฐ์เครื่องยนต์สเตอร์ลิงหรือเครื่องจักรสเตอร์ลิง (Stirling Engine) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายนอกและยังใช้เชื้อเพลิงที่มีความหลากหลายกว่าเครื่องจักรไอน้ำที่ใช้แต่เพียงถ่านหิน (แต่รถจักรไอน้ำของไทยใช้ฟืน) ตอนนั้นเครื่องยนต์ที่เขาประดิษฐ์เป็นที่รู้จักกันในชื่อเครื่องยนต์อากาศร้อน (Hot air engine) โดยจะมีก๊าซบรรจุอยู่ภายในกระบอกสูบ
ภาพ เครื่องยนต์อากาศร้อน
ที่มา https://i.ytimg.com/vi/EIKVyvHJNVU/hqdefault.jpg
ทำงานโดยอาศัยหลักการที่ว่า “เมื่อความร้อนในกระบอกสูบเพิ่มขึ้นจะทำให้อากาศในกระบอกสูบขยายตัว และเมื่อเพิ่มความเย็นให้กับกระบอกสูบด้านตรงข้ามก็จะทำให้อากาศหดตัว ทำให้เกิดแรงดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่สลับไปมาที่อยู่ภายในกระบอกสูบ เกิดเป็นพลังงานกลหรืองานอย่างต่อเนื่อง” โดยความร้อนจะถูกป้อนให้กับเครื่องยนต์ทางด้านใดด้านหนึ่งแล้วผลิตงานออกมาตราบเท่าที่ยังคงมีความร้อนป้อนอยู่
เครื่องยนต์อากาศร้อนขนาดเล็กยังคงผลิตใช้จนกระทั่ง ต้นทศวรรษที่ 1900 (ประมาณสมันรัชกาลที่ 5) ถูกแทนที่ด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในหรือเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันและมีความก้าวหน้าในการผลิตกระแสฟ้าจากเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายใน ทำให้การใช้เครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้รับความนิยมในการใช้งานลดลง แต่ยังคงมีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพทางด้านประสิทธิภาพสูงและเป็นเครื่องยนต์ทำงานเงียบและสะอาด
หลังจากนั้น 55 ปี กุซตัล สมิท (Gustav Schmidt) ได้พัฒนาเป็นทฤษฎีทั่วไปสำหรับการวิเคราะห์เครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้พัฒนาขึ้น โดยสมการหลักที่ใช้คือ สมการอนุรักษ์มวล สมการสภาวะ และสมการการเคลื่อนที่แบบรูปคลื่นซายน์และได้พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. 2501 ในห้องปฏิบัติการค้นคว้าฟิลลิปส์ โดยเมเจอร์ (Meijer) ได้สร้างเครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบเบต้าใช้กลไกแบบรอมห์บิค มีการสร้างพลังงานในตัวเองใช้ไฮโดรเจนเป็นสารทำงานแทนอากาศทำให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น มีการใช้โลหะอัลลอยด์ทนความร้อนสูงกลไกขับแบบใหม่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบอุปกรณ์เปลี่ยนความร้อน และมีการทดลองบรรจุด้วยก๊าซฮีเลียมที่ความดันสูงเป็นสารทำงาน
ภาพ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบเบต้า
ที่มา https://i.ytimg.com/vi/UeqGJwtvq6I/hqdefault.jpg
เครื่องยนต์สเตอร์ลิงรุ่นใหม่สามารถนำหน้าเครื่องยนต์ก๊าซโซลีนหรือน้ำมันและเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ได้ทางด้านประสิทธิภาพและอัตราส่วนกำลังต่อน้ำหนัก ในเรื่องของความเงียบและมลภาวะระดับต่ำยังไม่มีเครื่องยนต์แบบไหนเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว
ในอนาคตเครื่องยนต์สเตอร์ลิงสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องยนต์สะอาด เช่น เรือดำน้ำ หรือ เรือเหาะตลอดจนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
ภาพ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงในเรือดำน้ำ
ที่มา http://zedth.exteen.com/images/AIP/Submarine_AIP_009.jpg
หลักฟิสิกส์ที่ใช้อธิบายการทำงาน
ความแตกต่างของอุณหภูมิจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความดันของก๊าซภายในเครื่องจักร ส่งผลให้เกิดการทำงานในเครื่องยนต์สเตอร์ลิง โดยอุณหภูมิสูงจะอยู่ด้านล่างของเครื่องจักรที่สัมผัสกับความร้อน ส่วนอุณหภูมิต่ำจะอยู่บริเวณด้านบนซึ่งสัมผัสกับอากาศ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงจะมี 2 ลูกสูบหลัก คือ
ภาพ ส่วนประกอบของเครื่องยนต์สเตอร์ลิง
ที่มา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/5/54
- ลูกสูบกำลัง (Power piston) เป็นลูกสูบในกระบอกเล็กๆ ที่มีขนาดพอดีกับตัวกระบอกทำให้อากาศภายในไหลผ่านกระบอกส่วนนี้ไม่ได้
- ลูกสูบบังคับ (Displacer) เป็นลูกสูบในกระบอกใหญ่ ตัวลูกสูบมีขนาดเล็กกว่าตัวกระบอกทำให้อากาศภายในเคลื่อนไหวเข้าออกได้อย่างง่ายดายในระหว่างเกิดการเคลื่อนที่
วงจรสเตอร์ลิง (The Sterling Cycle)
ธรรมชาติของก๊าซ คือ เมื่อก๊าซมีอุณหภูมิสูงขึ้นมันจะเกิดการขยายตัว และเมื่ออุณหภูมิของมันลดลง มันจะเกิดการหดตัวลง ด้านล่างของเครื่องจักรจะมีอุณหภูมิสูง ส่วนด้านบนจะมีอุณหภูมิต่ำ ผลต่างของอุณหภูมินี้เองทำให้เครื่องจักรทำงานได้
1.เมื่ออากาศด้านล่างได้รับความร้อนจนอุณหภูมิสูงขึ้น มันจะขยายตัวดันลูกสูบกำลัง (power piston) ให้สูงขึ้นจนล้อเกิดการหมุน
2.การหมุนของล้อจะผลักให้ลูกสูบบังคับ (displacer) ขยับลงแล้วอากาศร้อนๆ จะไหลขึ้นมาข้างบนเพราะลูกสูบบังคับเคลื่อนที่ไปแทนที่
3.อากาศร้อนๆ ที่ขึ้นไปด้านบนจะเย็นลง ส่งผลให้อากาศมีความดันต่ำลงส่งผลให้ลูกสูบกำลังจะเคลื่อนไหวลงได้อย่างง่ายดาย
4.การหมุนของล้อจะทำให้ลูกสูบบังคับเคลื่อนสูงขึ้นและอากาศจะค่อยๆ ไหลลงมาด้านล่างเครื่องจักรเพื่อรับความร้อนต่อไป
ภาพ วงจรสเตอร์ลิง
ที่มา https://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/05/fun08010559p1555.jpg
เครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบต่างๆ
การพัฒนาเครื่องยนต์สเตอร์ลิงมีการพัฒนาและศึกษาอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาด มีการประดิษฐ์คิดค้นกลไกอย่างหลากหลาย สำหรับเครื่องยนต์สเตอร์ลิง กลไกส่วนใหญ่ที่ออกแบบใช้สำหรับเครื่องยนต์สเตอร์ลิงชนิดที่กระบอกสูบแยกกัน ซึ่งนิยมใช้ทำแบบจำลองขนาดเล็กและของเล่นเครื่องยนต์อากาศร้อน
ภาพ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบริงบอมบ์
ที่มา http://1.bp.blogspot.com/-ztotSr6xHSk/TzvfxT0arAI/AAAAAAAAAIo/88Wzj3ClPzM/s200/20.JPG
ภาพ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงที่ใช้ความร้อนอุณหภูมิต่ำ
ที่มา http://1.bp.blogspot.com/-krgVtIaMUgM/TzvfyE9BqQI/AAAAAAAAAIs/z3K1mkbmJkg/s1600/21.JPG
ภาพ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานความร้อน
ที่มา http://2.bp.blogspot.com/-oWaMCnN8QCc/TzzRnvNGQuI/AAAAAAAAAKw/Y6TK51oLPNM/s1600/28.JPG
ภาพ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงแบบอื่น ๆ
ที่มา http://1.bp.blogspot.com/-987Jab0Ik94/TzzSPCc7hMI/AAAAAAAAAK4/-H2PN11JxK4/s1600/29.JPG
การนำเครื่องยนต์สเตอร์ลิงมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน
เครื่องยนต์สเตอร์ลิงเป็นอุปกรณ์ที่มีความน่าสนใจ ความร้อนถูกป้อนจากภายนอกทำให้เครื่องยนต์สเตอร์ลิงทำงาน เช่น ถ่านหิน ไม้ ฟางข้าว แกลบ ก๊าซโซลีน แอลกอฮอล์ ก๊าซ ธรรมชาติ ก๊าซมีเทน และอื่นๆ เครื่องยนต์สเตอร์ลิงไม่ต้องการการเผาไหม้ ความร้อนเท่านั้นที่สามารถทำให้เครื่องยนต์สเตอร์ลิงสามารถทำงานได้ ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และความร้อนเหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม สามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์สเตอร์ลิงได้ กำลังจากเครื่องยนต์สเตอร์ลิงสามารถใช้ขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือจักรกลอื่นๆ อย่างไรก็ตามเครื่องยนต์สเตอร์ลิงก็ยังมีข้อจำกัดคือต้องการเวลาสำหรับอุ่นเครื่องยนต์ก่อนที่จะสร้างกำลัง และสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้
แหล่งที่มา
ส้ม.สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ส้ม
ส้มแรงพยุงและหลักอาร์คิมีดีส.สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560. จาก https://sites.google.com/site/physicscal602/physics
ครูเชิด.แรงพยุง (Buoyant Force). สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560. จากhttp://www.krucherdpua.com/?p=110
ต้องใจ กรุตประพันธุ์.การเกิดแรงพยุงของของเหลว. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2560. จาก https://sites.google.com/site/sciroom23101/page4-1
กลับไปที่เนื้อหา
-
7884 ปริศนาส้มลอยน้ำและเครื่องยนต์สเตอร์ลิง /lesson-physics/item/7884-2018-02-27-03-40-43เพิ่มในรายการโปรด